Page 111 - kpi15476
P. 111

110     การประชุมวิชาการ
                   สถาบันพระปกเกล้า ครั้งที่ 15


                           “เหตุควรตามนัยพระอรรถกถาจารย์ ผู้รู้พุทธาธิบาย แลบรมกษัตริย์ทั้งหลายผู้รู้
                     ปฏิบัติในจักรวรรดิวัตร 12 ประการ นี้เดิมทีให้ประพฤติในกุศลกรรมบถ 10 ประการ

                     ให้บริบูรณ์ในพระบวรราชสันดานก่อน... บรมกษัตริย์ผู้บำเพ็ญจักรวรรดิวัตรนั้น พึงปฏิบัติ
                     ทศกุศลกรรมบถนี้ให้บริบูรณ์ พึงคำรพยำเกรงในทศกุศลกรรมบถ ตั้งพระทัยให้สมัคร
                     รักใคร่สรรเสริญสาธุการซึ่งทศกุศลกรรมบถ บูชาซึ่งทศกุศลกรรมบถ ด้วยดอกไม้แลของ

                     หอมเป็นต้น พึงต่ำเตี้ยซึ่งตนกระทำอัญชลีนบนอบนมัสการซึ่งกุศลกรรมบทนั้นทุกเพลาเช้า
                     เพลาค่ำ ทุกอิริยาบถนั่ง นอน ยืน เที่ยว อย่าลืมอย่าหลง พึงยกธงคือกุศลกรรมบถไว้ใน

                     เบื้องหน้า พึงเงื้อหอกแก้ววชิราวุธ คือทศกุศลกรรมบทที่บริบูรณ์นั้นขึ้นไว้ในที่เฉพาะ
                     พระพักตร์ อย่าละวาง พึงตั้งทศกุศลกรรมบถไว้ในที่เป็นอิสริยาธิบดี แล้วลำดับนั้น
                     จึงปฏิบัติในจักรวรรดิวัตร 12 ประการสืบต่อไป” 15


                         จากข้อความข้างต้นจะเห็นว่า การที่น้อมนำหลักจักรวรรดิวัตรมาปฏิบัตินั้น จำเป็นอย่าง

                  ยิ่งที่จะต้องปรับท่าทีทางกาย วาจา และใจให้สะอาดบริสุทธิ์ โดยการนำหลักกุศลกรรมบทมาเป็น
                  ฐานในการปฏิบัติเบื้องต้นก่อน สิ่งที่น่าสนใจอย่างยิ่งคือ พื้นฐานของกุศลกรรมบถคือศีล 5 ซึ่ง
                  เป็นจริยธรรมเบื้องต้นในพระพุทธศาสนา ซึ่งความเชื่อมโยงในลักษณะดังกล่าวนี้ ในจักกวัตติสูตร

                  “กษัตราธิราช” จึงได้ให้โอวาทแก่เหล่าพระราชาจากแคว้นต่างๆ ที่มาเฝ้าว่า “พวกท่านไม่พึง
                  ฆ่าสัตว์ ไม่พึงถือเอาสิ่งของที่เจ้าของมิได้ให้ ไม่พึงประพฤติผิดในกาม ไม่พึงพูดคำเท็จ ไม่พึง

                            16
                  ดื่มน้ำเมา”  โอวาทดังกล่าวนั้น หมายถึง “ศีล 5” ที่เป็นหลักปฏิบัติขั้นพื้นฐานในการอยู่ร่วมกัน
                  ของประชาชนทั่วไป


                         จะเห็นว่า ศีล 5 และกุศลกรรมบถทั้งสองชุดนั้น เป็นหลักจริยธรรมขั้นพื้นฐาน และ
                  ขั้นกลางในการพัฒนาพฤติกรรมทางกาย วาจา และใจให้มีภูมิคุ้มกันที่เหมาะสม ซึ่งจะเอื้อต่อการ

                  พัฒนา และดำรงตนอยู่บนครรลองของจักรวรรดิธรรมในลำดับต่อไป

                       (2) จักรวรรดิวัตร 12


                                        17
                         จักกวัตติสูตร  หรือพระสูตรว่าด้วยพระเจ้าจักรพรรดิ ได้ปรากฏข้อความแสดงถึงวัตร
                  ปฏิบัติของพระเจ้าจักรพรรดิ  ในการรักษาความเป็นพระเจ้าจักรพรรดิให้ดำรงคงอยู่ตลอดไป
                  วัตรปฏิบัติของพระเจ้าจักรพรรดิ ดังที่ทัฬหเนมิฤๅษีได้กล่าวถึง “จักรวรรดิวัตร” ว่า


                          “ลูกเอ๋ย ถ้าเช่นนั้น ลูกจงอาศัยธรรมเท่านั้น สักการะธรรม ทำความเคารพธรรม
                     นับถือธรรมบูชาธรรม ยำเกรงธรรม มีธรรมเป็นธงชัย มีธรรมเป็นยอด มีธรรมเป็นใหญ่

                     จงจัดการรักษาป้องกันและคุ้มครองอันเป็นธรรมในชนภายใน (พระมเหสี พระราชโอรส
                     และพระราชธิดา) ในกำลังพล ในพวกกษัตริย์ผู้ตามเสด็จ ในพวกพราหมณ์และคฤหบดี
        เอกสารประกอบการอภิปราย          15   พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก, ไตรภูมิโลกวินิจฉยกถา (กรุงเทพฯ: กรมศิลปากร, 2520), น.2-3.
                     ในชาวนิคม และชาวชนบททั้งหลาย ในพวกสมณพราหมณ์ ในเหล่าเนื้อและนก ลูกเอ๋ย





                    16
                        ที.ปา. (ไทย) 11/85/63.
                     17
                        ที.ปา.  (ไทย) 11 / 102 / 73.
   106   107   108   109   110   111   112   113   114   115   116