Page 110 - kpi15476
P. 110

การประชุมวิชาการ
                                                                                          สถาบันพระปกเกล้า ครั้งที่ 15   109


                      ธรรมราชา:
                      หลักการปกครองเพื่อสร้างความยินดีพอใจแก่ประชาชน




                            ดังที่ได้กล่าวในเบื้องต้นว่า “ธรรมราชา” มีนัยที่สะท้อน (1) สถานะของบุคคลที่ดำรงตน
                      หรือได้รับการสมมติจากมหาชนให้ดำรงตำแหน่ง แล้วใช้ธรรมะเป็นเครื่องมือในการปกครอง

                      ประชาชนให้อยู่เย็นเป็นสุขในแว่นแคว้นของตน (2) ผู้ปกครองที่บริหารจัดการรัฐจนทำให้มหาชน
                      เกิดความยินดีพึงพอใจในการทำหน้าที่ดังกล่าว จึงเรียนขานผู้ปกครองเหล่านั้นว่า “ราชา” ใน

                      ฐานะผู้ที่ทำให้บุคคลอื่นพึงพอใจโดยธรรม

                            คำถามมีว่า คำว่า “โดยธรรม” ในคำว่า “ยังคนอื่นให้พึงพอใจโดยธรรมธรรม” นั้น หมายถึง

                      “ธรรมะข้อใด” ธรรมะดังกล่าวมีลักษณะที่สำคัญต่อการปฏิบัติตนของพระราชาหรือผู้ปกครอง
                      อย่างไร? จึงทำให้มหาชนเกิดความยินดีพึงพอใจจนเรียกขานผู้ปกครองเหล่านั้นว่า “ราชาผู้ทรง
                      ธรรม” และ “ธรรมราชา” จากการศึกษาจากคัมภีร์พระไตรปิฎก อรรถกถา และฎีกาต่างๆ พบ

                      คำตอบที่น่าสนใจว่า คำว่า “ธรรมะ” ในคำว่า “ราชา” หรือ “ธรรมราชา” นั้น สะท้อนหลักธรรม
                      ทางพระพุทธศาสนาใน 5 กลุ่มใหญ่ๆ ที่พระราชา และผู้ปกครอง หรือผู้ปกครองทั่วไป จะต้องยึด

                      เป็นข้อปฏิบัติในการปกครองเป็นสำคัญ (1) กุศลกรรมบถ และ ศีล 5 (2) จักรวรรดิวัตร 12
                      (3) สังคหวัตถุ 4  (4) ราชสังคหวัตถุ 4 และ (5) หลักทศพิธราชธรรม หมวดธรรมทั้ง 5 กลุ่ม
                      นี้แบ่งออกเป็น 2 ชุด คือ ชุดที่เป็นข้อปฏิบัติของพระเจ้าจักรพรรดิตามที่ปรากฏในจักกวัตติสูตร

                      และชุดที่เป็นข้อปฏิบัติของพระราชาตามที่ปรากฏในมหาหังสชาดก และอรรถกถา ดังมี
                      รายละเอียดที่ปรากฏตามบริบทต่างๆ ดังต่อไปนี้


                        ก. หลักธรรมที่เป็นข้อปฏิบัติของพระเจ้าจักรพรรดิตามนัยจักกวัตติสูตร


                            (1) กุศลธรรมบท 10


                              ในจักกวัตติสูตรได้กล่าวถึงคำตรัสสอนของทัฬหเนมิฤๅษีที่มีต่อพระราชโอรสในประเด็น

                      ที่เกี่ยวข้องกับจักรวรรดิวัตรว่า “ลูกเอ๋ย ถ้าเช่นนั้น ลูกจงอาศัยธรรมเท่านั้น...” คัมภีร์ชั้น
                      อรรถกถาจารย์ได้อธิบายคำว่า “ธรรม” ในบริบทนี้ว่า “หมายถึง กุศลกรรมบถ 10 ประการ”          14
                      ซึ่งประกอบด้วย (1) ความดีทางกายกรรม 3 คือ ไม่ฆ่าสัตว์ ไม่ลักทรัพย์ ไม่ประพฤติผิดในกาม

                      (2) ความดีทางวจีกรรม คือ ไม่พูดส่อเสียด ไม่พูดคำหยาบ ไม่พูดเพ้อเจ้อ (3) ความดีทางใจ
                      คือ ไม่โลภอยากได้ของเขา ไม่พยาบาทปองร้าย เห็นชอบตามทำนองครองธรรม


                              คำถามมีว่า “เพราะเหตุใด? พระอรรถกถาจารย์จึงได้จัดวางกุศลกรรมบทเอาไว้เป็น
                      ประเด็นแรกในจักกวัตติสูตร” ผู้เขียนมองว่า หลักธรรมข้อนี้น่าจะเป็นพื้นฐานสำคัญที่จะนำไปสู่

                      การพัฒนาพฤติกรรมของพระราชา หรือพระเจ้าจักรพรรดิ เพื่อให้เอื้อต่อการวางท่าทีที่ถูกต้อง
                      และเหมาะสมแก่ประชาชนที่อาศัยอยู่ในแคว้น อีกทั้งเป็นแบบอย่างต่อการประพฤติตนของ
                      ประชาชนอีกด้วย ซึ่งในไตรภูมิโลกวินิจฉัยได้อธิบายในประเด็นนี้เอาไว้อย่างน่าสนใจว่า                  เอกสารประกอบการอภิปราย


                         14   “ธมฺมนฺติ ทสกุศลกมฺมปถธมฺมํ” ที.ปา.อ.84/34. กุศลกรรมบถ แปลว่า ทางแห่งกรรมดี หรือทางที่นำไปสู่
                      ความสุขความเจริญ
   105   106   107   108   109   110   111   112   113   114   115