Page 121 - kpi15428
P. 121

ชุมชนกับสิทธิ  ในทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม



                  เพราะอาจทำให้ชุมชนมีช่องทางได้เข้าไปมีส่วนร่วมในการบริหารจัดการ

                  ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมร่วมกับรัฐบาลท้องถิ่นได้ และจะทำให้
                  ชุมชนแสดงออกซึ่งสิทธิตามสภาพ (De facto right) ได้ อย่างไรก็ดี
                  สภาพแวดล้อมทางการเมืองช่วงนี้มีลักษณะการช่วงชิงอำนาจและชนชั้นนำ
                  ในสังคมได้เป็นผู้นำทางการเมือง ประกอบกับสภาพแวดล้อมภายนอก

                  ประเทศที่เกรงกลัวต่อประเทศคู่สงครามและภัยคอมมิวนิสต์ หากกระจาย
                  อำนาจมากเกินไปอาจทำให้ไม่เกิดความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน จึงทำให้การ
                  กระจายอำนาจเป็นเพียงลายลักษณ์อักษร ดังนั้น หนทางที่สิทธิชุมชนในการ
                  จัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมจะเกิดขึ้นผ่านช่องทางกระจาย

                  อำนาจในช่วงนี้จึงยังไม่เกิดขึ้น ในทางการเมืองช่วงนี้ยังเริ่มรับความเป็น
                  เสรีนิยมจากอุดมการณ์ประชาธิปไตยซึ่งเน้นความเป็นปัจเจกชนสูง และตาม
                  ทฤษฎีเสรีนิยมมักให้ความสำคัญกับสิทธิของปัจเจกชนทำให้บุคคลมีสิทธิ
                  และสอดคล้องกับที่บวรศักดิ์ อุวรรณโณ (2536, น.84 – 85 อ้างใน คณะ

                  บุคคลโครงการสิทธิชุมชน, 2554, น.5 - 6) ได้กล่าวว่าระบบกฎหมายไทย
                  รับเอาตัวแบบเสรีนิยมตะวันตกมาใช้ที่ถือว่ารัฐมีอำนาจเต็มในการตราและใช้
                  กฎหมาย ทำให้ชุมชนในช่วงนี้ขาดการรับรองทั้งสิทธิตามสภาพและสิทธิตาม
                  กฎหมาย อาจสรุปได้ว่า สภาพแวดล้อมทางการเมืองในช่วง พ.ศ.2475 –

                  2539 เป็นปัจจัยสำคัญที่สุดที่ทำให้สิทธิชุมชนในการจัดการทรัพยากร
                  ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมยังไม่มีความสำคัญเพียงพอที่จะทำให้ผู้มีอำนาจ
                  กำหนดนโยบายเกี่ยวกับสิทธิชุมชนอย่างเป็นรูปธรรมชัดเจนได้ เพราะ
                  ในการกำหนดนโยบายต้องมีกลุ่มผู้เข้าร่วมกำหนดนโยบาย ความรู้เกี่ยวกับ

                  การกำหนดนโยบาย และองค์การกำหนดนโยบาย (สมพร เฟื่องจันทร์,
                  2552, น.86 - 87)











                                                                             11
   116   117   118   119   120   121   122   123   124   125   126