Page 145 - kpi15476
P. 145
144 การประชุมวิชาการ
สถาบันพระปกเกล้า ครั้งที่ 15
นักวิชาการไทยทั้งสองท่านเป็นผู้ทรงคุณวุฒิอย่างยิ่งในสาขาวิชาประวัติศาสตร์ของไทย
และยากที่ทั้งสองท่านจะไม่เข้าใจความหมายของ “despotism” ซึ่งมีความหมายในแง่ลบ ดังนั้น
ก็น่าคิดน่าสงสัยถึงเหตุผลที่ท่านทั้งสองเลือกที่จะใช้คำว่า “ราชาธิปไตย” จาก “Kingship” แทน
“Despotism” แต่กระนั้น ถึงแม้ว่า ท่านทั้งสองจะตัดสินใจแปลหัวเรื่องจาก “Enlightened
Despotism” ว่า “ราชาธิปไตยแบบทรงภูมิธรรม” แต่ในเนื้อหาของย่อหน้าแรกของบทดังกล่าว
เมื่อมีคำว่า “despotic” ท่านทั้งสองก็ไม่สามารถยืนหยัดใช้คำว่า “แบบราชาธิปไตย” แทนคำว่า
“despotism” ได้ตลอดการแปลของท่านตามคำแปลหัวเรื่องได้อีกต่อไป เพราะในข้อความต่อๆ ไป
ท่านได้แปลว่า “despotic” ว่า “การปกครองที่เป็นแบบอำนาจเด็ดขาด” และท่านก็ได้แปลความ
ของ “Enlightened Despotism” ที่เขียนโดยทอมสันในย่อหน้าแรกไว้ดังนี้ “ครึ่งหลังของคริสต์
ศตวรรษที่ 18 เรียกกันว่าเป็นสมัยของราชาธิปไตยแบบทรงภูมิธรรม (Enlightened Despotism)
ประมุขของประเทศระดับที่หนึ่ง 3 องค์ และระดับที่สอง 3 องค์ ผู้ซึ่งสมควรอย่างยิ่งที่จะได้รับ
ฉายาระดับที่หนึ่งได้แก่ พระเจ้าเฟรเดอริกมหาราช พระนางแคธรินมหาราช จักรพรรดิโจเซฟที่ 2
ระดับต่อมาได้แก่ ดอนคาร์ลอส (พระเจ้าชาลส์ที่ 4 แห่งเนเปิลส์ และภายหลังเป็นพระเจ้าชาลส์
ที่ 2 ของสเปน) พระเจ้าลิโอโปลด์แห่งทัสคานี (ภายหลังเป็นจักรพรรดิลีโอโปลด์ที่ 2) และ
พระเจ้ากุสตาวุสที่ 3 ประมุขทั้งหมดที่กล่าวมานี้ได้รับอิทธิพลบางอย่างมาจากความคิดของพวก
‘นักปรัชญา’ ได้พยายามนำมาดัดแปลงให้ใช้เป็นสถาบันทางการเมือง ผลก็คือความคิดที่เป็นแบบ
ทรงภูมิธรรม (enlightened) และการปกครองที่เป็นแบบอำนาจเด็ดขาด (despotic) การผสม
ผสานระหว่าง 2 สิ่งนี้เป็นลักษณะของคริสต์ศตวรรษที่ 18 ถึงแม้บรรยากาศแบบนี้จะมาช้าไป
และไม่สามารถระงับการปฏิวัติในฝรั่งเศสได้ แต่ก็ไม่ช้าเกินไปที่จะจำกัดผลของการปฏิวัติให้อยู่แต่
เฉพาะในฝรั่งเศส และต่ออายุของสถาบันพระมหากษัตริย์ในยุโรปกลางและยุโรปตะวันออกไว้ได้
25
อีกถึง 125 ปี” จากข้อความข้างต้น ชี้ให้เห็นว่า ถึงแม้ว่า ท่านผู้แปลทั้งสองจะตั้งใจแปลหัวเรื่อง
(Enlightened Despotism) ว่า “ราชาธิปไตยแบบทรงภูมิธรรม” แต่ท่านไม่สามารถจะแปล
เช่นนั้นได้ตลอด เพราะคำอธิบายของทอมสัน (Thompson) ในตอนขยายความคำว่า “despotic”
ว่า “การปกครองที่เป็นแบบอำนาจเด็ดขาด” กำกับให้ท่านผู้แปลไม่สามารถแปลเป็นอื่นได้
นอกจากนี้ ข้อความข้างต้นยังสะท้อนให้เห็นถึงการตีความหรือการทำความเข้าใจ “Enlightened
Despotism” ของผู้เขียนด้วยว่า แนวคิดดังกล่าวเกิดขึ้นหรือถูกสร้างขึ้นเพื่อหวังที่จะทัดทาน
กระแสปฏิวัติล้มล้างระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ที่เกิดขึ้นในฝรั่งเศส แต่ก็ “ไม่สามารถระงับ
การปฏิวัติในฝรั่งเศสได้” แต่ขณะเดียวกัน ผลสัมฤทธิ์ของการเกิดแนวคิดนี้ แม้จะช้าสำหรับ
การทัดทานการปฏิวัติฝรั่งเศส “แต่ก็ไม่ช้าเกินไปที่จะจำกัดผลของการปฏิวัติให้อยู่แต่เฉพาะใน
ฝรั่งเศส” และที่สำคัญยิ่งในสายตาของทอมสันคือ แนวคิดดังกล่าวนี้ สามารถช่วย “ต่ออายุของ
สถาบันพระมหากษัตริย์ในยุโรปกลางและยุโรปตะวันออกได้อีกถึง 125 ปี”
26
เอกสารประกอบการประชุมกลุ่มย่อย ได้อย่างไร อย่างที่กล่าวไปแล้วว่า เนื้อหาของแนวคิดดังกล่าวนี้มีสาระสำคัญคือ ต้องการชี้ให้เห็นว่า
แนวคิด “Enlightened Despot” นี้จะช่วยระงับหรือลดทอนกระแสปฏิวัติล้มล้างเจ้า
ไม่ใช่เจ้าหรือสถาบันพระมหากษัตริย์ทุกพระองค์หรือทุกแห่งหนจะต้องกดขี่ชั่วร้ายต่อประชาชน
ประวัติศาสตร์ยุโรป ค.ศ. 1494 - ค.ศ. 1789, เพิ่งอ้าง.
25
ประวัติศาสตร์ยุโรป ค.ศ. 1494 - ค.ศ. 1789, เพิ่งอ้าง, หน้า 211.
26