Page 50 - kpi21595
P. 50

ความเป็นพลเมือง มีอาทิ ค่านิยมเรื่องผู้หญิงมีหน้าที่ทำงานบ้าน ผู้ชายจะมีการเมืองมากกว่า ความเชื่อว่า

               ชาวบ้านมีความรู้การศึกษาน้อยจึงไม่ค่อยกล้าแสดงออก ไม่อยากมีส่วนร่วม ความเชื่อว่าที่คนที่เป็นเกษตรกร
               ไม่ได้ทำงานราชการจะรู้สึกว่าตัวเองด้อยกว่าข้าราชการจึงไม่ค่อยกล้าแสดงออกมานัก เป็นต้น จากข้างต้น

               ปัจจัยด้านสังคมวัฒนธรรมจึงมีส่วนเกี่ยวข้องกับการสร้างแรงจูงใจทางการเมือง (political motivation) อยู่ไม่

               น้อย ดังนั้น คำอธิบายที่ผู้เขียนได้กล่าวไปถึงแรงจูงใจทางการเมืองนั้น หากนำมาอธิบายร่วมกันกับทฤษฎี
               ระบบการเมืองที่ถูกปรับมาเพื่อใช้อธิบายระบบการสร้างความเป็นพลเมืองในฐานะสภาพแวดล้อมนั้นก็อาจจะ

               ช่วยเพิ่มความเข้าใจเงื่อนไขที่ส่งเสริมหรือขัดขวางความเป็นพลเมืองได้มากยิ่งขึ้น เช่น การเข้าไปมีส่วนร่วม
               ทางการเมืองนั้นอาจเป็นความชอบส่วนตัวหรือผู้นั้นมีประวัติครอบครัวเป็นผู้นำมาโดยตลอดจึงเกิดแรงบันดาล

               ใจหรือผู้นั้นต้องการมีตัวตนในสังคม ต้องการได้รับการยอมรับ หรือเป็นเพราะผู้นั้นเห็นแก่ประโยชน์ของ

               ส่วนรวมเป็นหลักเห็นสังคมเดือดร้อนไม่ได้ต้องช่วยเหลือ เป็นต้น
                       สำหรับผลลัพธ์ (output) ที่สำนักส่งเสริมการเมืองภาคพลเมืองคาดว่าจะได้จากการดำเนินโครงการนี้

               ก็คือ การสร้างพลเมืองที่ตระหนักรู้และพลเมืองที่กระตือรือร้นให้เกิดขึ้น โดยเรื่องของพลเมืองที่ตระหนักรู้นั้น
               ได้กล่าวถึงไปแล้วข้างต้นว่าหมายถึงผู้ที่มีความสนใจทางการเมืองมากขึ้น มีความรู้เกี่ยวกับการปกครองใน

               ระบอบประชาธิปไตย ตระหนักในศักยภาพของตนเอง และตระหนักในความสำคัญของการปกครองในระบอบ

               ประชาธิปไตย ส่วนพลเมืองที่กระตือรือร้นนั้นในที่นี้แบ่งเป็นสองแบบคือแสดงออกทางสังคม เช่นเข้าร่วมกลุ่ม
               ทางสังคมและให้ความร่วมมือกับกิจกรรมพัฒนาชุมชนต่างๆ และการแสดงออกทางการเมืองเช่นการไป

               เลือกตั้ง การรณรงค์ทางการเมือง และการร้องเรียนเมื่อพบความไม่ปกติต่างๆ เป็นต้น อย่างไรก็ตาม เพื่อให้

               สามารถวัดผลเชิงประจักษ์ได้ ในที่นี้ผู้เขียนได้กำหนดตัวชี้วัดความสำเร็จของการเป็นพลเมืองตระหนักรู้และ
               พลเมืองกระตือรือร้นไว้ 5 ด้านด้วยกันคือ  1) rule making เช่น แผนชุมชน แผนตำบล ธรรมนูญหมู่บ้านและ

               กติกาชุมชน 2) rule applicationมีการประยุกต์ใช้ความรู้ที่ได้รับจากการอบรมเพื่อแก้ไขปัญหาและพัฒนา
               ชุมชน 3) projects/activities การจัดทำข้อเสนอนโยบายสาธารณะเสนอแก่หน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อแก้ไข

               ปัญหาต่อไปหรือรวมกันเพื่อแก้ไขปัญหาและพัฒนาชุมชนด้วยตนเองผ่านโครงการและกิจกรรมต่างๆ 4) ชุมชน

               สามัคคียิ่งขึ้น และ 5) ชุมชนมีความเข้มแข็งเป็นที่ประจักษ์แก่หน่วยงานอื่นๆนอกชุมชน
                       จากคำอธิบายข้างต้น เป็นความพยายามของผู้เขียนในการพยายามพัฒนากรอบการวิจัยสำหรับการ

               ประเมินความเป็นพลเมืองที่เกิดขึ้นภายหลังจากการดำเนินโครงการปฏิบัติการเสริมสร้างพลังพลเมือง โดย
               นำเอากรอบการอธิบายทฤษฎีระบบการเมืองและวัฒนธรรมทางการเมืองมาเป็นกรอบในการอธิบายหลัก

               เพื่อให้เห็นขั้นตอนในการสร้างความเป็นพลเมืองของสถาบันพระปกเกล้า ตั้งแต่ส่วนของปัจจัยนำเข้า

               กระบวนการสร้างพลเมือง สภาพแวดล้อมทางด้านสังคม เศรษฐกิจ การเมือง และผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นกับ
               ประชากร ได้ชัดเจนมากยิ่งขึ้นว่ามีความเป็นพลเมืองตระหนักรู้และกระตือรือร้นตามนิยามที่กำหนดไว้หรือไม่

               โดยผู้วิจัยเลือกที่จะนำเอากรอบการอธิบายเรื่องวัฒนธรรมการเมืองและแรงจูงใจทางการเมืองมาอธิบาย

               ร่วมกันในฐานสภาพแวดล้อมทางการเมืองอีกประการหนึ่งที่อาจส่งผลเป็นการสนับสนุนหรือขัดขวางต่อการ
               โดยกรอบการวิจัยที่ผู้วิจัยพัฒนาขึ้นมาสำหรับใช้ศึกษาในรายงานฉบับโดยเฉพาะนั้น เป็นไปตามแผนภาพ

               ด้านล่าง


                                                                                                       39
   45   46   47   48   49   50   51   52   53   54   55