Page 150 - kpi15476
P. 150
การประชุมวิชาการ
สถาบันพระปกเกล้า ครั้งที่ 15 149
(Leonard Krieger) ได้ศึกษาค้นคว้าเกี่ยวกับประเด็น “enlightened despot” และพบว่า
ในบรรดาพระมหากษัตริย์หรือสมเด็จพระจักรพรรดินียุโรปที่ได้ชื่อว่าเป็น “enlightened despot”
มีลักษณะร่วมกันบางอย่าง ซึ่งประมวลออกมาได้สามประการ
ประการแรก ตามข้อเท็จจริงในทางบริบทของประวัติศาสตร์ พบว่า บรรดาผู้ปกครองที่ได้
รับการยกย่องว่าเป็น “enlightened despot” จะทรงมีบรรพบุรุษที่มีพระราโชบายที่คล้ายคลึงกับ
หลักการข้างต้น แต่ด้วยบุคลิกภาพทางการเมืองและการใช้กุศโลบาย (political personality and
rhetoric) ของบรรพกษัตริย์เหล่านั้นได้กลายเป็นอุปสรรคทำให้ไม่สามารถจัดพระองค์อยู่ในกลุ่ม
ของผู้ปกครองที่เป็น “enlightened despot” ได้บรรพกษัตริย์ดังกล่าวนี้ได้แก่ พระเจ้าปีเตอร์
มหาราชแห่งรัสเซีย (Peter the Great: 1672-1725) พระเจ้าเฟดริค วิลเลียมที่หนึ่งแห่งปรัสเซีย
(Frederick William I: 1688-1740) พระนางมาเรีย เทเรซาในราชวงศ์แฮบสเบิร์กแห่งออสเตรีย
(Maria Theresa: 1717-1780) แม้ว่าพระเจ้าแผ่นดินเหล่านี้ต่างทรงมุ่งมั่นอย่างแรงกล้าและ
สามารถทำให้เกิดการปฏิรูปในระดับรากฐานที่ดำเนินไปในทิศทางของการเกิดรัฐสวัสดิการแบบ
รวมศูนย์ และมีการลดทอนอภิสิทธิ์ต่างๆของบรรดาอภิชนชนชั้นสูง และมีการออกกฎหมาย
ที่เท่าเทียมกันสำหรับพลเมืองของรัฐ ซึ่งเป็นการแผ้วทางไว้ให้ผู้ที่ขึ้นครองราชย์ต่อจากพระองค์ได้
สานต่อและทำให้สัมฤทธิผลชัดเจนได้ง่ายขึ้น
แต่อย่างในกรณีของพระเจ้าปีเตอร์มหาราชและพระเจ้าเฟดริค วิลเลียม แม้ว่าพระราโชบาย
อันสร้างสรรค์ของทั้งสองพระองค์นำไปสู่การวางรากฐานสำคัญให้รัฐรัสเซียและปรัสเซียสมัยใหม่
แต่ความเหี้ยมโหดในแบบทรราชของพระเจ้าปีเตอร์มหาราชและแนวทางปิตาธิปไตยที่ถูกมองว่าไม่
จริงใจของพระเจ้าเฟดริค วิลเลียมดูจะไม่เอื้อต่อนัยความหมายของการเป็น “enlightened ruler”
อย่างที่เข้าใจกัน หรืออย่างในกรณีของสมเด็จพระจักรพรรดินีมาเรีย เทเรซาแห่งออสเตรีย ผู้ซึ่ง
เป็นที่ยอมรับว่าเป็นพระเจ้าแผ่นดินที่มีสติปัญญา อบอุ่นและเป็นที่รักของไพร่ฟ้าราษฎร อีกทั้ง
พระองค์ยังเป็นผู้นำการปฏิรูปจักรวรรดิออสเตรียให้ทันสมัย แต่กระนั้น ก็ไม่มีใครสักคนเดียวที่จะ
ขนานนามพระองค์ว่าเป็น “enlightened despot” เหตุผลสำคัญอยู่ที่วิธีการหรือกุศโลบายทาง
การเมืองที่พระองค์ใช้ ทำให้พระองค์ถูกมองว่าเป็นผู้ปกครองที่เล่นการเมืองแบบฉลาดเจ้าเล่ห์
และเอาความต้องการของตัวเองเป็นที่ตั้ง ดังนั้น การที่พระนางไม่ได้ถูกจัดให้เป็นหนึ่งในพระเจ้าแผ่นดิน
ที่ “ทรงภูมิธรรม” (enlightened) ก็เป็นเพราะบุคลิกภาพทางการเมืองของพระองค์ ทั้งๆ ที่
พระราโชบายและพระราชกรณียกิจของพระองค์นั้นก็เข้าข่ายอยู่ ที่สำคัญคือ พระนางใช้กุศโลบาย
การสร้างภาพความเป็น “แม่ทั้งแผ่นดิน” (universal mother) หรือ “แม่ของไพร่ฟ้าราษฎร” ซึ่ง
วิธีการเช่นนี้สะท้อนถึงทัศนคติแบบโบราณบรรพกาล ไม่ใช่ทัศนคติสมัยใหม่และมีเหตุผลตาม
แนวทางภูมิปัญญาที่เริ่มเกิดขึ้นในยุโรปในศตวรรษที่สิบเจ็ด-สิบแปด ซี่งก็คือ “Enlightenment”
นั่นเอง
การสร้างภาพความเป็น “แม่ทั่วหล้าหรือแม่ของแผ่นดิน” ของสมเด็จพระจักรพรรดินี
มาเรีย เทเรซาผู้ซึ่งมีพระชนม์ชีพอยู่ช่วงศตวรรษที่สิบแปด (1717-1780) ทำให้นึกถึงการ
เปรียบเทียบพระมหากษัตริย์กับความเป็น “พ่อของแผ่นดิน” ของพระมหากษัตริย์อังกฤษใน เอกสารประกอบการประชุมกลุ่มย่อย
ศตวรรษที่สิบเจ็ด เพราะการเปรียบเทียบกษัตริย์กับพ่อเป็นเรื่องปรกติที่พบได้ในวรรณกรรม