Page 143 - kpi15476
P. 143

142     การประชุมวิชาการ
                   สถาบันพระปกเกล้า ครั้งที่ 15


                  ใช้อำนาจทางการเมืองออกเป็น 3 ฝ่าย นั่นคือ บริหาร นิติบัญญัติ และตุลาการ ไม่มีการ
                  ตรวจสอบถ่วงดุลใดๆ ทั้งสิ้น บรรทัดฐานและชุดเหตุผลของแนวคิดประชาธิปไตยยืนยันว่า อำนาจ

                  สูงสุดหรืออำนาจอธิปไตยเป็นของประชาชน นั่นคือ ประชาชนคือต้นสายธารแห่งอำนาจ แม้ว่า
                  อาจจะไม่ได้ใช้อำนาจนั้นด้วยตัวเองได้ แต่มีคนใช้อำนาจแทน แต่คนที่ใช้แทนนั้นก็ต้องไม่ลืมว่า
                  อำนาจที่ตนใช้นั้น “เป็นของและมาจากประชาชนเสมอ”


                       อย่างไรก็ตาม หากสืบค้นที่มาของคำ เราจะพบว่า คำว่า despot จากภาษาฝรั่งเศส

                  despote ผ่านคำว่า despota ในภาษาละตินในยุคกลาง และสืบมาจากภาษากรีกโบราณอีก
                        19
                  ทีหนึ่ง  โดยในบริบทกรีกโบราณ คำว่า despotes มีความหมายว่า “นาย หรือผู้ปกครองที่มี
                  อำนาจสมบูรณ์เด็ดขาด (master, absolute ruler)” ความเป็น “นาย” หรือ “ผู้ปกครอง” นี้ ใช้ได้

                  ไม่ว่าจะเป็นในบริบทไหนก็ตาม นั่นคือ นับตั้งแต่ “นาย” ของครัวเรือน นายทาส ไปจนถึงผู้เป็น
                  นาย “นครรัฐ” ผู้อยู่เหนือประชาชนและทรราชย์ (ทรราชย์ทั้งในความหมายบวกและลบในบริบท

                  กรีกโบราณ)  ซึ่งนัยความหมายดังกล่าวนี้จะเป็น “ลบ” หรือ “บวก” ก็ขึ้นอยู่กับบริบททาง
                              20
                          21
                  การเมือง  หากเป็นบริบทที่เป็น “ประชาธิปไตย” “ผู้ปกครองที่มีอำนาจสมบูรณ์เด็ดขาด” ก็ย่อม
                  มีความหมายในแง่ลบ แต่ถ้าเป็นบริบทที่เป็น “ราชาธิปไตย” ก็ถือเป็นปรกติที่ผู้ปกครองจะมี

                  “อำนาจสมบูรณ์เด็ดขาด” หรือถ้าพิจารณาในบริบทของครัวเรือน การมีผู้ปกครองหรือหัวหน้า
                  ครัวเรือนที่มี “อำนาจสมบูรณ์เด็ดขาด” ก็ไม่ใช่เรื่องผิดปรกติแต่อย่างใด ไม่ว่าผู้นั้นจะเป็น

                  เพศหญิงหรือชายก็ตาม หรือในบริบทสังคมสมัยใหม่ ถ้าเรานึกถึง “ผู้นำองค์กร” อาจจะพบว่า
                  ผู้นำองค์กรบางองค์กรก็เข้าข่ายการเป็น despotes


                       จากข้างต้นนี้ เราจะพบว่า คำว่า despotes ที่มีต้นทางในบริบทกรีกโบราณนั้น มิได้มี
                                                         22
                  ความหมายในแง่ลบเสียทั้งหมดทีเดียว  แต่นัยความหมายของคำว่า despot ที่ใช้ในคำ
                  “enlightened despot” นั้น เป็นการใช้ภายใต้บริบทของสังคมยุโรปในศตวรรษที่สิบแปด และมี
                  อิทธิพลจนถึงปัจจุบันก็ว่าได้ นัยความหมายของ despotism ในศตวรรษที่สิบแปด ปรากฏให้เห็น
                  อย่างมากในงานของนักคิดทางการเมืองชาวฝรั่งเศสอย่างเตสกิเออ (Montesquieu: 1689-1755)

                  ที่นิยาม despotism ว่าคือ การปกครองแบบอำนาจสมบูรณ์เด็ดขาดภายใต้ผู้ปกครองเพียง
                  คนเดียว ที่ทำทุกอย่างตามเจตจำนงและอำเภอใจของเขา ไม่อยู่ภายใต้กรอบกฎหมายและกติกา



                     19   despot 1560s, “absolute ruler,” from M.L. despota, from Gk. despotes “master of a household,
                  lord, absolute ruler.” Faintly pejorative in Gk., progressively more so as used in various languages for
                  Roman emperors, Christian rulers of Ottoman provinces, and Louis XVI during the French Revolution.

                  http://dictionary.reference.com/browse/despot ดั้งเดิมเลยนั้น (หลังจากที่พวกเติร์กสามารถพิชิตกรุงคอนสแตนติ
                  โนเปิล) คำดังกล่าวสื่อถึง ผู้ปกครองชาวคริสต์ระดับล่างภายใต้จักรวรรดิตุรกี แต่ความหมายปัจจุบันสืบมาจาก
        เอกสารประกอบการประชุมกลุ่มย่อย     1292a, 1306a.
                  ศตวรรษที่สิบแปด
                    20
                        ดู Plato, Republic, 344c, Statesman, 258e, 259b-c, Aristotle, Politics, 1252a5-10, 1279b,

                     21
                        ดู R. Koebner, “Despot and Despotism: Vicissitudes of a Political Term” Journal of the Warburg

                  and Courtauld Institutes Vol. 14, No. 3/4 (1951), pp. 275-302.

                        ดูเชิงอรรถ 19
                    22
   138   139   140   141   142   143   144   145   146   147   148