Page 546 - kpi17968
P. 546
535
Burwell v. Hobby Lobby นี้ ที่ทำให้มีสิทธิในศาสนา (แม้อาจจะยังไม่ยกไปถึง
ขั้นสิทธิตามรัฐธรรมนูญก็ตาม) นอกจากนี้ นักวิชาการหลายท่านยังบอกว่า ยังไม่
สามารถคาดเดาได้ว่า คำวินิจฉัยของศาลสูสุดในคดีนี้จะนำผลอะไรมาให้กับ
กฎหมายอเมริกันบ้าง เพราะแม้จะเป็นคำวินิจฉัยที่ค่อนข้างแคบและจำกัดอยู่ที่
บริษัทที่ถือหุ้นโดยคนจำนวนน้อย (closely-held corporation) แต่จากสถิติ
พบว่า บริษัทในสหรัฐจำนวนกว่า 90% เป็นบริษัทประเภทนี้ และมีแรงงานอยู่ใน
บริษัทเหล่านี้กว่า 52% และก็ไม่ทราบว่าศาลแต่ศาลของสหรัฐจะตีความคำ
วินิจฉัยดังกล่าวนี้กว้างหรือแคบเพียงใด
โดยสรุป พัฒนาการคำวินิจฉัยของศาลสูงสุดสหรัฐจากคดี Marbury
v. Madison ถึงคดีกฎหมายประกันสุขภาพ Obamacare พบว่า การวินิจฉัยของ
ศาลสูงสุดสหรัฐที่เป็นการปฏิบัติหน้าที่ศาลเกินกรอบอำนาจหน้าที่ของศาลในการ
ตีความข้อกฎหมาย (Judicial activism) โดยการใช้อำนาจดุลพินิจและความ
คิดเห็นส่วนตนมากเกินไปในการวินิจฉัยคดี หรือการตีความเกินตัวบทกฎหมาย
เช่น คดีที่ถูกวิจารณ์ว่าศาลสูงสุดอนุรักษ์นิยมมากเกินไปในคดี Lochner v. New
York (ค.ศ. 1905) ซึ่งศาลวินิจฉัยว่า กฎหมายที่กำหนดกฎเกณฑ์เกี่ยวกับ
เงื่อนไขการทำงานและเวลาการทำงานอบขนมปังของมลรัฐนิวยอร์กเป็นกฎหมาย
ที่ขัดรัฐธรรมนูญสหรัฐ เนื่องจากขัดต่อสิทธิขั้นพื้นฐาน (fundamental rights)
และเสรีภาพในการทำสัญญาระหว่างเอกชน หรือคดีที่ถูกวิจารณ์ว่าเสรีนิยมมาก
เกินไปในคดี Roe v. Wade (ค.ศ. 1973) ซึ่งเป็นคดีแรกที่ศาลสูงได้รับรองสิทธิ
ผู้หญิงในการทำแท้งเป็นสิทธิส่วนบุคคล (individual rights) อันเป็นสิทธิ
ขั้นพื้นฐานตามรัฐธรรมนูญ (constitutional fundamental rights) ที่ได้รับการ
คุ้มครองจากบทบัญญัติแก้ไขรัฐธรรมนูญ ฉบับที่ 14 (14 Amendment) ว่าด้วย
th
หลักศุภนิติกระบวน (Due process of law) หรือหลักนิติธรรม แต่คดีที่ถูก
วิจารณ์ว่าก้าวหน้ามากในคดี Brown v. Board of Education (ค.ศ. 1954)
ซึ่งห้ามการเลือกปฏิบัติเนื่องจากการแบ่งแยกสีผิวระหว่างคนผิวขาวกับคนผิวดำ
ในสถานที่ศึกษา และในคดี Bush v. Gore (ค.ศ. 2000) ซึ่งแนวการวินิจฉัย
ตีความของศาลสูงสุดในลักษณะดังกล่าวทำให้ศาลถูกวิจารณ์ได้ว่าปฏิบัติหน้าที่
เสมือนหนึ่งเป็นผู้ตรากฎหมายเสียเอง หรือกรณีที่ศาลขยายกรอบอำนาจของ
บทความที่ผานการพิจารณา