Page 542 - kpi17968
P. 542

531




                   ฝ่ายบริหาร ซึ่งมองว่าเป็นการผิดหลักประชาธิปไตยในเรื่องการแบ่งแยกอำนาจ

                   อธิปไตยตามหลักการที่มองเตสกิเออได้วางไว้เมื่อหลายร้อยปีมาแล้ว ซึ่งทุกวันนี้
                   ประเทศไทยก็ยังยึดติดอยู่กับหลักการแบ่งแยกอำนาจของมองเตสกิเออ ทั้งที่ความ
                   จริงสังคมได้เปลี่ยนแปลงไปมากจากยุคของมองเตสกิเออ อำนาจนิติบัญญัติ

                   อำนาจบริหาร อำนาจตุลาการ ต้องแยกกัน ไม่แทรกแซงกันเป็นทฤษฎีแบ่งแยก
                   อำนาจในสมัยโบราณ ซึ่งเป็นไปไม่ได้ในสังคมปัจจุบันที่ว่า ศาลก็ใช้อำนาจตุลาการ
                   ในการปฏิบัติหน้าที่พิจารณาพิพากษาอรรถคดี ส่วนรัฐสภาก็มีอำนาจนิติบัญญัติใน

                   การปฏิบัติหน้าที่ออกกฎหมาย แต่ทุกองค์กรต่างเป็นอิสระซึ่งจะต้องทำปฏิบัติ
                   หน้าที่ตรวจสอบและถ่วงดุลอำนาจซึ่งกันและกัน ก่อนหน้าที่จะมีศาลปกครอง
                   ศาลรัฐธรรมนูญ หรือศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง

                   ก็ไม่มีปัญหา เพราะสมัยก่อนไม่มีคดีในทางกฎหมายมหาชนซึ่งเกี่ยวข้องกระทบ
                   กับสังคมเกิดขึ้น อย่างไรก็ดี เมื่อมีคดีปกครอง คดีรัฐธรรมนูญ หรือคดีอาญาของ
                   ผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง มีการตัดสินคดีในบริบทของกฎหมายมหาชน

                   ซึ่งเป็นเรื่องที่ไม่เคยมีประสบการณ์กันมาก่อน จึงได้มีการวิพากษ์วิจารณ์ว่า
                   ศาลใช้อำนาจตุลาการไปก้าวล่วงอำนาจนิติบัญญัติของรัฐสภา หรืออำนาจบริหาร
                   ของรัฐบาล แต่ในปี ค.ศ. 1803 ที่สหรัฐเมื่อสองร้อยกว่าปีมาแล้ว ก่อนมีประมวล
                   กฎหมายนโปเลียน ได้เคยมีปัญหาเกิดขึ้นในทำนองนี้ในคดี Marbury v.

                   Madison ก็ไม่เห็นมีใครวิจารณ์ว่าศาลสูงสุดสหรัฐซึ่งเป็นต้นกำเนิดตุลาการ
                   ภิวัฒน์ได้ใช้อำนาจตุลาการเข้าไปก้าวก่ายฝ่ายบริหารและฝ่ายนิติบัญญัติเลย


                      2.2 พัฒนาการคำวินิจฉัยของศาลสูงสุดสหรัฐจากคดี Marbury v.

                   Madison ถึงคดี Obamacare


                           ภายหลังจากที่คดี Marbury v. Madison (ค.ศ. 1803) ศาลสูงสุด
                   สหรัฐได้มีคำวินิจฉัยตัดสินว่ากฎหมายที่ออกโดยสภาคองเกรสนั้นขัดแย้งและ
                   ไม่ชอบด้วยรัฐธรรมนูญ (unconstitutional) ซึ่งได้ขยายอำนาจของศาลสูงสุด

                   (ซึ่งปฏิบัติหน้าที่เสมือนศาลรัฐธรรมนูญในบางประเทศ เช่น ประเทศเยอรมนี
                   หรือประเทศไทย) โดยสถาปนาอำนาจตรวจสอบทบทวนกฎหมายซึ่งออกโดย

                   สภาคองเกรส (Acts of Congress) ที่ขัดต่อรัฐธรรมนูญให้เป็นโมฆะ แม้ว่า
                   รัฐธรรมนูญของสหรัฐอเมริกามิได้บัญญัติโดยแจ้งชัดให้อำนาจตุลาการภิวัฒน์





                                                                 บทความที่ผานการพิจารณา
   537   538   539   540   541   542   543   544   545   546   547