Page 128 - kpi15428
P. 128
ชุมชนกับสิทธิ ในทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
ชัดเจนดังปรากฏในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ.2540 และมี
การจัดตั้งหน่วยงานที่รองรัฐต่อสภาพปัญหาที่เกี่ยวกับสิทธิชุมชนขึ้นในช่วงนี้
อันถือเป็นแนวโน้มที่ดีของการตอบสนองจากภาครัฐต่อสถานการณ์ด้าน
สิทธิชุมชนในการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
ภาครัฐหันกลับมาให้ความสำคัญกับชุมชน ในช่วงนี้เป็นการต่อสู้
ระหว่างแนวคิดทุนนิยมและแนวคิดชุมชน (พ.ศ.2540 - 2548) เป็นช่วงที่
ประเทศไทยเกิดวิกฤติเศรษฐกิจ จึงทำให้นักวิชาการตลอดจนภาคธุรกิจ
หันกลับมาให้ความสำคัญกับชุมชนมากขึ้น เรียกว่าเป็นแนวคิดแบบ
เศรษฐกิจวัฒนธรรมชุมชน ซึ่งสอดคล้องกับปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงของ
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว แนวคิดนี้มีปรากฏในแผนพัฒนาเศรษฐกิจ
และสังคมแห่งชาติฉบับที่ 8 (พ.ศ.2540 - 2544) และแผนฯ ฉบับที่ 9
(พ.ศ.2545 - 2549) ที่จะส่งเสริมสถาบันครอบครัวและชุมชน แต่แนวคิด
แบบเศรษฐกิจพอเพียงและชุมชนนี้ยังคงเป็นแนวคิดกระแสรองอยู่
(ฉัตรทิพย์ นาถสุภา, 2548, น.114-116) จากข้อมูลดังกล่าวนี้จะเห็นได้ว่า
ชุมชนได้รับความสำคัญในเชิงเศรษฐกิจ ทำให้ชุมชนยังไม่มีบทบาทชัดเจนใน
การจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมมากนัก
ภาครัฐมีความพยายามปรับตัว เช่น การบริหารจัดการป่าไม้ให้
เหมาะสมกับบริบทของประเทศมากที่สุด เพราะป่าไม้ในประเทศไทย
มีชุมชนอาศัยอยู่ด้วย ทำให้เกิดมีโครงการที่สนับสนุนการอยู่ร่วมกันระหว่าง
ชุมชนกับป่าไม้ เช่น โครงการหมู่บ้านป่าไม้แผนใหม่ตามแนวพระราชดำริ
10
เฉลิมพระเกียรติ 72 พรรษาในปี 2547 (คณะบุคคลโครงการสิทธิชุมชน,
10 กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ได้มีคำสั่ง ที่ 254/2547 ลงวันที่
31 สิงหาคม พ.ศ. 2547 แต่งตั้งคณะกรรมการอำนวยการโครงการหมู่บ้านป่าไม้แผนใหม่
ตามแนวพระราชดำริเฉลิมพระเกียรติ 72 พรรษา พระบรมราชินีนาถ ซึ่งมีองค์ประกอบ
ของคณะกรรมการฯ จำนวน 29 คน โดยได้มีการจัดทำร่างแผนปฏิบัติการโครงการหมู่บ้าน
ป่าไม้แผนใหม่ตามแนวพระราชดำริเฉลิมพระเกียรติ 72 พรรษา พระบรมราชินีนาถ (พ.ศ.
2548-2551) เพื่อใช้เป็นกรอบและแนวทางในการปฏิบัติงานตามโครงการ ในการหยุดยั้ง
1 0