Page 541 - kpi17968
P. 541
530
มากต่อหลักกฎหมายรัฐธรรมนูญในประเทศต่างๆ นับจากคดีนี้ ศาลสูงสุดสหรัฐ
ได้ตัดสินวินิจฉัยให้กฎหมายมลรัฐที่ขัดต่อรัฐธรรมนูญไม่มีผลบังคับใช้เป็นจำนวน
มากกว่า 100 ฉบับ จึงกล่าวได้ว่า หลักความเป็นกฎหมายสูงสุดของรัฐธรรมนูญ
(Supremacy of the Constitution) ได้หยั่งรากลึกลงในทฤษฎีกฎหมาย
รัฐธรรมนูญนับแต่นั้นเป็นต้นมา ถึงแม้ว่าสหรัฐอเมริกาเป็นประเทศที่ใช้ระบบ
กฎหมายคอมมอนลอว์ ก็ไม่ได้ยึดหลักความมีอำนาจสูงสุดของรัฐสภา
(Supremacy of the Parliament) เช่นเดียวกับประเทศอังกฤษ
การสร้างหลักศุภนิติกระบวน (Due process of law) และความเป็น
กฎหมายสูงสุดของรัฐธรรมนูญ ซึ่งมีสหรัฐอเมริกาเป็นต้นแบบ ตามมาด้วยการ
ควบคุมกฎหมายที่รัฐสภาบัญญัติไม่ให้ขัดรัฐธรรมนูญโดยศาลสูงสุดสหรัฐ เมื่อปี
ค.ศ. 1803 ในคดี Marbury v. Madison และการสร้างทฤษฎีอำนาจสถาปนา
รัฐธรรมนูญ คือ อำนาจก่อตั้งระบอบองค์กรการเมืองอยู่เหนือและเป็นที่มาของ
อำนาจขององค์กรอื่นที่รัฐธรรมนูญก่อตั้งขึ้นคือ อำนาจนิติบัญญัติของรัฐสภา
โดย เซเยส (Siéyès) เสนอให้จัดตั้ง “ลูกขุนรัฐธรรมนูญ” (Jurie constitutio
nnaire) ขึ้นเพื่อควบคุมกฎหมายไม่ให้ขัดรัฐธรรมนูญใน ปี ค.ศ. 1795
(บวรศักดิ์ อุวรรณโณ, 2556, น. 2) ศาลรัฐธรรมนูญไทยก็เคยวินิจฉัยไว้โดยใช้
หลักเดียวกันนี้ในคำวินิจฉัยที่ 18-22/2555 ว่า “อำนาจในการก่อตั้งองค์สูงสุด
ทางการเมืองหรืออำนาจสถาปนารัฐธรรมนูญเป็นอำนาจของประชาชน
อันเป็นที่มาโดยตรงในการให้กำเนิดรัฐธรรมนูญโดยถือว่ามีอำนาจเหนือ
รัฐธรรมนูญที่ก่อตั้งระบบกฎหมายและองค์กรทั้งหลายในการใช้อำนาจทาง
การเมืองการปกครอง เมื่อองค์กรที่ถูกจัดตั้งมีเพียงอำนาจตามที่รัฐธรรมนูญให้ไว้
และอยู่ภายใต้รัฐธรรมนูญ จึงเป็นไปไม่ได้ที่จะให้องค์กรนั้นใช้อำนาจที่ได้รับมอบ
มาจากรัฐธรรมนูญกลับไปแก้รัฐธรรมนูญเหมือนการใช้อำนาจแก้ไขกฎหมาย
ธรรมดา” ซึ่งเป็นที่มายุคใหม่ที่จอห์น อาดัมส์ ประธานาธิบดีคนที่ 2 กล่าวว่า
รัฐบาลสหรัฐ “เป็นรัฐบาลของกฎหมาย ไม่ใช่รัฐบาลของมนุษย์” (a government
of laws, and not of men) ซึ่งยุโรปเรียกว่า “นิติรัฐ” นั่นเอง
คดี Marbury v. Madison ได้วางหลักการตุลาการภิวัฒน์ (Judicial
review) ซึ่งมีผู้ใช้เรียกนัยที่ว่าการใช้อำนาจตุลาการก้าวล่วงไปในขอบข่ายแดนของ
บทความที่ผานการพิจารณา