Page 148 - kpi15476
P. 148
การประชุมวิชาการ
สถาบันพระปกเกล้า ครั้งที่ 15 14
12) พระเจ้าหลุยส์ที่ 14-นโยบายภายในประเทศ (บทที่ 13) พระเจ้าหลุยส์ที่ 14-ศาสนาและ
นโยบายต่างประเทศ พระเจ้าหลุยส์ที่ 15 (บทที่ 16) พระเจ้าเฟรเดอริกมหาราชและสงคราม
7 ปี (บทที่ 19) พระเจ้าหลุยส์ที่ 16 (บทที่ 21) และ “ราชาธิปไตยแบบทรงภูมิธรรม” (บทที่
32
20) ซึ่งแน่นอนว่า นักประวัติศาสตร์ในแนวนี้ย่อมไม่สามารถหลีกเลี่ยงที่จะกล่าวถึง “ราชา
ธิปไตยแบบทรงภูมิธรรม” ได้ เพราะพระเจ้าแผ่นดินยุโรปที่ได้ชื่อว่าเป็น “enlightened despot”
ย่อมมีบทบาทสำคัญต่อการดำรงอยู่และการเปลี่ยนแปลงทางสังคม เศรษฐกิจ การเมืองอย่างยิ่ง
ปรัชญาของประวัติศาสตร์นิพนธ์สกุลนี้เป็นที่รู้จักกันในนามของ “Great Man Theory” ซึ่ง
เป็นแนวคิดที่เป็นที่นิยมในศตวรรษที่สิบเก้า โดยมีพื้นฐานความเชื่อว่า แม้ว่าคนคือผู้สร้าง
ประวัติศาสตร์ แต่ก็ไม่ใช่คนทุกคนที่จะมีอิทธิพลต่อประวัติศาสตร์ คนบางคนอาจสร้างผลกระทบ
ต่อสังคมเศรษฐกิจการเมืองได้มากกว่าบางคนหรืออีกหลายๆ คน และกล่าวได้ว่า คนแบบนั้น
คือคนที่มีความพิเศษเหนือคนทั่วไป ซึ่งคนแบบนี้มักจะถูกขนานนามว่าเป็น “ผู้ยิ่งใหญ่” หรือ
“มหาบุรุษ” และมหาบุรุษคือผู้สร้างประวัติศาสตร์ ดังนั้น การศึกษาทำความเข้าใจต่อเหตุการณ์
ต่างๆ ในประวัติศาสตร์จะเกิดขึ้นได้อย่างถูกต้องแม่นยำก็คือ การศึกษาความคิดและการกระทำ
ของ “มหาบุรุษ” ที่ส่งผลกระทบอย่างสำคัญต่อสังคม แนวการศึกษา “Great Man Theory” นี้ได้
รับความนิยมแพร่หลายในช่วงทศวรรษ 1840 จากงานเขียนของนักประวัติศาสตร์ชาวสก๊อต
ทอมัส คาร์ไลล์ (Thomas Carlyle: 1795-1881) เขาได้กล่าวไว้ว่า “ประวัติศาสตร์โลกเป็นเพียง
ชีวประวัติของผู้ยิ่งใหญ่” ด้วยเขาเชื่อว่า บรรดามหาบุรษหรือวีรบุรษเหล่านี้คือคนที่กำหนดความ
เป็นไปของประวัติศาสตร์ผ่านบุคลิกภาพความสามารถของพวกเขา ในหนังสือชื่อ On Heroes,
Hero-Worship and the Heroic in History (1841) ชี้ให้เห็นว่า คาร์ไลล์เห็นว่า ประวัติศาสตร์
ดำเนินไปตามการตัดสินใจของบุคคลสำคัญ โดยเขายกตัวอย่างบุคคลดังกล่าว เช่น ศาสดา
โมฮัมหมัด เชคสเปียร์ ลูเธอร์ รุสโซ และนโปเลียน และแน่นอนว่า ผู้ที่มีความคิดความเชื่อ
33
อย่างคาร์ไลล์ย่อมมีแนวโน้มที่จะเชื่อในแนวคิดและการมีอยู่จริงของพระเจ้าแผ่นดินหรือผู้นำ
ผู้ปกครองที่เป็น “Enlightened Despot” และนอกจากงานของคาร์ไลล์แล้ว ยังมีงานอีกสองเล่ม
ของนักวิชาการชาวอเมริกันชื่อ เฟรเดอริก อาดัมส์ วู๊ดส์ (Frederick Adams Woods: 1873-
1939) ชื่อ “Mental and Moral Heredity in Royalty: A Statistical Study in History and
34
Psychology” (1906) และ “The Influence of Monarchs: Steps in a New Science of
History (1913) ที่เขียนประวัติศาสตร์โดยให้ความสำคัญกับตัวผู้นำหรือตัวบุคคลสำคัญบาง
35
คนเช่นกัน ในหนังสือเล่มแรก วู๊ดส์พยายามศึกษาสถาบันพระมหากษัตริย์อย่างเป็นระบบโดย
อาศัยการเก็บข้อมูลในเชิงสถิติถึงความเป็นไปได้ของการสืบทอดคุณสมบัติสำคัญทางสาย
โลหิต ส่วนเล่มหลัง วู๊ดส์ได้ศึกษาผู้ปกครองจำนวน 386 คนในยุโรปตะวันตกตั้งแต่ศตวรรษที่
32 ประวัติศาสตร์ยุโรป ค.ศ. 1494-ค.ศ. 1789, เพิ่งอ้าง, สารบัญ.
33 http://en.wikipedia.org/wiki/Great_Man_theory
34 Frederick Adams Woods, M.D., Mental and Moral Heredity in Royalty, (New York: Henry Holt:
1906).
35 Frederick Adams Woods, M.D., The Influence of Monarchs: Steps in a New Science of เอกสารประกอบการประชุมกลุ่มย่อย
History, (New York: McMillan: 1913).