Page 490 - kpi18886
P. 490
482
พัฒนาการของยุทธศาสตร์ชาติที่แม้ว่าจะมาจากการให้อำนาจโดยรัฐธรรมนูญ
แห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2560 แต่กระบวนการร่างก็ยังจำกัดแค่คนที่มี
อำนาจเขียนยุทธศาสตร์ชาติ เพียงคณะกรรมการยุทธศาสตร์ชาติ 34 คน
ซึ่งประกอบด้วยกรรมการโดยตำแหน่ง 17 คน และกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ
17 คน ที่คณะรัฐมนตรีแต่งตั้งขึ้น โดยที่มีนายกรัฐมนตรีเป็นประธานกรรมการ
หากพิจารณาดูแล้วพบว่า คนที่เขียนยุทธศาสตร์ชาติก็คือ คณะรักษาความสงบ
แห่งชาติ และคนที่มีที่มาจากคณะรักษาความสงบแห่งชาติเอง ซึ่งเป็นเพียงคน
กลุ่มหนึ่งเท่านั้น ประชาชนไม่ได้มีส่วนร่วมอย่างแท้จริง แต่เมื่อพิจารณาตาม
มาตรา 65 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2560 ก็ยังเปิดช่อง
ทางการมีส่วนร่วมของประชาชนเมื่อมีการประกาศใช้ยุทธศาสตร์ชาติ ดังนี้
“การจัดทำ การกำหนดเป้าหมาย ระยะเวลาที่จะบรรลุเป้าหมาย และสาระที่พึงมี
ในยุทธศาสตร์ชาติให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กฎหมายบัญญัติ ทั้งนี้
กฎหมายดังกล่าวต้องมีบทบัญญัติเกี่ยวกับการมีส่วนร่วมและการรับฟังความ
คิดเห็นของประชาชนทุกภาคส่วนอย่างทั่วถึงด้วย” (รัฐธรรมนูญฯ พ.ศ. 2560
มาตรา 65) ซึ่งนับได้ว่าพอยอมรับได้ หากการนำไปปฏิบัติจริงนั้น ยุทธศาสตร์
ชาติยังคงคำนึงถึงความสำคัญของประชาชนในพื้นที่ต่างๆ ที่เป็นผู้มีส่วนได้เสียจาก
การกระทำต่างทั้งทางนโยบาย แผน โครงการ ที่นำไปปรับใช้ในพื้นที่ด้วย
กลไกการนำนโยบายของรัฐไปปฏิบัติโดยกำนัน ผู้ใหญ่บ้าน
กลไกการปฏิบัติ เป็นปัจจัยหนึ่งของความสำเร็จยุทธศาสตร์ชาติ กล่าวคือ
กลไกการนำไปปฏิบัตินั้น มีความสอดรับ/สอดคล้องตั้งแต่ระดับการจัดทำ
ยุทธศาสตร์ การนำไปสู่การปฏิบัติ และการติดตามประเมินผล รวมทั้งกลไก
ในการกำกับดูแลบริหารจัดการ และการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ชาติสู่การปฏิบัติ
อย่างมีประสิทธิภาพ และหน่วยงานปฏิบัติจะต้องมีความเข้าใจ สามารถกำหนด
แผนงาน โครงการให้สอดคล้องกับเป้าหมายที่กำหนดไว้ในยุทธศาสตร์ชาติ
(สำนักงานนายกรัฐมนตรี, 2560)
เมื่อพิจารณาการจัดระเบียบการปกครองตามหลักการแบ่งอำนาจ
(Decentralization) ได้แก่ จังหวัด อำเภอ กิ่งอำเภอ และรวมถึงตำบล หมู่บ้าน
ซึ่งเป็นการปกครองท้องที่แต่ก็ถือว่าเป็นหน่วยย่อยของระบบการปกครอง
บทความที่ผานการพิจารณา