Page 49 - kpi21595
P. 49

ด้านปัจจัยนำเข้า (inputs) ในที่นี้ ก็คือ องค์ความรู้ แกนนำพลเมือง และกระบวนการสร้างความเป็น

               พลเมืองที่สถาบันพระปกเกล้า โดยสำนักส่งเสริมการเมืองภาคพลเมืองดำเนินการให้แก่ประชาชนในอำเภอนำ
               ร่องจังหวัดร้อยเอ็ด ในที่นี้คือ การจัดสัมมนาให้แก่แกนนำพลเมืองทั้ง 3 กลุ่มตามความต้องการของพวกเขา

               เพื่อเสริมและเติมในสิ่งที่พวกเขาคิดว่าตนเองยังขาดอยู่ อาทิ การแก้ไขปัญหาและการสร้างความสามัคคีใน

               ชุมชน ตลอดจนเพื่อเสริมในสิ่งที่ผู้จัดมองว่าเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับพลเมืองในระบอบประชาธิปไตย ซึ่งก็คือ
               ความรู้เรื่องประชาธิปไตย ความสำคัญของพลเมืองและการมีส่วนร่วมทางการเมืองในรูปแบบต่างๆให้แก่คนใน

               ชุมชน โดยโครงการที่สำนักส่งเสริมการเมืองภาคพลเมือง สถาบันพระปกเกล้าดำเนินการนั้น ประกอบด้วย
               โครงการโรงเรียนพลเมือง โครงการเยาวชนไทยหัวใจพลเมือง โครงการสร้างสำนึกพลเมือง โครงการชุมชนไร้

               ถัง โครงการซื่อตรง และโครงการพัฒนาศักยภาพผู้นำ

                       เมื่อมอบความรู้และทักษะในฐานะปัจจัยนำเข้า (input) สำคัญให้แก่แกนนำพลเมืองในพื้นที่แล้ว ใน
               ส่วนของกระบวนการ (process) สร้างความเป็นพลเมือง สำนักส่งเสริมการเมืองภาคพลเมืองจะเน้นที่การ

               พยายามผลักดันให้แกนนำเป็นคนที่ดำเนินการแก้ไขปัญหาเป็นหลัก ในแง่นี้แกนนำพลเมืองจึงนับเป็นปัจจัย
               นำเข้าอีกส่วนหนึ่งในระยะที่ 2 ของการสร้างสำนึกพลเมือง เนื่องจากแกนนำพลเมืองจะต้องทำหน้าที่ในการ

               ขยายผลการสร้างความเป็นพลเมืองสู่คนในชุมชนด้วยตนเอง ในการนี้สถาบันพระปกเกล้าจะทำหน้าที่เป็น

               เพียงพี่เลี้ยง ผ่านการสนับสนุนองค์ความรู้และงบประมาณบางส่วนให้แกนนำเหล่านี้ได้พบปะพูดคุย
               แลกเปลี่ยนกันเพื่อเลือกเฟ้นกิจกรรมหรือโครงการบางอย่างที่พวกเขาคิดว่าอยากดำเนินการเพื่อสร้างความ

               เป็นพลเมืองให้แก่คนในพื้นที่ ในรูปแบบและประเด็นที่พวกเขาต้องการอย่างแท้จริง

                       การที่สำนักส่งเสริมการเมืองภาคพลเมือง สถาบันพระปกเกล้า พยายามผลักดันกระบวนการสร้าง
               ความรู้และส่งเสริมกิจกรรมเพื่อสร้างความเป็นพลเมืองไปพร้อมกันโดยพยายามผลักดันให้คนในพื้นที่

               ดำเนินการด้วยตนเองนั้น เป็นไปตามกรอบทฤษฎีเรื่องการสร้างความเป็นพลเมืองที่มีงานหลายชิ้นพยายาม
               ชี้ให้เห็นว่าการสร้างความเป็นพลเมืองนั้น ต้องสร้างความตระหนักรู้ให้เกิดขึ้นให้ได้เสียก่อน  โดยพยายาม

               ผลักดันให้เขาเล็งเห็นความสำคัญของพลเมืองเพื่อสร้างให้พวกเขา “ขยายผล” การสร้างความเป็นพลเมืองด้วย

               ตนเอง ซึ่งจะทำให้สำนึกพลเมืองประสบความสำเร็จและยั่งยืนกว่า
                       อย่างไรก็ตาม การประเมินผลลัพธ์ความเป็นพลเมืองที่เกิดขึ้นนั้น ต้องไม่ลืมปัจจัยด้านสภาพแวดล้อม

               ที่อาจส่งผลต่อการสร้างความเป็นพลเมืองได้ ในที่นี้ผู้เขียนแบ่งปัจจัย ด้านสภาพแวดล้อมออกเป็น 3 มิติ ใหญ่ๆ
               ก็คือ ปัจจัยด้านการเมือง ในที่นี้คือ เรื่องโครงสร้างในการปกครองระดับท้องถิ่นท้องที่ และกรอบกติการะเบียบ

               ในการเข้าไปมีส่วนร่วมทางการเมืองในระบอบท้องถิ่นท้องที่ ปัจจัยด้านเศรษฐกิจในที่นี้คือลักษณะของการ

               ประกอบอาชีพและแหล่งรายได้ของคนในชุมชนมีเพียงพอที่จะทำรายได้ให้พอกินพออยู่ ไม่เป็นหนี้สินหรือไม่
               เพราะหากมีระบบเศรษฐกิจดีก็น่าจะส่งผลให้พวกเขาตระหนักต่อส่วนรวมมากขึ้นไม่เพียงแต่คิดถึงเรื่องปาก

               ท้องของตนเองเท่านั้น มิติสุดท้ายคือมิติด้านสังคม ในที่นี้ คือเรื่องระบบวัฒนธรรม การศึกษา ที่จะส่งผลต่อ

               ความเชื่อในเรื่องต่างๆของคนคนหนึ่งที่อาจกระทบต่อสำนึกพลเมืองของคนนั้นได้
                       ในที่นี้จะเห็นได้ว่าปัจจัยด้านนี้ มีความเชื่อมโยงกับปัจจัยนำเข้าในเรื่องของการขัดเกลาทางการเมือง

               (political socialization) ที่กล่าวไปแล้วข้างต้น สำหรับค่านิยมในฐานะสภาพแวดล้อมที่อาจมีผลต่อการสร้าง


                                                                                                       38
   44   45   46   47   48   49   50   51   52   53   54