Page 146 - kpi15476
P. 146

การประชุมวิชาการ
                                                                                          สถาบันพระปกเกล้า ครั้งที่ 15   145


                      หรือตักตวงเอาจากอาณาประชาราษฎร์เสมอไป แต่ก็มีพระมหากษัตริย์บางพระองค์ที่แม้นว่าจะ
                      เป็นผู้ปกครองในระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์หรือผู้ปกครองที่มีอำนาจสมบูรณ์เด็ดขาด

                      แต่พระองค์ก็ได้รับอิทธิพลจากกระแสภูมิปัญญาสมัยใหม่ (Enlightenment) โดยเฉพาะอย่างยิ่ง
                      การยอมรับหลักการความคิดที่มีเหตุมีผล และประยุกต์ใช้หลักการดังกล่าวในการบริหารกิจการ
                      บ้านเมือง และอย่างที่กล่าวไปแล้วว่า หลักการดังกล่าวนี้มีสาระสำคัญสี่ประการ นั่นคือ


                              หนึ่ง  มุ่งให้สังคมมีขันติธรรมทางศาสนา (religious toleration) ไม่งมงายคลั่งไคล้จน

                                    ทำร้ายผู้อื่นที่มีความคิดเห็นแตกต่าง

                               สอง  เชื่อในความคิดที่มีเหตุมีผล เปิดโอกาสให้ทุกคนมีเสรีภาพในการแสดงความคิด

                                    และเผยแพร่ความคิดเห็นของตนเพื่อรับฟังการวิพากษ์ วิจารณ์ (freedom of
                                    speech and freedom of press)


                               สาม  ยอมรับกรรมสิทธิ์ทรัพย์สินส่วนบุคคล และ


                                 สี่  มุ่งพัฒนาการศิลปะวิทยาการและการศึกษา


                            อย่างไรก็ตาม ประเด็นข้อสงสัยประการแรกที่เกิดขึ้นตามมาจากข้อเขียนเรื่อง Lectures on
                      Foreign History: 1494-1789 ของทอมสันคือ หากเป็นอย่างที่ทอมสัน เข้าใจ นั่นคือ แนวคิด
                      ดังกล่าวนี้เกิดขึ้นเพื่อต้านทานหรือระงับการปฏิวัติในฝรั่งเศส ก็หมายความว่า แนวคิดดังกล่าวนี้

                      จะต้องเกิดขึ้นอย่างน้อยๆก็ต้องในช่วงระหว่างการปฏิวัติฝรั่งเศส นั่นคือ ในช่วงที่กำลังจะเกิดการ
                      ปฏิวัติหรือกำลังเกิดปฏิวัติอยู่ แต่อย่างที่กล่าวไปแล้วว่า จากหลักฐานทางวิชาการของ

                      นักประวัติศาสตร์อีกชุดหนึ่งบ่งบอกว่า แนวคิดหรือคำว่า “enlightened despot” นี้ถูกบัญญัติขึ้น
                      ในปี ค.ศ. 1847 โดยนักเศรษฐศาสตร์และประวัติศาสตร์ชาวเยอรมันชื่อ วิลเฮล์ม รอสเชอร์
                                                                      27
                      (Wilhelm Georg Friedrich Roscher: 1817-1894)

                            ถ้าความจริงเป็นไปตามที่ทอมสันกล่าว แนวคิดหรือคำดังกล่าวนี้น่าจะเกิดขึ้นตั้งแต่ในช่วง

                      การปฏิวัติฝรั่งเศส นั่นคือ ตั้งแต่ ค.ศ. 1789-1799 ซึ่งช่วงเวลาดังกล่าวเป็นช่วงเวลาที่
                      นักประวัติศาสตร์ส่วนใหญ่เห็นพ้องต้องกันว่าเป็นช่วงระยะเวลาของการเริ่มต้นและสิ้นสุดของ

                      การปฏิวัติฝรั่งเศสที่โค่นล้มระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์และต่อมาได้เกิดภาวะที่ยังไม่ลงตัว
                      และเกิดสงครามต่างๆ และการประหัต ประหารกัน อันเป็นที่รู้จักกันในนามของ “ยุคแห่งความ
                      น่าสะพึงกลัว” (the Reign of Terror) หรือกล่าวอีกนัยหนึ่งก็คือ “เป็นช่วงเวลาแห่งการปฏิวัติ”

                      หรือ “กระแสการปฏิวัติยังไม่สิ้นสุด” นั่นเอง เพราะเมื่อถึง ค.ศ. 1799 ถือว่ากระแสดังกล่าว
                      ภายใต้การนำของคณะปฏิวัติที่รู้จักกันในนามของกลุ่มจาโคแบง (Jacobin) ก็ได้สิ้นสุดลง โดย

                      การขึ้นสู่อำนาจของนายทหารที่ชื่อ นโบเลียน โบนาปาร์ต (Napoleon Bonaparte: 1769-1821)
                      ก็คงไม่ต่างจากที่การปฏิวัติของอังกฤษ (1642-1649) ที่ต้องลงเอยด้วยการขึ้นสู่อำนาจของ
                      นายพันทหารที่ชื่อโอลิเวอร์ ครอมเวลในปี ค.ศ. 1653 หรือการปฏิวัติสยาม 2475 ที่ในที่สุดต้อง

                      ลงเอยด้วยการขึ้นสู่อำนาจของนายพันเอกหลวงพิบูลสงคราม ในปี พ.ศ. 2481 และ พ.ศ. 2491                   เอกสารประกอบการประชุมกลุ่มย่อย


                         27   wikipedia.org/wiki/Wilhelm_Georg_Friedrich_Roscher
   141   142   143   144   145   146   147   148   149   150   151