Page 140 - kpi15476
P. 140

การประชุมวิชาการ
                                                                                          สถาบันพระปกเกล้า ครั้งที่ 15   139


                            แต่ถ้าพิจารณาบริบทของพระมหากษัตริย์ในระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์แล้ว ข้อเรียกร้อง
                      ดังกล่าวของฝ่ายรัฐสภาอังกฤษย่อมมีเหตุผลและมีความจำเป็นที่ประจักษ์ชัดเจนอย่างยิ่ง แม้ว่า

                      เหตุผลของฝ่ายรัฐสภาอังกฤษในปี ค.ศ. 1642 ในการสร้างเงื่อนไขเรียกร้องในการวางรากฐาน
                      การศึกษาของพระราชโอรสและพระราชธิดาของพระมหากษัตริย์ที่พระองค์ใดพระองค์หนึ่งจะขึ้น
                      มาครองราชย์ในอนาคตจะมีประเด็นเรื่องศาสนาเป็นสำคัญก็ตาม แต่สติปัญญาความรู้ด้านอื่นๆ

                      ของผู้ที่จะขึ้นมาเป็นกษัตริย์ก็มีความ สำคัญยิ่งยวดไม่แพ้กัน


                            เพราะอย่างที่กล่าวไปแล้วว่า หากพระเจ้าแผ่นดินผู้ทรงอำนาจสมบูรณ์เด็ดขาดทั้งในด้าน
                      บริหาร นิติบัญญัติและตุลาการเกิดโง่และไร้จริยธรรม ไพร่ฟ้าประชาชนก็จะพากันเดือดร้อน
                      สังคมจะตกต่ำเสื่อมทราม ไม่ว่าจะเป็นการใช้อำนาจบริหารบ้านเมืองหรือใช้ชีวิตส่วนพระองค์อย่าง

                      โง่ๆและไร้จริยธรรม หรือไม่ใส่ใจในการบริหารราชการแผ่นดิน ไม่สนใจจะพัฒนาบ้านเมืองให้
                      เจริญก้าวหน้า ไม่ใส่ใจทุกข์สุขของราษฎร


                            แต่หากผู้ที่จะขึ้นมาเป็นกษัตริย์ ได้รับการศึกษาที่เหมาะสม มีปัญญาความรู้ มีจริยธรรม
                      เอาธรรมเป็นเข็มทิศในการปกครองบ้านเมือง การมีอำนาจสมบูรณ์เด็ดขาดของพระองค์ก็จะกลาย

                      เป็นเรื่องที่วิเศษอย่างยิ่ง ดังที่ได้กล่าวไปแล้วว่า ปราชญ์อย่างวอลแตร์เชื่อว่า การพัฒนา
                      เปลี่ยนแปลงบ้านเมืองที่ทรงประสิทธิภาพประสิทธิผลมากที่สุดก็คือ การเปลี่ยนแปลงที่เกิดจาก

                      เบื้องบน นั่นคือ จากการริเริ่มและใช้พระราชอำนาจอันสมบูรณ์เด็ดขาดขององค์พระมหากษัตริย์
                      ในระบอบสมบูรณาญา สิทธิราชย์ ไม่ใช่มาจากรากหญ้าประชาชน ซึ่งนอกจากว่าอาจจะไม่มีสติ
                      ปัญญาความรู้แล้ว หรือมีก็ไม่สามารถมีเท่าพระเจ้าแผ่นดินที่ผ่านการศึกษาอบรมบ่มเพาะอย่างดี

                      จากปราชญ์ผู้ทรงภูมิต่างๆ ยังมีจำนวนมากมายและอาจมีความคิดความเห็นที่แตกต่างยากที่จะหา
                      ฉันทานุมัติเป็นแนวทางเดียวกันได้


                            อย่างที่กล่าวไปแล้วว่า แนวคิดความเชื่อใน “พระมหากษัตริย์ผู้ทรงภูมิปัญญา” นี้จะว่าไปแล้ว
                      ก็ดูจะไม่ต่างจากแนวคิด “ราชาปราชญ์” หรือ “philosopher king” ของนักปรัชญาการเมือง

                      กรีกโบราณผู้ยิ่งใหญ่อย่างเพลโต เพราะเลียวนาร์ด ไครเกอร์ (Leonard Krieger: 1918-1990)----
                      ศาสตราจารย์ทางประวัติศาสตร์ยุโรปสมัยใหม่ชาวอเมริกันแห่งมหาวิทยาลัยชิคาโก ผู้ได้รับการ

                      ยกย่องว่าเป็น “นักประวัติศาสตร์ความคิดที่โดดเด่นที่สุดของอเมริกันในยุคสงครามเย็น” ก็ได้
                      กล่าวเช่นเดียวกันนี้ในตำราชื่อ “ราชาและปราชญ์, 1689-1789” (Kings and Philosophers,
                      1689-1789 [New York: W.W. Norton & Com.:1970) ไครเกอร์กล่าวว่า ตลอดระยะเวลา

                      สองพันห้าร้อยกว่าปีมานี้นั่นคือ ไครเกอร์เริ่มนับตั้งแต่เพลโตได้เสนอตัวแบบ “ราชาปราชญ์” เป็น
                      ครั้งแรกในหนังสือ the Republic และที่จริงแล้ว ในระยะเวลาไล่เลี่ยกัน เราก็พบแนวคิดใกล้เคียง

                      กันนี้ในงานของปราชญ์ผู้ยิ่งใหญ่ของโลกอีกท่านหนึ่งด้วย นั่นคือ ขงจื่อ ดังที่รู้จักกันในแนวคิด
                      “sage-king” ผู้คนมักคาดหวังให้มีผู้นำที่มีอำนาจเหนือเต็มเหนือใครๆ อีกทั้งยังมีความรู้และมีคุณ
                      ธรรมพร้อมสรรพ และใช้อำนาจอันสมบูรณ์เด็ดขาดนั้นพัฒนาสังคมและชีวิตผู้คนให้อยู่ดีมีสุข     18

                      และความคิดความคาดหวังดังกล่าวนี้ก็มาปรากฏขึ้นชัดเจนอีกครั้งในปี ค.ศ. 1847 ในคำที่


                         18   Leonard Krieger, Kings and Philosophers, 1689-1789, (New York: W.W. Norton & Company:      เอกสารประกอบการประชุมกลุ่มย่อย
                      1970), p. 241.
   135   136   137   138   139   140   141   142   143   144   145