Page 539 - kpi17968
P. 539
528
ในปี ค.ศ. 1803 แนวคิดดังกล่าวได้ถูกนำมาใช้บังคับในทางปฏิบัติเป็น
ครั้งแรก ต่อมาที่สหรัฐอเมริกาในคดีที่สำคัญมาก คือ คดี Marbury v.
Madison ซึ่งมีข้อเท็จจริงว่า ในการเลือกตั้ง ปี ค.ศ. 1800 Thomas Jefferson
(ประธานาธิบดีคนที่ 3 : 1743-1826) สังกัดพรรครีพับลิกันชนะ ซึ่งทั้งการ
เลือกตั้งตําแหน่งประธานาธิบดีและสภาคองเกรส ฝ่ายที่แพ้การเลือกตั้ง ได้แก่
พวกนิยมรัฐบาลกลาง (Federalist) คือ John Adams (ประธานาธิบดีคนที่ 2 :
1797-1801) ซึ่งกําลังพ้นจากตําแหน่ง เพื่อที่จะสามารถคุมอํานาจฝ่ายตุลาการไว้
John Adams จึงได้แต่งตั้งผู้พิพากษาศาลสหรัฐฯ จํานวน 42 ตําแหน่งขึ้นมาใหม่
(บางตําแหน่งเป็นตําแหน่งตลอดชีพ) ในวันสุดท้ายของการดํารงตําแหน่ง
ประธานาธิบดีของตนเอง หนึ่งในจํานวนผู้พิพากษาคนใหม่ คือ William Marbury
ได้รับแต่งตั้งเป็น “Justice of the peace” เพื่อรักษาอำนาจบางส่วนของ
พรรคการเมืองของตนไว้ แต่ยังไม่ได้รับตราสารแต่งตั้งจากประธานาธิบดี
เนื่องจากประธานาธิบดี John Adams ลืมตราสารแต่งตั้งไว้ในห้องทํางานของ
ประธานาธิบดี ซึ่งถูกประธานาธิบดี Jefferson ได้เข้าครอบครองและปฏิเสธที่จะ
ส่งมอบตราสารแต่งตั้งให้กับ Marbury แม้ว่าตราสารดังกล่าวจะได้รับการลงนาม
แล้ว สภาซีเนตได้ให้ความยินยอม และประธานาธิบดี John Adams (ก่อนหน้านี้
ได้รับการแต่งตั้งเป็นประธานศาลสูงสุดสหรัฐ แต่ยังทำหน้าที่รัฐมนตรีรับผิดชอบ
เรื่องนี้อยู่) ได้ประทับตราเรียบร้อยแล้วก็ตาม แต่ประธานาธิบดี Jefferson
ซึ่งเป็นประธานาธิบดีคนใหม่เห็นว่าการแต่งตั้งดังกล่าวไม่สมบูรณ์และไม่มีผลทาง
กฎหมาย รัฐบาลใหม่จึงไม่ส่งมอบตราสารแต่งตั้งให้ผู้พิพากษา Marbury
ด้วยเหตุนี้ Marbury จึงได้ยื่นฟ้อง James Madison รัฐมนตรีคนใหม่
ที่รับผิดชอบเรื่องนี้ต่อศาลสูงสุดสหรัฐโดยตรงเพื่อให้ Madison ส่งมอบตราสาร
แต่งตั้งให้ตน โดย Marbury ได้อ้างพระราชบัญญัติตุลาการ ค.ศ. 1789
(Judiciary Act 1789) ซึ่งให้อำนาจศาลสูงสุดสั่งให้รัฐมนตรีปฏิบัติการให้เป็นไป
ตามกฎหมายได้ (writ of mandamus) เพื่อสนับสนุนคำฟ้องของตน John
Marshall ประธานศาลสูงสุดยอมรับความผูกพันของตราสารแต่งตั้ง (ซึ่งตนได้มี
ส่วนรับผิดชอบอยู่ด้วย) และยืนยันว่าผู้พิพากษามีหน้าที่คุ้มครองปัจเจกชนจาก
การกระทำอันมิชอบด้วยกฎหมายของรัฐบาล อย่างไรก็ดี รัฐธรรมนูญแห่ง
สหรัฐอเมริกา Article 3 Section 2 ได้บัญญัติให้ศาลสูงสุดพิจารณาคดีเป็น
บทความที่ผานการพิจารณา