Page 142 - kpi15476
P. 142
การประชุมวิชาการ
สถาบันพระปกเกล้า ครั้งที่ 15 141
หากไม่ใช้คำว่า “philosopher” แต่ต้องการใช้คำว่า “enlightened” เพราะเป็นคำที่อยู่ใน
กระแสความนิยมของผู้คนทั่วไปในยุโรป โดยเฉพาะอย่างยิ่งนักคิดปัญญาชน ในศตวรรษที่สิบแปด
มากกว่าคำว่า “philosopher” แต่กระนั้น ทำไมไม่ยืนหยัดใช้คำว่า “king” ต่อไป ทำไมไปใช้คำว่า
“despot” แทน เพราะ “despot” มีความหมายในด้านลบอย่างยิ่งเมื่อเทียบกับคำว่า “king”
หรือแม้กระทั้งในปัจจุบัน เราจะพบความหมายของ “despot” ในแง่ลบในพจนานุกรมแทบทุกเล่ม
เช่น ใน Longman Dictionary of Contemporary English, 2009 5 edition อธิบายว่า despot
th
คือ คนบางคน โดยเฉพาะผู้ปกครอง ที่ใช้อำนาจอย่างโหดร้ายและไม่เป็นธรรม มีความหมาย
ในทำนองเดียวกันกับ tyrant หรือ “ทรราช” (“someone, especially a ruler, who uses power
in a cruel and unfair way; tyrant”) หรือจาก Oxford dictionary ฉบับออนไลน์ อธิบาย
despot ไว้ว่า ผู้ปกครองหรือบุคคลที่มีอำนาจสมบูรณ์เด็ดขาด โดยเฉพาะผู้ซึ่งใช้อำนาจอย่างโหด
ร้ายและกดขี่ (“a ruler or other person who holds absolute power, typically one who
exercises it in a cruel or oppressive way.” ส่วนคำว่า king ใน Longman Dictionary of
Contemporary English, New Edition, for advanced learners, 2009 5th edition อธิบายว่า
คนที่ปกครองประเทศเพราะเขามาจากพระบรมวงศานุวงศ์ (“a man who rules a country because
he is from a royal family.”) และใน Oxford dictionary ฉบับออนไลน์เดียวกันข้างต้นให้ความ
หมายว่า ผู้ปกครองผู้เป็นชายของรัฐอิสระ โดยเฉพาะผู้ซึ่งขึ้นสู่ตำแหน่งนี้ตามสิทธิโดยกำเนิด
(“the male ruler of an independent state, especially one who inherits the position by
right of birth.”) โดยเปรียบเทียบ “despot” และ “king” จะเห็นได้ว่า หากจะมุ่งสร้างภาพให้
พระมหากษัตริย์ในระบอบกษัตริย์แล้ว น่าจะใช้คำว่า “king” มากกว่า “despot” เพราะการใช้คำว่า
“enlightened despot” มันหลีกเลี่ยงไม่ได้ที่จะนำไปสู่ความหมายที่ว่า “ผู้ปกครอง ที่ใช้อำนาจ
อย่างโหดร้ายและไม่เป็นธรรม” (despot) “ผู้ทรงไว้ซึ่งภูมิปัญญาความรู้และคุณธรรม”
(enlightened) หรือพูดง่ายๆ ก็คือ “ทรราชผู้ทรงภูมิปัญญาคุณธรรม” ซึ่งเป็นการนำคำสองคำ
ที่ขัดแย้งกันอย่างสิ้นเชิงมารวมไว้ด้วยกัน! อย่างที่ในภาษาอังกฤษเรียกคำชนิดนี้ว่า “oxymoron”
หรือ “ปฏิพจน์” ในภาษาไทยที่ผู้รู้ให้ความหมายไว้ว่าหมายถึง “ภาพพจน์หรือการเน้นความหมาย
ที่เกิดจากรวมคำหรือวลีสองคำหรือสองวลีที่มีความหมายขัดแย้งกัน”
แต่ถ้ายึดความหมายตาม Oxford dictionary เฉพาะในช่วงแรกนั่นคือ “ผู้ปกครองหรือ
บุคคลที่มีอำนาจสมบูรณ์เด็ดขาด” โดยตัดข้อความท่อนหลังออกไป นั่นคือ “โดยเฉพาะผู้ซึ่งใช้
อำนาจอย่างโหดร้ายและกดขี่” ก็อาจจะทำให้นัยในแง่ลบของ “enlightened despot” ลดน้อยลง
ไปได้ แต่กระนั้น ถ้าหากจะยังมีใครปฏิเสธแนวคิด “enlightened despot” ในแง่ที่ไม่ลบนักนี้
ก็ไม่ใช่เรื่องแปลก และในการทำความเข้าใจถึงเหตุผลในการปฏิเสธนี้ เราอาจจะต้องพิจารณา
ภายใต้หลักของ “ความยุติธรรมในช่วงเปลี่ยนผ่าน” (transitional justice) นั่นคือ หากใช้
บรรทัดฐานและชุดเหตุผลของแนวคิดประชาธิปไตยไปตัดสินการใช้อำนาจทางการเมืองในระบอบ
สมบูรณาญาสิทธิราชย์ เราจะพบว่า การใช้อำนาจทางการเมืองของกษัตริย์นั้นย่อมผิดและ
อยุติธรรมเสมอ ไม่ว่าจะการใช้อำนาจนั้นจะส่งผลดีอย่างไรก็ตาม ที่ผิดและอยุติธรรมเสมอเพราะ
เป็นการที่คนๆ เดียวใช้อำนาจตามลำพังโดยไม่ได้ต้องฟังเสียงใคร โดยเฉพาะเสียงประชาชน เอกสารประกอบการประชุมกลุ่มย่อย
และการใช้อำนาจทางการเมืองของกษัตริย์เป็นการใช้ในลักษณะผูกขาด ไม่ได้มีการแบ่งแยกการ