Page 141 - kpi15476
P. 141
140 การประชุมวิชาการ
สถาบันพระปกเกล้า ครั้งที่ 15
แตกต่างออกไปนั่นคือ “enlightened despot” ที่เชื่อว่าบัญญัติขี้นโดยวิลเฮล์ม รอสเชอร์ โดยใช้
ขนานนามพระมหากษัตริย์และสมเด็จพระราชินีบางพระองค์ของประเทศในยุโรป การขนานนามนี้
เป็นการขนานนามย้อนหลังกลับไปในอดีต
III ข้อสังเกตเกี่ยวกับที่มาของแนวคิด “กษัตริย์ผู้ทรงภูมิธรรม”
ไครเกอร์เป็นหนึ่งในนักวิชาการสมัยใหม่ที่วิเคราะห์และชี้ให้เห็นปัญหาในแนวคิด
“enlightened despot” โดยตั้งข้อสงสัยว่ามันมีผู้ปกครองแบบนี้จริงๆ หรือไม่ ไครเกอร์พบว่า
คนที่เชื่อในแนวคิดดังกล่าวนี้ มักจะอธิบายว่าคำว่า “enlightened despot” ใช้เฉพาะกับยุคสมัย
สมบูรณาญาสิทธิราชย์เท่านั้น และต้องเป็นบางช่วงบางสมัยของสมบูรณาญาสิทธิราชย์ที่มีความ
โดดเด่นชัดเจน นั่นคือ ในยุคที่ผู้ปกครองหรือพระมหากษัตริย์ทรงตอบสนองต่อเงื่อนไขทางสังคม
ที่เปลี่ยนแปลงไป รวมทั้งสนองตอบต่อปรัชญาสมัยใหม่แห่งยุคภูมิปัญญา การสนองตอบของ
พระองค์ประจักษ์ชัดเจนจากการที่พระองค์ได้ทรงทำให้การปกครองของพระองค์มีประสิทธิภาพ
อย่างที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อนโดยมีเป้าหมายหลักในการพัฒนาสิทธิเสรีภาพและความอยู่ดีกินดีของ
ราษฎรทั้งปวงภายใต้พระราชอำนาจอันสมบูรณ์เด็ดขาดของพระองค์
แต่ผู้ที่ไม่เชื่อในแนวคิดดังกล่าวนี้โต้แย้งว่า การสร้างแนวคิด “enlightened despot” เป็น
เพียงความพยายามที่จะเคลือบฉาบแต่งเติมเสริมภาพของการปกครองแบบเผด็จการให้ดูดีขึ้น
เท่านั้น และจริงๆ แล้ว ความพยายามที่จะตีความผู้ปกครองแบบนี้ให้ดูดีถือเป็นการบิดเบือนทาง
ประวัติศาสตร์อย่างร้ายแรง (historical distortion) หาได้เป็นอะไรอื่นนอกจากการเล่นลิ้นโวหาร
ของฝ่ายเจ้าหรือฝ่ายนิยมเจ้าที่ใช้คำว่า “enlighten” ที่เป็นคำที่ได้รับความนิยมและมีความหมาย
ในด้านบวกในช่วงยุคภูมิปัญญา (Enlightenment) มาตกแต่งการใช้อำนาจของผู้ปกครอง
เผด็จการให้มีนัยในแง่ดีในช่วงเวลาที่ระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์กำลังสั่นคลอนจากการท้าทาย
ของแนวคิดสมัยใหม่ ส่งผลให้นโยบายหรือพระบรมราชโองการของพระมหากษัตริย์ดูดีมีเหตุผล-
ยังประโยชน์ต่ออาณาประชาราษฎร แต่จริงๆ แล้วไม่ได้มีอะไรที่เป็นจริงเช่นนั้นหรือเป็นสาธารณะ
ประโยชน์ที่เป็นชิ้นเป็นอันเท่าไรนัก
มีประเด็นที่ทำให้เราอดตั้งข้อสังเกตไม่ได้ นั่นคือ หากแนวคิด “enlightened despot”---
หรือบางทีก็เรียกว่า enlightened despotism/absolutism----เป็นเพียง “ศิลปะโวหาร” (rhetoric)
ที่ถูกคิดค้นหรือสร้างขึ้นมาเพื่อรับใช้หรือสร้างความชอบธรรมให้กับผู้ปกครองในระบอบ
สมบูรณาญาสิทธิราชย์ (absolute monarchy) หรือเป็นเครื่องมือในการต่ออายุให้ระบอบ
ดังกล่าว ทำไมถึงไม่กลับไปใช้แนวคิด “philosopher king” หรือ “ราชาปราชญ์” ของเพลโตที่เป็น
แนวคิดต้นแบบ (prototype) หรือกล่าวอีกนัยหนึ่งก็คือ “philosopher king” เป็นแนวคิดตัวพ่อ
เอกสารประกอบการประชุมกลุ่มย่อย หรือบัญญัติคำว่า “enlightened despot” ขึ้นมา-----ถึงต้องมาใช้คำว่า “despot” แทนคำว่า
ของ “enlightened despot” ดังที่ผู้เขียนเองก็ได้กล่าวไปแล้ว โดยมีงานวิจัยของนักวิชาการตะวันตก
อย่างเลียวนาร์ด ไครเกอร์สนับสนุน แต่ทำไม วิลเฮล์ม รอสเชอร์----ในฐานะที่ได้ชื่อว่าเป็นผู้สร้าง
“king”