Page 147 - kpi15476
P. 147
14 การประชุมวิชาการ
สถาบันพระปกเกล้า ครั้งที่ 15
แต่ก็อาจเป็นไปได้ว่า ทอมสันจะกำหนดช่วงเวลาของการเกิดและสิ้นสุดการปฏิวัติฝรั่งเศส
แตกต่างไปจากทั่วไปที่นับระหว่าง ค.ศ. 1789-1799 โดยทอมสันอาจจะนับตั้งแต่ ค.ศ. 1789 เลย
ไปถึงการปฏิวัติในฝรั่งเศสที่ตามมาอีกสองครั้ง นั่นคือ การปฏิวัติในปี ค.ศ. 1830 และปี ค.ศ.
1848 ซึ่งหลังจากนั้น หมุดหมายของความเป็น “ฝรั่งเศสยุคใหม่” (modern France) ของระบอบ
28
การเมืองการปกครองจึงจะได้เริ่มก่อตัวอย่างชัดเจนเป็นรูปธรรม
อย่างไรก็ดี ไม่ว่าจะมีผู้ปกครองหรือองค์พระมหากษัตริย์ยุโรปที่เป็น “enlightened
despot” จริงๆ หรือไม่ อย่างไรก็ตาม แต่ที่ปฏิเสธไม่ได้คือ แนวความคิดความเชื่อใน
“enlightened despot” นี้มีอยู่จริง และน่าจะมีความสำคัญต่อประวัติศาสตร์การเมืองยุโรปในช่วง
เวลาดังกล่าว โดยเฉพาะในช่วงศตวรรษที่สิบแปด มิฉะนั้นแล้ว ทอมสันคงไม่อุทิศบทที่ 20
เขียนเรื่อง “Enlightened Despotism” ทอมสันเป็นอาจารย์ทางด้านประวัติศาสตร์ที่มหาวิทยาลัย
ออกซฟอร์ด และหนังสือ Lectures on Foreign History: 1494-1789 นี้เกิดจากการเรียบเรียง
คำบรรยายที่เขาใช้สอนนักศึกษาปีที่หนึ่งของวิทยาลัยม็อดเลน (Magdalen College) ของ
มหาวิทยาลัยออกซฟอร์ด ในระหว่างปี ค.ศ. 1921-1924 ซึ่งตัวเขาเองก็สังกัดที่วิทยาลัยนี้ด้วย
เขาเป็นนักวิชาการสาขาประวัติศาสตร์ และได้รับการยอมรับนับถือว่าเป็นผู้ที่มีความรู้ความ
เชี่ยวชาญเฉพาะทาง นั่นคือ ประวัติศาสตร์สมัยใหม่ (Modern History) โดยเฉพาะอย่างยิ่งเรื่อง
การปฏิวัติฝรั่งเศส 29
ประวัติศาสตร์นิพนธ์ในความคิดของทอมสันเป็นแนวที่ให้ความสำคัญกับบุคคล เพราะ
ในสมัยที่ Thompson กำลังสอนหนังสืออยู่นั้น ได้เกิดแนวโน้มที่ถือว่าประวัติศาสตร์เป็นสาขาหนึ่ง
ของสังคมศาสตร์ ที่เน้นหนักไปในเรื่องการเสาะแสวงหาข้อมูลต่างๆ เพื่อวาดสภาพทางสังคม
เศรษฐกิจ และการเมืองของแต่ละยุคแต่ละสมัย แต่สำหรับทอมสัน แม้ว่าเขาจะไม่ได้ละเลยถึง
ความสำคัญของสภาพสังคมเศรษฐกิจการเมือง แต่เขามีความนิยมที่จะเขียนในเชิงที่ให้
ความสำคัญกับตัวคนมากกว่า เพราะเขา “เป็นนักประวัติศาสตร์ในสกุลแนวความคิดที่ถือว่า
วิชาประวัติศาสตร์เป็นแขนงหนึ่งของมนุษยศาสตร์ เพราะเป็นวิชาที่ว่าด้วยพฤติกรรมของมนุษย์
ซึ่งมิอาจจะศึกษาได้จากการเก็บข้อมูลหรือการศึกษาในเชิงวิทยาศาสตร์ตามแนวของวิชา
สังคมศาสตร์แต่อย่างเดียวเท่านั้น” ดังนั้น แนวการศึกษาประวัติศาสตร์ของทอมสัน “จึงให้
30
ความสำคัญกับบทบาทของบุคคลบางคนมากกว่าที่มักจะปรากฎในหนังสือทางประวัติศาสตร์
31
ที่เขียนในปัจจุบัน”
ฉะนั้น มันจึงไม่ใช่เรื่องแปลกสำหรับนักประวัติศาสตร์อย่างทอมสันผู้ซึ่งให้ความสำคัญกับ
ตัวคนในฐานะที่มีบทบาทสำคัญต่อเหตุการณ์ทางประวัติศาสตร์ที่จะกำหนดหัวข้อในบทต่างๆ ของ
เขาภายใต้ตัวบุคคล และในบทต่างๆ ทั้งหมด 22 บท ก็มีถึง 9 บทที่เขียนถึงตัวบุคคล เช่น
เอกสารประกอบการประชุมกลุ่มย่อย 28 http://en.wikipedia.org/wiki/French_Revolution
พระเจ้าเฮนรี่แห่งนาวาร์ (บทที่ 9) ริเชอลิเออ (บทที่ 11) ปฐมวัยของพระเจ้าหลุยส์ที่ 14 (บทที่
ประวัติศาสตร์ยุโรป ค.ศ. 1494-ค.ศ. 1789, อ้างแล้ว, “คำนำของผู้แปล”.
29
30
ประวัติศาสตร์ยุโรป ค.ศ. 1494-ค.ศ. 1789, เพิ่งอ้าง.
ประวัติศาสตร์ยุโรป ค.ศ. 1494-ค.ศ. 1789, เพิ่งอ้าง.
31