Page 126 - kpi15428
P. 126

ชุมชนกับสิทธิ  ในทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม



              ยุทธศาสตร์และกำหนดเป้าหมายการพัฒนาพลังงานเพื่อใช้พลังงานอย่างมี

              ประสิทธิภาพ สร้างความมั่นคงทางพลังงาน และเป็นศูนย์กลางพลังงาน
              (ประภาส ปิ่นตบแต่ง และคณะ, 2549, น.36-37; น.66) หรือการดำเนิน
              โครงการขนาดใหญ่ของรัฐที่ขาดความโปร่งใสและการให้ข้อมูลที่เป็นจริงแก่
              ชุมชนเจ้าของพื้นที่ทั้งๆที่เป็นสิทธิของผู้อยู่มาก่อนที่ควรจะได้รับรู้ ซึ่งก่อให้

              เกิดปัญหาทางการพัฒนาที่กระทบต่อสิทธิชุมชน และยังเป็นการละเมิดต่อ
              สิทธิชุมชนในเชิงโครงสร้าง

                      รัฐไม่ยอมรับสิทธิตามธรรมชาติของชุมชน เพราะยึดมั่นว่ารัฐเป็น
              ผู้อนุญาตให้ประชาชนหรือเอกชนดำเนินการหรือไม่ดำเนินการใดๆ ดังนั้น
              แม้จะมีรัฐธรรมนูญให้สิทธิแก่ชุมชน รัฐก็เลือกที่จะเพิกเฉยมากกว่า

              (ประภาส ปิ่นตบแต่ง และคณะ, 2549, น.24-27) อันนำมาซึ่งการให้ความ
              สำคัญแก่ปัจเจกและเอกชนในการบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติและ
              สิ่งแวดล้อม ซึ่งยังผลประโยชน์ให้คนเฉพาะกลุ่ม แต่ผลเสียกลับตกอยู่กับ
              ชุมชนซึ่งเป็นผู้อาศัยอยู่ในพื้นที่นั้นๆ

                      นอกจากนี้ สังคมไทยเป็นระบบอุปถัมภ์ที่การตัดสินใจหรือดำเนิน

              นโยบายใดๆ ขึ้นอยู่กับคนชั้นนำบางกลุ่ม ระบบอุปถัมภ์นี้ยังนำไปสู่การ
              อนุญาตให้คนบางกลุ่มได้สัมปทานที่มีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและชุมชน
              โดยรอบ เกิดความขัดแย้งในการทำหน้าที่ของหน่วยงานรัฐที่เป็นหน่วย
              พัฒนากับหน่วยอนุรักษ์ เช่น ป่าบางแหล่งมีการกำหนดเขตอนุรักษ์ไว้ แต่ยัง
              มีการประกาศให้เป็นพื้นที่สร้างเขื่อนหรือวางแนวท่อก๊าซตัดผ่าน อันเกิดจาก

              การไม่สำรวจสภาพพื้นที่ก่อนการตัดสินใจทางนโยบาย (โอภาส ปัญญา
              และคณะ, 2543, น.312) ซึ่งระบบอุปถัมภ์มีแนวโน้มให้ความสำคัญกับ
              ปัจเจกผู้มีอิทธิพล ดังนั้น สิทธิชุมชนจึงถูกลดความสำคัญลงไป











              118
   121   122   123   124   125   126   127   128   129   130   131