Page 48 - kpi21595
P. 48

1.  Political socialization and recruitment การกล่อมเกลาทางการเมืองและการ

                                 เลือกสรรทางการเมือง
                              2.  Interest articulation การเรียกร้องผลประโยชน์

                              3.  Interest Aggregation การรวบรวมจัดระบบผลประโยชน์

                              4.  Political communication การสื่อสารทางการเมือง
                              โดยผลที่ออกมา (out put) นั้น หากมองตามหน้าที่ อาจแบ่งออกได้เป็น 3 ด้าน ประกอบด้วย

                              1.  Rule-making การสร้างกฎระเบียบ
                              2.  Rule-application การนำกฎระเบียบไปใช้

                              3.  Rule-adjudication การตีความ/ตัดสินในกรณีต่างๆ


                       การขยายคำอธิบายเกี่ยวกับทฤษฎีระบบการเมืองมาสู่หน้าที่ของระบบการเมืองของ Gabriel
               Almond ผู้วิจัยมองว่ามีความน่าสนใจในเรื่องของปัจจัยนำเข้าทางการเมืองที่ครอบคลุมทั้งเรื่องของวิถีชีวิต

               วัฒนธรรมในส่วนของการขัดเกลาทางการเมือง (political socialization) ซึ่งเปิดโอกาสให้กับพื้นที่ของการ

               ปรับปรุงคุณภาพพลเมืองโดยตัวแสดงทางการเมืองต่างๆได้ แม้ว่าในที่นี้ สถาบันพระปกเกล้า โดยสำนักส่งเสริม
               การเมืองภาคพลเมืองคือตัวแสดงสำคัญที่เข้ามาช่วยดำเนินการสร้างความเป็นพลเมืองผ่านการสร้างวัฒนธรรม

               ทางการเมืองแบบประชาธิปไตยให้แก่พลเมือง ผ่านการเสริมความรู้ความเข้าใจความสำคัญของพลเมืองใน

               ระบอบประชาธิปไตย อย่างไรก็ตาม ในทางปฏิบัติยังมีสถาบันทางสังคม-การเมืองอีกมากมายที่มีส่วนสำคัญใน
               การสร้างและขัดเกลาความคิดเรื่องการมีส่วนร่วมทางการเมือง อาทิ ครอบครัว วัด โรงเรียน การเมืองท้องที่

               ท้องถิ่น หน่วยงานราชการระดับท้องถิ่น รวมไปถึงโครงสร้างข้อกฎหมายต่างๆที่โอบล้อมความคิดทางการเมือง

               ของผู้คนให้มีแนวโน้มเป็นพลเมืองที่ตระหนักรู้และกระตือรือร้นหรือไม่เพียงใดและนั่นจะกลายเป็น วัฒนธรรม
               ทางการเมือง (political culture) ที่อาจส่งผลต่อการเกิดสำนึกหรือไม่เกิดสำนึกความเป็นพลเมืองในเวลา

               ต่อมา
                       นอกจากมิติของปัจจัยนำเข้าด้านกระบวนการขัดเกลาทางการเมืองแล้ว ยังมีปัจจัยนำเข้ามิติอื่นๆอีก

               เช่นการเรียกร้องผลประโยชน์ การรวบรวมผลประโยชน์ และการสื่อสารทางการเมือง ที่สามารถนำมาอธิบาย

               ความตระหนักรู้และการมีพฤติกรรมบางอย่างของพลเมืองได้อยู่ไม่น้อย เพราะสำหรับงานวิจัยชิ้นนี้มองว่า
               ระบบการสร้างการเรียนรู้ทางการเมืองนั้นเป็นระบบเปิด ที่ต้องสัมพันธ์กับสภาพแวดล้อมทางสังคมการเมือง

               อย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ดังนั้น งานวิจัยชิ้นนี้จึงได้พัฒนากรอบการวิเคราะห์ขึ้นตามแนวทางของทฤษฎีระบบ
               หน้าที่การเมืองเพื่อระบุให้เห็นว่าปัจจัยนำเข้า (input) ในการสร้างความเป็นพลเมืองคือเรื่องใด ปัจจัยนำเข้า

               ต้องผ่านกระบวนการใด (process) และสภาพแวดล้อมแบบใดบ้าง ก่อนจะนำไปสู่ผลลัพธ์ในการสร้างพลเมือง

               และเพื่อให้กรอบการวิเคราะห์ภายใต้ทฤษฎีระบบและหน้าที่ทางการเมืองมีความชัดเจนและสามารถนำมาใช้
               วิเคราะห์และตอบคำถามวิจัยหลักของรายงานฉบับนี้ได้ ผู้วิจัยจึงได้กำหนดตัวแปรที่ต้องการศึกษาในแต่ละ

               ส่วนของปัจจัยนำเข้า (inputs) กระบวนการ (process) สิ่งแวดล้อม (environment) และผลลัพธ์ (outputs)

               สำหรับรายงานฉบับนี้ไว้โดยเฉพาะดังนี้



                                                                                                       37
   43   44   45   46   47   48   49   50   51   52   53