Page 547 - kpi17968
P. 547
536
รัฐบาลกลางสหรัฐมากเกินไปจนเป็นการแทรกแซงเขตอำนาจของรัฐบาลมลรัฐ
หรือกรณีการแทรกแซงของฝ่ายตุลาการในประเด็นที่เป็นปัญหาข้อขัดแย้งทาง
การเมืองเกี่ยวกับการเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกา เช่น ในคดี Bush v.
Core เป็นกรณีที่ศาลได้พิจารณาประเด็นปัญหาการนับคะแนนเลือกตั้ง ซึ่งศาลสั่ง
ระงับให้มีการนับคะแนนใหม่ ส่วนข้อวิจารณ์อื่นๆ เช่น อำนาจศาลสูงสุดที่มีมาก
เกินไปในการคุ้มครองสิทธิบุคคล (individual rights) ศาลไม่ตรวจสอบอำนาจของ
ฝ่ายบริหารเท่าที่ควรและไม่เลือกคดีขึ้นมาพิจารณาที่มากพอ ศาลมีกระบวนการ
พิจารณาที่ไม่เปิดเผย (secret proceeding) และสร้างวัฒนธรรมให้คนเกรงกลัว
กฎหมายมากเกินไปแทนที่จะเห็นกฎหมายเป็นเครื่องมือในการป้องกันคนกระทำผิด
การไม่มีเกษียณอายุของผู้พิพากษาศาลสูงสุดซึ่งได้มีผู้โต้แย้งสนับสนุนว่าประเด็น
นี้เองที่ทำให้คำพิพากษาของศาลสูงสุดสหรัฐเป็นคำวินิจฉัยอันทรงพลังยิ่งเพราะ
ศาลเป็นอิสระอย่างแท้จริงโดยไม่อาจถูกแทรกแซงทางการเมืองได้
ิ ราะห ปร ยบ ยบ น ินิ ัย การป ิบัติหน า กร
า รั ตามหลักนิติธรรม
3.1 หลักการตีความรัฐธรรมนูญในคำวินิจฉัยของศาลใน
สหรัฐอเมริกาและอังกฤษ
คำวินิจฉัยคดีการปฏิบัติหน้าที่ขององค์กรภาครัฐตามหลักนิติธรรมที่ได้
มีพัฒนาการหลักการตีความรัฐธรรมนูญจากทฤษฎีนิตินิยม (Legalism) ของ
สำนักกฎหมายบ้านเมือง (Positive law) มาสู่ทฤษฎีโครงสร้างนิยม
(Structuralism) ของสำนักกฎหมายธรรมชาติ (Natural law) ทำให้การบังคับใช้
กลไกตรวจสอบการปฏิบัติหน้าที่ขององค์กรภาครัฐตามหลักนิติธรรมมีสัมฤทธิผล
มากยิ่งขึ้น เมื่อจอห์น มาร์แชล ประธานศาลสูงสุดสหรัฐคนที่สี่ ได้สถาปนาระบบ
ตรวจสอบความชอบด้วยรัฐธรรมนูญของกฎหมายของฝ่ายนิติบัญญัติโดยอำนาจ
ตรวจสอบของฝ่ายตุลาการ (Judicial review) ในคำวินิจฉัยคดีประวัติศาสตร์
Marbury v. Madison (ค.ศ. 1803) เพื่อคุ้มครองสิทธิเสรีภาพของปัจเจกชนจาก
ใช้อำนาจบาตรใหญ่ของรัฐบาลสหรัฐ กลไกอำนาจตรวจสอบของฝ่ายตุลาการ
(Judicial review) ได้ทำให้สิทธิขั้นพื้นฐานประเภทต่างๆ ที่ได้รับรองไว้ใน
บทความที่ผานการพิจารณา