Page 29 - kpi15428
P. 29

ชุมชนกับสิทธิ  ในทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม



                       เมื่อชุมชนมีความยืดหยุ่น ใช้บรรทัดฐานและความเชื่อเป็นตัวกำหนด

                  รูปแบบพฤติกรรม หากพฤติกรรมใดๆที่เบี่ยงเบนหรือผิดไปจากบรรทัดฐาน
                  สังคมก็จะถูกกดดันจากเพื่อนบ้านเอง ดังนั้น กฎเกณฑ์ที่มีความแข็งตัว
                  ยิ่งทำให้เกิดพฤติกรรมที่แข็งข้อต่อกฎระเบียบนั้นๆ นอกจากนี้ ความเชื่อได้
                  ช่วยให้เกิดพฤติกรรมส่วนบุคคลและส่วนรวมภายใต้การควบคุมทางสังคม

                  (Leonard & Kenny, 2010, p.32) ดังนั้น บรรทัดฐาน ความเชื่อ ความยืดหยุ่น
                  ของชุมชนจึงมีผลต่อลักษณะและรูปแบบของสิทธิชุมชนไปด้วย

                       ตัวอย่างหนึ่งของลักษณะสิทธิชุมชนคือชนพื้นเมืองซึ่งเป็นชุมชนที่มี
                  วิถีชีวิตผูกพันกับผืนดินเป็นอย่างมาก เพราะผืนดินและวัฒนธรรมของชน
                  พื้นเมืองเชื่อมโยงกันอย่างแน่นหนาและชนพื้นเมืองมองว่าตนเองเป็น

                  ผู้จัดการในที่ดินผืนนั้นเพื่อลูกหลานในรุ่นต่อๆไป ดังนั้น เมื่อชนพื้นเมือง
                  ถูกกีดกันออกจากที่ดินก็เท่ากับเป็นการตัดขาดวิถีชีวิตชุมชนนั้นทั้งทางกาย
                  และจิตวิญญาณ ชุมชนนั้นก็จะขาดการเชื่อมโยงกับผืนดินที่เค้าอยู่ ทั้งนี้
                  ไม่ได้หมายความว่าจะต้องห้ามไม่ให้มีการเวนคืนที่ดินของชุมชนเพื่อ

                  ผลประโยชน์ของสาธารณะ แต่การเวนคืนที่ดินของรัฐจะต้องมีความเหมาะสม
                  ซึ่งการใช้เงินจ่ายเป็นค่าเวนคืนที่ดินถือว่าไม่ใช่วิธีที่ถูกต้องเพราะพื้นดินที่
                  ชุมชนอาศัยอยู่มีคุณค่ามากกว่าจะถูกลดค่าไปเป็นตัวเงิน วิธีที่ดีกว่าคือ
                  การชดเชยด้วยการเปลี่ยนที่ดินผืนใหม่ให้ชุมชนนั้นโดยมีขอบเขต คุณภาพ

                  และสถานะทางกฎหมายที่เท่าเทียมกันเพื่อจะสืบสานวิถีชีวิตของชนพื้นเมือง
                  ต่อไป (Johnston, 2000, pp.196-197)

                       ในประวัติศาสตร์ของประเทศอังกฤษได้ให้สิทธิแก่ชุมชนในประเทศ
                  อาณานิคมปกครองตนเอง เพราะคนเหล่านี้มีวัฒนธรรมที่แตกต่าง และ
                  อังกฤษจะประสบปัญหาเป็นอย่างมากหากปกครองด้วยตนเองทั้งหมด

                  ตัวอย่างเช่น กรณี Tanganyika ซึ่งคำนึงถึงชุมชน ยุโรป อาเซียน และอัฟริกา
                  ในปี ค.ศ.1949 ซึ่งอังกฤษเลือกที่จะคำนึงถึงความเป็นชุมชนและมองแต่ละ
                  ชุมชนในอาณานิคมเป็นหุ้นส่วน การกระทำนั้นยังเป็นการให้เกียรติแก่




                                                                               1
   24   25   26   27   28   29   30   31   32   33   34