Page 123 - kpi15428
P. 123
ชุมชนกับสิทธิ ในทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
สืบเนื่องจากกฎหมายที่เกี่ยวข้อง 5 ฉบับได้แก่ พระราชบัญญัติป่าไม้
พ.ศ.2484 พระราชบัญญัติอุทยานแห่งชาติ พ.ศ.2504 พระราชบัญญัติ
ป่าสงวนแห่งชาติ พ.ศ.2507 พระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า
พ.ศ.2535 และพระราชบัญญัติสวนป่า พ.ศ.2535
นอกจากนี้ยังมีมติคณะรัฐมนตรีและนโยบายอื่นๆ อีก เช่น ตาม
มติคณะรัฐมนตรีวันที่ 17 ตุลาคม พ.ศ.2543 มีการประกาศป่าชายเลนเป็น
ป่าอนุรักษ์ ทำให้เกิดความไม่ชัดเจนของประชาชนที่อาศัยบริเวณดังกล่าวว่า
จะสามารถยังชีพได้ดังเดิมหรือไม่ เช่น การหาปลาและสัตว์น้ำอื่นๆ และ
ต้องขออนุญาตตั้งบ้านเรือนแม้จะอาศัยในบริเวณดังกล่าวก่อนที่จะมีการ
ประกาศใช้กฎหมาย (คณะบุคคลโครงการสิทธิชุมชน, 2554, น.87) ซึ่ง
กฎหมายเหล่านี้มีลักษณะร่วมหลายประการที่ละเมิดต่อสิทธิชุมชน ได้แก่
อ้างสิทธิของรัฐก่อนชุมชนเสมอ รวมศูนย์อำนาจในการจัดการป่าและที่ดิน
เอื้อประโยชน์แก่เอกชน ใช้ฐานความรู้แบบเดียวในการจัดการป่า ไม่ยอมรับ
สิทธิชุมชนที่มีอยู่เดิม การมีส่วนร่วมของชุมชนเป็นแบบชั่วคราว และ
กฎระเบียบบางประการถูกยกเลิกได้หากรัฐต้องการใช้พื้นที่ป่า (ประภาส
ปิ่นตบแต่ง และคณะ, 2549, น.56-57
การกระทำของรัฐที่ละเมิดต่อสิทธิชุมชน บางครั้งยังก่อความ
ขัดแย้งในการทำหน้าที่ของหน่วยงานรัฐที่เป็นหน่วยพัฒนากับหน่วยอนุรักษ์
เช่น ป่าบางแห่งมีการกำหนดเขตอนุรักษ์ไว้ แต่ยังมีการประกาศให้เป็นพื้นที่
สร้างเขื่อนหรือวางแนวท่อก๊าซตัดผ่าน ซึ่งเกิดจากการไม่สำรวจสภาพพื้นที่
ก่อนการตัดสินใจทางนโยบาย (โอภาส ปัญญา และคณะ, 2543, น.312)
2. การพัฒนาที่กระทบต่อสิทธิชุมชน
จากการศึกษารัฐธรรมนูญ กฎหมาย และนโยบายในช่วง พ.ศ.
2540 - 2549 เห็นได้ว่ามีการเปลี่ยนแปลงที่ชัดเจนเกี่ยวกับการรับรองสิทธิ
ชุมชนในการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมในรัฐธรรมนูญ
11