Page 179 - kpi20756
P. 179

การประชุมวิชาการ
                                                                                        สถาบันพระปกเกล้า ครั้งที่ 21   17
                                                                                        ลดช่องว่างความเหลื่อมล้ำ สร้างคุณภาพประชาธิปไตย


                      อำนาจหรือกระทั่งยอมเปลี่ยนผ่านไปสู่ประชาธิปไตย เพื่อหลีกเลี่ยงสถานการณ์ความรุนแรง
                      ในลักษณะของการปฏิวัติ และภายใต้สถานการณ์ดังกล่าวรัฐบาลแบบประชาธิปไตยมักจะต้อง

                      ดำเนินนโยบายกระจายทรัพยากรเพื่อลดความเหลื่อมล้ำ (Acemoglu and Robinson, 2002)
                      ดังที่จะชี้ให้เห็นในส่วนถัดมา งานที่เชื่อมโยงการศึกษากระบวนการประชาธิปไตย และ
                      ความเหลื่อมล้ำในยุคถัดมา ได้รับอิทธิพลจากงานของคุซเนตส์ ไม่มากก็น้อย


                            ในการทบทวนงานชิ้นสำคัญที่เชื่อมโยงสองสิ่งนี้เข้าด้วยกัน ผู้เขียนจะมุ่งเน้นไปที่งานสำคัญ

                      2 กลุ่มด้วยกัน ได้แก่ กลุ่มงานที่อาจเรียกรวมได้ว่าเป็นงานที่สำรวจปัจจัยเชิงเศรษฐกิจที่ส่งผลต่อ
                      การเปลี่ยนแปลงของระบอบการเมือง อันได้แก่ งานของคาร์เลส บอร์ส (Carles Boix) งานของ
                      ดารอน อเซโมกลู และเจมส์ โรบินสัน และงานกลุ่มที่สองที่ให้ความสำคัญกับ ปัจจัยทางการเมือง

                      ที่ส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงของระบอบ โดยงานกลุ่มนี้ตั้งคำถามกับความเชื่อมโยงระหว่าง
                      ความเหลื่อมล้ำ ซึ่งมองว่าเป็นปัจจัยทางเศรษฐกิจ กับกระบวนการประชาธิปไตย พร้อมทั้ง

                      ชี้ให้เห็นถึงปัจจัยทางการเมืองอื่นๆที่ส่งผลต่อกระบวนการประชาธิปไตยมากกว่าความเหลื่อมล้ำ
                      งานสำคัญในกลุ่มนี้ได้แก่งานของสเตฟาน แฮกการ์ด (Stephan Haggard) และรอเบิร์ต คอฟมัน
                      (Robert Kaufman)


                            สำหรับงานในกลุ่มแรก งานบุกเบิกชิ้นสำคัญที่มุ่งศึกษาความเชื่อมโยงระหว่างความ

                      เหลื่อมล้ำ และกระบวนการประชาธิปไตยคืองานของคาร์เลส บอร์ซ ในหนังสือเรื่อง
                      “ประชาธิปไตยและการกระจายทรัพยากร” (Democracy and Redistribution) ในงานดังกล่าว
                      บอร์ซได้นำเสนอความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยทั้งสองในหลากหลายลักษณะ ในบริบทของประเทศ

                      เผด็จการอำนาจนิยมที่สังคมมีความเหลื่อมล้ำค่อนข้างสูง โอกาสที่จะเปลี่ยนเป็นประชาธิปไตยจะ
                      มีค่อนข้างน้อย สาเหตุที่เป็นเช่นนี้เนื่องจากชนชั้นนำจะไม่ปรารถนาที่จะผ่องถ่ายอำนาจไปสู่

                      มวลชนตามแนวทางของประชาธิปไตย เพราะการกระทำดังกล่าวจะส่งผลกระทบต่อผลประโยชน์
                      ทางเศรษฐกิจที่ตนถือครองอยู่ ที่จะถูกจัดสรรออกไปตามการเรียกร้องของมวลชนภายหลัง
                      การเปลี่ยนแปลงไปสู่ประชาธิปไตย ดังนั้นหากมีกระแสการเรียกร้องของมวลชนให้กระจาย

                      ทรัพยากร และเปลี่ยนเป็นประชาธิปไตย รัฐบาลเผด็จการมักจะตอบโต้ด้วยการปราบปรามและ
                      กดทับอย่างเต็มที่เพื่อรักษาผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจของตนไว้ (Boix, 2003)


                            นอกจากปัจจัยเรื่องความเหลื่อมล้ำแล้ว อีกหนึ่งตัวแปรสำคัญที่บอร์ซชี้ให้เห็นคือประเด็น
                      เรื่องธรรมชาติของสินทรัพย์หรือความมั่งคั่งที่ชนชั้นนำครอบครองอยู่ ที่ส่งผลต่อการคิดคำนวณ

                      เชิงยุทธศาสตร์ของตัวแสดง โดยเฉพาะชนชั้นนำอีกด้วย หากสินทรัพย์ที่ชนชั้นนำครอบครอง
                      มีความคล่องตัวในการเคลื่อนย้าย (asset mobility) สูง ดังเช่น เงิน พันธบัตร ตราสารหุ้น

                      โอกาสที่ชนชั้นนำจะยอมประนีประนอมกระจายอำนาจไปสู่มวลชนตามแนวทางของระบอบ
                      ประชาธิปไตยจะมีสูง เนื่องจากชนชั้นนำจะมองว่าภายหลังการเปลี่ยนผ่านโอกาสที่ความมั่งคั่งของ
                      ตนจะได้รับผลกระทบจากนโยบายการกระจายทรัพยากรจะมีน้อย เพราะสามารถถ่ายโอน

                      ความมั่งคั่งไปยังต่างประเทศได้ ในทางกลับกันหากสินทรัพย์ที่ชนชั้นนำครอบครองมีความ
                      คล่องตัวในการเคลื่อนย้ายต่ำ โดยเฉพาะอย่างยิ่งสินทรัพย์ในรูปของที่ดิน โอกาสที่ชนชั้นนำ              เอกสารประกอบการสัมมนากลุ่มย่อยที่ 3

                      จะยอมประนีประนอมต่อข้อเรียกร้องของมวลชนให้เปลี่ยนผ่านเป็นประชาธิปไตย จะยิ่งมีน้อย
   174   175   176   177   178   179   180   181   182   183   184