Page 208 - kpi15476
P. 208

การประชุมวิชาการ
                                                                                          สถาบันพระปกเกล้า ครั้งที่ 15   20


                            ประการที่สาม ความรู้ความสามารถของนักปกครอง โดยทั้งแนวคิดธรรมราชาและแนวคิด
                      ราชาปราชญ์ต่างก็ได้มีการอธิบายให้เห็นถึงความรู้ความสามารถของนักปกครองไว้อย่างชัดเจน

                      สำหรับในแนวคิดธรรมราชานั้น จะเห็นได้จากการที่แนวคิดดังกล่าวได้กล่าวถึงแสนยานุภาพของ
                      จอมจักรพรรดิราชผู้เป็นธรรมราชาว่ามีมากมายเหลือคณานับ สามารถขยายพระราชอาณาจักร
                      ออกไปได้กว้างขวาง และสามารถใช้ธรรมะในการปกครองให้เกิดความร่มเย็นเป็นสุขได้ เช่น

                      ในกรณีของพระเจ้าอโศกมหาราชที่เมื่อทรงได้แคว้นกลิงค์มาครอบครองแล้ว ก็ทรงตั้งพระทัยจะ
                      ทรงเอาชนะโดยธรรม คือไม่ใช้แสนยานุภาพ แต่ใช้บารมีที่ทรงมีกองทัพอันเข้มแข็ง ทำให้รัฐอื่นๆ

                      ไม่ต่อต้านธรรมทูตที่พระองค์ ส่งไปเผยแผ่ธรรมะ (ปรีชา ช้างขวัญยืน, 2552, น.134) ส่วน
                      แนวคิดราชาปราชญ์ จะเห็นได้จากการที่เพลโตได้มีการเน้นให้นักปกครองเป็นผู้ที่มีความเป็น
                      นักปรัชญาที่มีความรู้และมีปัญญาในการทำปกครอง จึงสามารถที่จะดำเนินการปกครองเพื่อให้

                      เกิดความยุติธรรมแก่รัฐได้ เมื่อเป็นเช่นนี้ จึงถือว่าความรู้ความสามารถเป็นสิ่งที่สำคัญอย่างยิ่ง
                      สำหรับนักปกครองในการทำให้บ้านเมืองเกิดความเจริญรุ่งเรืองต่อไปได้


                            ประการที่สี่ คุณงามความดีของนักปกครอง นับเป็นคุณสมบัติของนักปกครองที่ถูกให้ความ
                      สำคัญจากทั้งสองแนวคิดไม่ยิ่งหย่อนไปกว่าคุณสมบัติข้ออื่นเลย สำหรับแนวคิดธรรมชานั้น

                      เมื่อวิเคราะห์จากคำศัพท์ก็จะเห็นได้ว่า คำว่าธรรมราชา ก็สื่อให้เห็นถึงการมีคุณงามความดีหรือ
                      คุณธรรมของนักปกครองอยู่แล้ว ซึ่งแนวคิดธรรมราชาให้ความสำคัญกับการมีคุณธรรมของ

                      นักปกครองมาก ถึงขั้นเขียนเป็นข้อความไว้ในหนังสือราชนีติ อันเป็นหนังสือที่กล่าวถึงหลักปฏิบัติ
                      ของนักปกครอง โดยเขียนไว้ตอนหนึ่งว่า “ถ้าพระราชาชั่วปกครองบ้านเมือง ไม่มีพระราชาเลย
                      จะดีกว่า ถ้ามีพระราชาชั่วปกครองบ้านเมือง ประชาชนจะมีความสุขความเจริญได้อย่างไร”

                      (ปรีชา ช้างขวัญยืน, 2552, น.42)  ส่วนแนวคิดราชาปราชญ์ เพลโตก็ได้เน้นให้ผู้ปกครองต้อง
                      ประพฤติตนเป็นนักปรัชญาเมธีอยู่เสมอ เขาต้องใช้เวลาทั้งหมดศึกษาปรัชญา ส่วนชนชั้นนักรบ

                      ก็จะมีการบังคับใช้กฤษฎีกาของนักปรัชญาผู้ปกครอง (ดับบลิว.ที.สเตซ, 2514, น.128) เมื่อเป็น
                      เช่นนี้ นักปกครองจึงจำเป็นจะต้องเป็นผู้ที่มีคุณธรรม เพื่อสร้างความยุติธรรมให้เกิดขึ้นในรัฐผ่าน
                      ทางออกกฎเกณฑ์ต่างๆให้พิทักษ์ชน(อันรวมถึงนักรบ)นำไปบังคับใช้ อันจะก่อให้เกิดสภาวะแห่ง

                      การอยู่ดีมีสุขต่อไป


                      แนวคิดธรรมราชาและราชาปราชญ์ในการปกครองระบอบ

                      ประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุขของสังคมไทย



                            จากที่ได้กล่าวถึงความเหมือนและความแตกต่างของแนวคิดธรรมราชา และแนวคิด

                      ราชาปราชญ์ไปในข้างต้นแล้วนั้น คงจะสร้างสามารถสร้างความเข้าใจเกี่ยวกับแนวคิดทั้งสอง
                      ให้เกิดขึ้นได้ไม่มากก็น้อย อย่างไรก็ตาม ในนี้จะได้นำแนวคิดทั้งสองมาประยุกต์ใช้ในการมอง
                      ระบอบการปกครองแบบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุขในสังคมไทย เพื่อให้เกิด

                      องค์ความรู้ที่มีลักษณะเฉพาะในสังคมไทยขึ้น ทั้งนี้เมื่อนำแนวคิดทั้งสองมามองพระมหากษัตริย์
                      ผู้ทรงเป็นนักปกครองในสังคมไทยแล้ว ก็จะกล่าวได้ว่า พระมหากษัตริย์ภายใต้การปกครอง                    เอกสารประกอบการประชุมกลุ่มย่อย

                      ระบอบประชาธิปไตยของสังคมไทย ทรงมีส่วนที่เป็นทั้งธรรมราชาและราชาปราชญ์ แม้บริบทที่
   203   204   205   206   207   208   209   210   211   212   213