Page 543 - kpi17968
P. 543
532
(Judicial review) ดังกล่าวนี้แก่ศาลสูงสุดก็ตาม ทั้งนี้ เพื่อให้การใช้อำนาจ
นิติบัญญัติของสภาคองเกรสและอำนาจบริหารของรัฐบาลสหรัฐฯ ในการปฏิบัติ
หน้าที่ให้เป็นไปตามหลักศุภนิติกระบวน (Due process of law) โดยไม่ขัดหรือ
แย้งกับรัฐธรรมนูญและละเมิดสิทธิเสรีภาพของประชาชน โดยได้มีพัฒนาการคำ
วินิจฉัยของศาลสูงสุดที่สำคัญหลังจากคดี Marbury v. Madison จนถึง คดี
Obamacare หรือคดี Burwell v. Hobby Lobby ซึ่งศาลสูงสุดสหรัฐได้
3
วินิจฉัยประเด็นปัญหาว่า กฎหมายประกันสุขภาพ Obamacare ละเมิดเสรีภาพ
ความเชื่อทางศาสนาหรือไม่ ?
ข้อเท็จจริงของคดี Burwell v. Hobby Lobby: บริษัท Hobby Lobby
และบริษัทอีกจำนวนหนึ่งในสหรัฐ ซึ่งล้วนเป็นบริษัทหากำไรที่ถือหุ้นโดยคนใน
ครอบครัวจำนวนไม่กี่คน (closely-held corporation) ได้ยื่นฟ้องว่า กฎหมาย
ประกันสุขภาพ Obamacare ละเมิดเสรีภาพทางศาสนาของพวกตน โดยบังคับให้
บริษัทต้องจ่ายเงินเข้ากองทุน Obamacare ซึ่งมีบางแผนของประกันสุขภาพที่รวม
เอาการคุมกำเนิดบางประเภทที่ป้องกันไม่ให้ตัวอ่อนเข้าไปฝังตัวในผนังมดลูก
เอาไว้ด้วย โดยเจ้าของบริษัทมีความเชื่อตามศาสนาคริสต์อย่างบริสุทธิ์ใจว่า ชีวิต
เริ่มต้นที่การปฏิสนธิ และการคุมกำเนิดนั้นก็ไม่ต่างจากการทำแท้งแต่อย่างใด
กฎหมายประกันสุขภาพ Obamacare จึงเป็นการบังคับให้พวกเขาต้องจ่ายเงินให้
คนไปทำแท้ง โดยผ่านทางการจ่ายเงินของบริษัทดังกล่าว
ศาลสูงสุดสหรัฐได้มีคำวินิจฉัยตัดสินในคดี Burwell v. Hobby Lobby
ด้วยคะแนนเสียง 5 ต่อ 4 ว่า ตามกฎหมาย Religious Freedom Restoration
Act (RFRA) รัฐบาลจะสร้างภาระอย่างมีนัยสำคัญ (substantial burden) ให้กับ
บุคคล (person) ในด้านการปฏิบัติทางศาสนาไม่ได้ เว้นแต่จะพิสูจน์ได้ว่า เป็นไป
เพื่อประโยชน์อันน่าเชื่อได้ของรัฐบาล (compelling governmental interest)
3 ดูรายละเอียดใน Supreme Court of the United States, “Milestone Cases in
Supreme Court History”. In History and Government, Supreme Court, สืบค้นจาก
WWW.infoplease.com. เข้าถึงข้อมูลเมื่อวันที่ 23 กุมภาพันธ์ 2557; และ Wikipedia. “Burwell
v. Hobby Lobby”. From Wikipedia, the free encyclopedia. สืบค้นข้อมูลเมื่อวันที่ 18
มกราคม 2557 จาก en.wikipedia.org/wiki/Burwell_v._Hobby_Lobby.
บทความที่ผานการพิจารณา