Page 149 - kpi15476
P. 149
14 การประชุมวิชาการ
สถาบันพระปกเกล้า ครั้งที่ 15
สิบสองจนถึงการปฎิวัติฝรั่งเศสในช่วงปลายศตวรรษที่สิบแปด โดยชี้ให้เห็นถึงอิทธิพลสำคัญ
จากตัวบุคคลสำคัญต่างๆ ที่มีต่อเรื่องราวที่เป็นประวัติศาสตร์ ซึ่งทำให้การอธิบาย
ประวัติศาสตร์ของนักประวัติศาสตร์สำนึกนี้มักจะกล่าวถึงตัวผู้นำหรือพระมหากษัตริย์-ขุนศึก-
มหาอำมาตย์ในฐานะที่เป็นผู้ที่กอบกู้สร้างอาณาจักรให้ยิ่งใหญ่หรือทำให้เสื่อมสลายพังทลายลง
ไปเพียงด้วยน้ำมือหรือบุคลิกภาพ-การตัดสินใจของคนบางคนเท่านั้น
อย่างในประวัติศาสตร์นิพนธ์ในแนวนี้ของไทย เราก็มักจะพบกับการให้ความสำคัญต่อ
พ่อขุนรามคำแหง พระบรมไตรโลกนาถ พระมหาจักรพรรดิ์ พระศรีสุริโยทัย พระนเรศวร
พระนารายณ์ พระเพทราชา พระเจ้าเอกทัศน์ พระเจ้ากรุงธนบุรีฯ ในฐานะที่เป็นบุคคลสำคัญที่มี
อิทธิพลต่อความเจริญรุ่งเรืองหรือความเสื่อม-เสียเอกราชในประวัติศาสตร์ของไทย แน่นอนว่า
ประวัติศาสตร์นิพนธ์แนว “Great Man Theory” นี้ก็มีจุดอ่อนไม่น้อย นั่นคือ ให้ความสำคัญต่อ
ตัวบุคคลจนเกินไป โดยละเลยที่จะพิจารณาถึงเงื่อนไขทางบริบท ไม่ว่าจะเป็นพัฒนาการทาง
เศรษฐกิจ วิถีการผลิต เทคโนโลยี การเมืองระหว่างประเทศ ฯลฯ ที่หากปัจจัยเหล่านี้ไม่พัฒนา
จนถึงจุดสุกงอม ก็ยากที่จะมหาบุรุษคนใดจะเปลี่ยนโฉมหน้าประวัติศาสตร์ได้จริงๆ ในแง่นี้ คนจึง
ไม่ได้เป็นผู้สร้างประวัติศาสตร์ แต่ประวัติศาสตร์ต่างหากที่สร้าง “มหาบุรุษและวีรุบุรษ” หรือถ้า
ลงไปในประวัติศาสตร์นิพนธ์บางสาย ก็จะให้ความสำคัญต่อคนสำคัญที่ไม่ใช่บุคคลใดบุคคลหนึ่ง
คนเดียว แต่เป็นเหล่าผู้คนที่ผลักกงล้อประวัติศาสตร์ให้เคลื่อนไปข้างหน้าบดขยี้ทุกอย่างที่ไม่ยอม
เปลี่ยนแปลงก้าวหน้าไปตามกาลเวลา นั่นคือ ปวงประชามหาชน-ชนชั้นผู้ถูกกดขี่ในทุกยุคทุกสมัย
นั่นเอง
สำหรับตัวผู้เขียนเชื่อว่า เราไม่สามารถปฏิเสธประวัติศาสตร์นิพนธ์ทั้งสองสำนักนี้ได้
การอธิบายโดยให้ความสำคัญทั้งเงื่อนไขทางบริบทและเงื่อนไขของตัวบุคคลน่าจะช่วยให้เรา
เข้าใจภาพรวมของเหตุการณ์ประวัติศาสตร์ได้สมบูรณ์ขึ้นกว่าเพียงอธิบายสุดโต่งไปในทางใด
ทางหนึ่ง และก็น่าจะช่วยให้เราได้พิสูจน์ทำความเข้าใจ “enlightened despotism” ได้อย่าง
สมเหตุสมผลด้วย
IV เงื่อนไขของการเกิด “กษัตริย์ผู้ทรงภูมิธรรม” ในประวัติศาสตร์ยุโรป
พระมหากษัตริย์ยุโรปพระองค์แรกที่ได้รับการยกย่องว่าเป็น “enlightened despot” และได้
กลายเป็นต้นแบบให้กับพระมหากษัตริย์ต่อๆ มาในยุโรปคือ พระเจ้าเฟดริคมหาราชแห่งปรัสเซีย
(1712-1786) พระองค์เป็นพระมหากษัตริย์ที่ได้ชื่อว่ามีการศึกษาที่ดีและมีความรู้ความเข้าใจและ
ซึมซับศิลปะ วัฒนธรรม พระองค์สนับสนุนศิลปะวิทยาการและการศึกษา ทรงถือว่า สิ่งแรกที่
พระมหากษัตริย์จะต้องเป็น ก็คือ เป็นผู้รับใช้ชาติก่อนคนอื่นๆ และพระองค์เชื่อว่า สำนึกของ
เอกสารประกอบการประชุมกลุ่มย่อย ประกันต่อเสรีภาพในการพูดและเสรีภาพในสิ่งพิมพ์ แม้ว่าจะเป็นเสรีภาพที่จำกัดก็ตาม และทรง
ความเป็นผู้ปกครองคือ ความสำนึกในการปกครองอย่างทรงธรรม โดยต้องบังคับใช้กฎหมาย
อย่างเป็นธรรมและพระองค์เองก็จะต้องเคารพกฎหมายด้วย นอกจากนี้ พระองค์ยังทรงให้หลัก
ให้หลักประกันต่อขันติธรรมทางศาสนาอย่างเต็มรูปแบบ แต่อย่างไรก็ตาม กรณีของพระเจ้า
เฟดริกแห่งปรัสเซียถือเป็นกรณีเดียวที่ไม่ได้ช่วยให้เราเข้าใจบริบทการเกิด “enlightened despot”
ได้มากนัก ! ในการทำความเข้าใจภาพรวมของ “enlightened despot” เลียวนาร์ด ไครเกอร์