Page 28 - kpi15428
P. 28
ชุมชนกับสิทธิ ในทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
สิทธิชุมชน ยังมีความสำคัญที่สอดคล้องกับแนวคิดคุณภาพสังคม
3
(Social quality) ในฐานะที่เป็นปัจจัยหนึ่งที่ทำให้คุณภาพสังคมเป็นไปได้
ในเรื่องของการยอมรับทางสังคมเนื่องจากสิทธิชุมชนเป็นเรื่องของ
การยอมรับในสิทธิของบุคคลที่รวมตัวกันเป็นชุมชน ซึ่งการยอมรับย่อม
ทำให้เกิดความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันในสังคม เพราะบุคคลที่รวมตัวกันเป็น
ชุมชนได้รับการยอมรับในฐานะที่เป็นพลเมืองคนหนึ่งตามระบอบ
ประชาธิปไตย (สถาบันพระปกเกล้า, 2553, น.66) ความคิดที่ว่ารัฐควร
ยอมรับสิทธิของชุมชนเพราะชุมชนเป็นที่รวมสิทธิของบุคคลซึ่งอยู่ในชุมชน
นั้น สอดคล้องกับสิทธิของรัฐเกิดจากเจตจำนงของประชาชนดังที่ Hobbes
และ Locke กล่าวว่าสัญญาประชาคมเกิดจากความยินยอมพร้อมใจของ
ประชาชน ดังนั้น ความสัมพันธ์ระหว่างเอกชนจึงถือเป็นพื้นฐานของสัญญา
ประชาคม (คณะบุคคลโครงการสิทธิชุมชน, 2554, น.8-9) นั่นหมายความว่า
สิทธิของรัฐนั้นมีได้เพราะบุคคลซึ่งอยู่รวมกันมอบให้รัฐดำเนินการ
v รูปแบบของสิทธิชุมชน
จากความหมายของชุมชนและสิทธิชุมชนก่อนหน้านี้ จะเห็นได้ว่า
ชุมชนมีบรรทัดฐานเป็นเป็นเครื่องกำหนดรูปแบบพฤติกรรมของชุมชน โดย
พฤติกรรมนั้นสะท้อนออกมาในรูปของวัฒนธรรม ศาสนา หรือกรอบทาง
กฎหมายของสังคม ซึ่งชุมชนจะเข้าใจตนเองว่าเป็นชุมชนผ่านบรรทัดฐาน
และกระบวนการทางสังคม ส่วนกระบวนการทางสังคมจะถูกกำหนด
โดยกลไกสถาบันต่างๆ ในสังคม เช่น ครอบครัว โรงเรียน เพื่อนบ้าน รัฐ
ที่ทำงาน เป็นต้น (Leonard & Kenny, 2010, p.28)
3 คุณภาพสังคมเป็นแนวคิดที่ครอบคลุมเรื่องที่เกี่ยวข้องกับชีวิตประจำวันของ
ประชาชน ได้แก่ สังคม เศรษฐกิจ การพัฒนาชุมชน ฯลฯ โดยปัจจัยที่ทำให้คุณภาพสังคม
เป็นไปได้ ได้แก่ ความมั่นคงทางสังคมและเศรษฐกิจ การยอมรับเป็นสมาชิกของสังคม
ความสมานฉันท์ทางสังคม และการเสริมพลังทางสังคมให้แก่ประชาชน (สถาบันพระปกเกล้า,
2553, น. 8-9)
0