Page 52 - kpi21595
P. 52

ข้างต้นคือกรอบการศึกษาที่ผู้วิจัยพัฒนาขึ้นมาเป็นการเฉพาะสำหรับประเมินความเป็นพลเมืองของ

               กลุ่มเป้าหมายในจังหวัดร้อยเอ็ดภายใต้การดำเนินโครงการปฏิบัติการเสริมสร้างพลังพลเมือง ของสถาบัน
               พระปกเกล้า โดยสำนักส่งเสริมการเมืองภาคพลเมือง ระหว่างปีงบประมาณ 2559-2561 เท่านั้น โดยปรับปรุง

               ขึ้นมาจากกรอบการอธิบายระบบการเมืองและวัฒนธรรมทางการเมืองทั้งในส่วนที่ David Easton เสนอไว้

               และในส่วนที่ Gabriel Almond ได้ปรับปรุงขึ้นในภายหลัง ดังนั้น เงื่อนไขปัจจัยที่ระบุไว้ในกรอบการวิจัยจึง
               เป็นเงื่อนไขปัจจัยเฉพาะโครงการ อันประกอบไปด้วย ในส่วนของปัจจัยนำเข้าแบ่งออกเป็น 2 ระยะ คือ

               ระยะแรกเน้นไปที่เนื้อหาความรู้และกระบวนการที่สำนักส่งเสริมการเมืองภาคพลเมือง สถาบันพระปกเกล้าได้
               ดำเนินการกับประชากรกลุ่มไข่แดงเพื่อสร้างแกนนำพลเมืองขึ้นมาเป็นหลัก ส่วนในระยะที่สองนั้น แกนนำ

               พลเมืองที่ได้รับการอบรมจากสถาบันพระปกเกล้าและกระบวนการที่แกนนำพลเมืองเลือกดำเนินการในพื้นที่

               ของตนนั้น จะถูกรวมเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของปัจจัยนำเข้าด้วย ส่วนของกระบวนการนั้น ระยะแรกจะเน้นไปที่
               กระบวนการและหลักการสร้างสำนึกพลเมืองของสำนักส่งเสริมการเมืองภาคพลเมืองของสถาบันพระปกเกล้า

               เป็นหลัก ส่วนระยะที่สองจะรวมกระบวนการที่แกนนำพลเมืองเลือกนำไปดำเนินการในพื้นที่ของตนเข้าไปด้วย
               ส่วนสภาพแวดล้อมนั้น จะประกอบไปด้วย สภาพแวดล้อมภายนอก และสภาพภายในจิตใจของบุคคลอัน

               เกี่ยวเนื่องจากสภาพแวดล้อมภายนอกที่มีส่วนขัดเกลาความคิดทางการเมืองและการแสดงออกพฤติกรรมของ

               ผู้คน  ส่วนสุดท้ายคือผลลัพธ์ที่คาดว่าจะได้รับจากการดำเนินโครงการโดยเป้าหมายสูงสุดก็คือการสร้าง
               พลเมืองตระหนักรู้และพลเมืองกระตือรือร้นตามนิยามพลเมืองที่ทางสำนักส่งเสริมการเมืองภาคพลเมืองได้

               พัฒนาขึ้น โดยตัวชี้วัดที่ผู้วิจัยเลือกมาเพื่อใช้ประกอบการอธิบายผลลัพธ์ของพลเมืองกระตือรือร้นในที่นี้

               ประกอบไปด้วย ตัวโคงการ/กิจกรรมที่แสดงออกซึ่งความเป็นพลเมืองอย่างเป็นรูปธรรมซึ่งอาจพบได้จาก
               แผนพัฒนาจังหวัด แผนพัฒอำเภอ และข้อบัญญัติเทศบาล/องค์การบริหารส่วนตำบล หรือธรรมนูญชุมชน

               เรื่องของการประยุกต์ใช้ความรู้ที่ได้เพื่อการแก้ไขปัญหาหรือพัฒนาชมุชน สร้างความสามัคคีและสร้างความ
               เข้มแข็งให้แก่ชุมชน เป็นต้น สำหรับกลุ่มตัวอย่างและวิธีการศึกษานั้น ผู้วิจัยจะกล่าวถึงต่อไปอย่างละเอียดใน

               บทถัดไป



















                                                                                                       41
   47   48   49   50   51   52   53   54   55   56   57