Page 124 - kpi15428
P. 124
ชุมชนกับสิทธิ ในทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
แห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540 ประกอบกับสถานการณ์ด้าน
สิทธิชุมชนในช่วง พ.ศ.2540 – 2549 ได้รับผลพวงหนึ่งจากนโยบายและ
กฎหมายหลายฉบับที่ดำเนินการมาก่อนหน้านี้แล้ว ซึ่งการดำเนินการของรัฐ
นั้นแม้จะมีข้อกำหนดด้านสิทธิชุมชนในการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและ
สิ่งแวดล้อมในกฎหมายสูงสุดของประเทศ ขณะเดียวกันรัฐก็มีแนวทาง
การพัฒนาเพื่อรองรับต่อความต้องการบริโภคทั้งภายในและนอกประเทศ
ซึ่งการพัฒนาดังกล่าวมีผลกระทบต่อสิทธิชุมชนในทางอ้อม ตัวอย่างกรณี
การพัฒนาที่ส่งผลให้เกิดปัญหาสิทธิชุมชนในปี พ.ศ.2547 – 2548
ได้แก่ ปัญหาเรื่องพลังงานและอุตสาหกรรม ทรัพยากรธรรมชาติและทรัพย์
สินทางปัญญา ทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง การจัดการที่ดินและป่า
ทรัพยากรน้ำและแร่ โดยส่วนใหญ่เป็นปัญหาเกี่ยวกับสิทธิในการจัดการที่ดิน
และป่า เป็นจำนวน 147 กรณี คิดเป็นร้อยละ 64.2 โดยเป็นปัญหาระดับ
ชุมชนซึ่งส่งผลกระทบต่อไปในวงกว้าง โดยคู่กรณีที่ทำให้เกิดการร้องเรียน
กับชุมชนมากที่สุดคือภาครัฐ คู่กรณีลำดับต่อมาคือภาคเอกชนที่ใช้
ทรัพยากรในชุมชนโดยได้รับอนุญาตจากภาครัฐ และองค์กรปกครองส่วน
ท้องถิ่นถือเป็นคู่กรณีในลำดับที่สามซึ่งเรื่องที่ร้องเรียนก็เกี่ยวโยงไปถึงรัฐส่วน
กลางด้วย ดังกรณีการสร้างโรงไฟฟ้าใกล้เคียงพื้นที่ชุมชนเกาะกก-หนอง
แตงเม ชุมชนกรอกยายชา และชุมชนหนองน้ำเย็นจังหวัดระยอง ที่ก่อให้
เกิดการกัดเซาะพังทลายของชายฝั่งเนื่องจากมีการขุดร่องน้ำและปรับถม
พื้นที่สร้างโรงไฟฟ้า ทำให้ชาวบ้านขาดรายได้จากการหาปลาเพราะการสร้าง
โรงไฟฟ้าทำให้น้ำขุ่น (ประภาส ปิ่นตบแต่ง และคณะ, 2549, น.22-23;
43-44)
3. การพัฒนาที่ให้ความสำคัญกับสิทธิเอกชนมากกว่าสิทธิชุมชน
รัฐมีแนวโน้มให้สิทธิในการบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติและ
สิ่งแวดล้อมแก่ปัจเจกและเอกชนมากกว่าชุมชน อาจเป็นเพราะบุคคลและ
ภาคเอกชนมีกฎหมายสิทธิและความมีอยู่อย่างชัดเจน ซึ่งสอดคล้องกับการ
ศึกษาของประภาส ปิ่นตบแต่ง และคณะ (2549) ที่ศึกษาสถานการณ์
11