Page 489 - kpi18886
P. 489
481
ตัวแทนคนในหมู่บ้าน เพราะสังคมไทยความเป็นบ้าน และหมู่บ้าน ไม่ได้หมายถึง
ตำบล แค่โครงสร้างของกฎหมายดั้งเดิมให้กำนันมีอำนาจสูงสุด บทบาทของกำนัน
ผู้ใหญ่บ้านจึงเป็นประเด็นถกเถียงว่ายังมีบาทสำคัญนี้จำเป็นต้องมีหรือไม่
เมื่อโครงสร้างอำนาจในพื้นที่เปลี่ยนแปลงไป (ตระกูล มีชัย, 2560, ออนไลน์)
เมื่อพิจารณาจากการประชุมของกระทรวงมหาดไทยในคราวที่ผ่านมา
กำนัน ผู้ใหญ่บ้านถูกให้ความสำคัญอย่างมากจากกระทรวงมหาดไทยกับกลไก
ขับเคลื่อนนโยบายไปสู่การปฏิบัติจริง โดยใช้กลไกการบริหารของรัฐบาลตาม
แผนยุทธศาสตร์ชาติ และการสร้างความปรองดอง พร้อมทั้งบูรณาการ
แผนพัฒนาในระดับพื้นที่ (area based) และแผนพัฒนาหมู่บ้านตำบล ถือว่าต้อง
เชื่อมโยงแผนอื่นๆด้วย กลไกการบังคับบัญชาถูกนำมาใช้โดยผู้ว่าราชการจังหวัด
ขับเคลื่อนในฐานะเป็นหัวหน้าส่วนราชการที่สามารถบังคับบัญชากำนัน
ผู้ใหญ่บ้านได้โดยเป็นไปทั้งการผลักดันนโยบาย แผนไปใช้ในท้องที่ และ
การแก้ปัญหาในพื้นที่ด้วย
เมื่อพิจารณาถึงกลไกสำคัญในการขับเคลื่อนงานในระดับพื้นที่ ถูกเน้นย้ำ
โดย รัฐมนตรีมหาดไทย พล.อ อนุพงศ์ เผ่าจินดา กล่าวเน้นย้ำ กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน
ให้ผู้ว่าราชการจังหวัดใช้กลไกท้องที่ เป็นกลุ่มผู้ขับเคลื่อนงานตามนโยบายของ
รัฐบาล และภารกิจของกระทรวงมหาดไทยที่มีกรอบยุทธศาสตร์ชาตินั้น ให้มี
ประสิทธิภาพมากขึ้น (อนุพงศ์ เผ่าจินดา, 2560, ออนไลน์) จากข้อมูลสะท้อน
ให้เห็นว่า กระทรวงมหาดไทยได้ให้ความสำคัญกับยุทธศาสตร์ชาติ หรือนโยบาย
ต่างๆ ที่ลงไปยังพื้นที่ด้วยกลไกสถาบันกำนัน ผู้ใหญ่บ้าน แต่ก็มีข้อสังเกตเช่นกันว่า
ภาคประชาชนในพื้นที่มีส่วนร่วมมากน้อยเพียงใด ประชาชนย่อมอยู่ในฐานะ
ผู้เสนอขอบริการมากกว่าการมีส่วนร่วมโดยตรงกับรัฐ (ท่ามกลางบริบทปัจจุบัน)
ทั้งนี้ Mark Considine (1994, pp 1330 -163 อ้างถึงใน ชมพูนุช ทองสุโชติ
และตระกูล มีชัย, 2557, น. 12) ที่มองว่าผู้คนทั่วไปไม่ได้มีส่วนร่วมในการตัดสินใจ
ในนโยบาย เนื่องจากเดิมนั้นเป็นเรื่องของนักเทคนิค หรือเป็นผู้เชี่ยวชาญ
เฉพาะทาง หากจะมีส่วนร่วมบางก็เป็นเพียงแค่วิธีการที่ถูกใช้ กล่าวคือ มีส่วนร่วม
ภายใต้กรอบบางประการ หรือการมีส่วนร่วมแบบปลอมๆ (pseudo participation)
หรือแนวรับ (passive participation) หรือการมีส่วนร่วมในฐานะเป็นเครื่องมือ
(instrumental activity/value) แต่อย่างไรก็ดี เราก็สามารถเข้าใจได้ หากมองถึง
บทความที่ผานการพิจารณา