Page 144 - kpi15476
P. 144
การประชุมวิชาการ
สถาบันพระปกเกล้า ครั้งที่ 15 143
ใดๆ มงเตสกิเออแยกการปกครอง despotism ออกจากการปกครองแบบอำนาจสมบูรณาญาสิทธิ์
หรือระบอบกษัตริย์ ซึ่งเป็นระบอบการปกครองที่อำนาจอยู่ในมือของคนๆ เดียวเช่นกัน แต่ใช้
23
อำนาจการปกครองภายใต้กรอบกฎหมายที่กำหนดไว้แน่นอน
นักคิดฝรั่งเศสในศตวรรษที่สิบแปดอีกท่านหนึ่งคือ กิโซต์ (Guizot: 1787-1874) ได้อธิบาย
despotism ไว้ว่า ระบอบนี้ไม่ใช่อะไรอื่นนอกจากระบอบอำนาจสมบูรณ์เด็ดขาด (absolute
power) ที่ผู้ปกครองมีอำนาจสมบูรณ์เด็ดขาด และการใช้อำนาจนั้นนอกจากจะใช้ไปเพื่อบรรลุ
เป้าหมายตามที่ตนต้องการแล้ว ยังใช้อำนาจไปโดยไม่ได้มุ่งหวังที่จะบรรลุเป้าหมายอะไรด้วย แต่มี
ความพอใจหรือสะใจกับการใช้อำนาจในตัวของมันเองด้วย นั่นคือ แทนที่ผู้ปกครองจะเพียงใช้
อำนาจอันสมบูรณ์เด็ดขาดนั้นเป็นเพียงหนทางบรรลุเป้าหมาย แต่การใช้อำนาจกลับกลายเป็น
เป้าหมายในตัวของมันเสียเอง ในทัศนะของกีโซต์ ผู้ปกครองเช่นนี้ถือเป็นผู้ปกครองที่เต็มไปด้วย
อัตตาอย่างรุนแรงสุดขีด ที่มุ่งแสวงหาอำนาจเพียงเพื่อสนองตัณหาของเขาเอง ดังนั้น หมุดหมาย
ที่โดดเด่นของ despotism คือ ความเห็นที่มีแต่ตัวตนของตัวเอง ตามมุมมองนี้ กีโซต์อธิบายว่า
ตัวอย่างของผู้ปกครองที่เต็มไปด้วยอัตตา (an egoistical despot) ที่ทำทุกอย่างเพื่อตัวเขา
ครองราชย์เพื่อตัวเขาเท่านั้น และไม่ถามหาอะไรเพื่ออำนาจนอกจากเพื่อเต็มตัวความมุ่งมั่น
ต้องการเจตจำนงของเขา ได้แก่ พระเจ้าฟิลลิปที่สี่ของฝรั่งเศส (Philip the Fair) และกิโซต์ก็ไม่
ลังเลที่จะจัดให้กษัตริย์อีกสองพระองค์เข้าข่ายผู้ปกครองบ้าอำนาจแบบนี้ นั่นคือ พระเจ้าชาร์เลอมาญ
แห่งฝรั่งเศสยุคโบราณ (Charlemagne: 747-814) และพระเจ้าปีเตอร์มหาราชแห่งรัสเซีย
(Peter I: 1682-1725) ผู้ทรงให้ฉายา “มหาราช” กับตัวพระองค์เอง
ดังนั้น จะเห็นได้ว่า คำว่า “despot” หรือ “despotism” ในศตวรรษที่สิบแปดจึงยากที่จะไป
ด้วยกันได้กับ “enlightenment” และข้อสงสัยต่อประเด็นปัญหาดังกล่าวนี้ก็พบได้ในหนังสือ
Lectures on Foreign History: 1494-1789 (สำนักพิมพ์ Basil Blackwell, Oxford: 1964)
ของทอมสัน (J.M. Thomspson) ที่แปลเป็นภาษาไทยโดย นันทา โชติกะพุกกะณะ และนิออน
สนิทวงศ์ ณ อยุธยา (โครงการตำราสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ สมาคมสังคมศาสตร์แห่ง
ประเทศไทย, กรุงเทพฯ 2512) หัวเรื่องในบทที่ 20 ของหนังสือดังกล่าว ในฉบับภาษาอังกฤษ
ทอมสันผู้เขียนใช้คำว่า “Enlightened Despotism” แต่ในฉบับภาษาไทย ผู้แปลกลับแปลว่า
“ราชาธิปไตยแบบทรงภูมิธรรม” ซึ่งการแปลคำว่า “Despotism” จากต้นฉบับภาษาอังกฤษของ
24
J.M. Thompson มาเป็น “ราชาธิปไตย” แสดงให้เห็นถึงเจตนาที่ต้องการหลีกเลี่ยงการใช้ความ
หมายตรงตัวของ “Despotism” แต่ต้องการจะใช้นัยของ “King” อันสืบเนื่องจากปัญหาที่ผู้เขียน
ได้กล่าวไปข้างต้นนั่นเอง
23 http://econlib.org/library/YPDBooks/Lalor/llCy368.html
24 ประวัติศาสตร์ยุโรป ค.ศ. 1494 - ค.ศ. 1789 นันทา โชติกะพุกกะณะ, นิออน สนิทวงศ์ ณ อยุธยา แปล เอกสารประกอบการประชุมกลุ่มย่อย
จาก “Lectures on Foreign History 1494 - 1789” by J.M. Thompson โครงการตำราสังคมศาสตร์และ
มนุษยศาสตร์ สมาคมสังคมศาสตร์แห่งประเทศไทย กรุงเทพฯ 2512, หน้า 211.