Page 131 - kpi15428
P. 131
ชุมชนกับสิทธิ ในทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
รัฐธรรมนูญก็ตาม ส่วนใหญ่เป็นกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับทรัพยากร การจัด
ตั้งองค์กรที่เกี่ยวข้อง ซึ่งกฎหมายเหล่านี้มีเนื้อหาบางส่วนที่ระบุให้การ
ดำเนินการบางประการจะต้องคำนึงถึงมิติชุมชน และชุมชนยังคงเป็นผู้รับ
การช่วยเหลือจากรัฐอยู่
รูปแบบนโยบายเกี่ยวกับสิทธิชุมชนในการจัดการทรัพยากรธรรมชาติ
และสิ่งแวดล้อมในช่วง พ.ศ.2540 – 2549 ดังกล่าวข้างต้นจะเห็นได้ว่ามี
ลักษณะเปิดโอกาสแต่ยังขาดกลไกที่ชัดเจนซึ่งจะทำให้สมดังเจตนารมณ์
สูงสุดของรัฐธรรมนูญ ขณะเดียวกันก็มีองค์กรที่เกี่ยวข้องกับสิทธิชุมชนเกิดขึ้น
ผู้เขียนวิเคราะห์ว่าสภาพแวดล้อมบริบทระหว่างประเทศ เศรษฐกิจ และ
สังคมมีความสำคัญต่อการกำหนดนโยบายเกี่ยวกับสิทธิชุมชนในช่วงนี้
ความสำคัญของสภาพแวดล้อมบริบทระหว่างประเทศสอดคล้องกับกิตติศักดิ์
ปรกติ (2550, น.63 - 66) ที่กล่าวว่ากระแสแนวคิดสิทธิชุมชนในระดับ
สากลได้ก่อให้เกิดการตื่นตัวเรื่องสิทธิชุมชนในประเทศไทย ดังเช่นกระแส
การรับรองสถานะของชนพื้นเมืองทั่วโลก จากนั้นประเทศไทยได้เข้าร่วม
ภาคยานุวัติต่อกติกาสากลว่าด้วยสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง ซึ่งมี
ผลกับประเทศไทยเมื่อ 30 มกราคม พ.ศ.2540 และกระแสดังกล่าวเป็นผล
ให้เกิดข้อบัญญัติเกี่ยวกับสิทธิชุมชนดังปรากฏในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักร
ไทย พ.ศ.2540
ส่วนสภาพแวดล้อมทางเศรษฐกิจในช่วงนี้ไทยได้รับผลกระทบจาก
วิกฤติเศรษฐกิจ พ.ศ.2540 ทำให้รัฐปรับทิศทางการพัฒนาประเทศเป็นแบบ
พึ่งพาตนเองมากขึ้น และการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจของไทยในช่วงนี้ สภาพ
แวดล้อมทางสังคมไทยที่ยังคงความเป็นชุมชนมีส่วนสำคัญเพราะชุมชน
มีฐานเศรษฐกิจที่หลากหลาย ความสำคัญของชุมชนไทยต่อการฟื้นตัว
ทางเศรษฐกิจสอดคล้องกับที่อานันท์ กาญจนพันธ์ (2543) และฉัตรทิพย์
นาถสุภา (2548, น.93 - 103) กล่าวไว้ว่าชุมชนไทยมีลักษณะถ้อยที
ถ้อยอาศัยกัน และในเชิงเศรษฐกิจก็มีการแบ่งสันปันส่วนกัน ทำให้ชุมชน
1