Page 38 - 22373_Fulltext
P. 38
พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 ในมาตรา 10 วรรคสองและสามที่ก้าหนดว่า การจัดการศึกษา
ส้าหรับบุคคลซึ่งมีความบกพร่องทางร่างกายและ (2) ความเสมอภาคทางการศึกษา ไม่ใช่การให้ทุกคนไปสู่
จุดมุ่งหมายเดียวกัน เพราะแต่ละคนมีความสามารถ มีศักยภาพ ตลอดจนพฤติกรรม หรือการกระท้าแตกต่าง
กัน ความแตกต่างระหว่างบุคคลเป็นสิ่งที่ช่วยส่งเสริมในการพัฒนาระบบต่าง ๆ ทุกระบบ ความเสมอภาคทาง
การศึกษาจึงไม่ใช่การที่รัฐหรือสถานศึกษาจัดการศึกษาให้กับทุกคน ทุกกลุ่มจนในที่สุดแล้วทุกคนไปถึงจุด
เดียวกัน เพราะไม่สามารถท้าได้ และอาจเกิดผลเสียมากกว่าผลดี ความเสมอภาคทางการศึกษาจึงเป็นการให้
สิทธิและโอกาสในการรับการศึกษาแก่กลุ่มคนในสังคม โดยไม่ขึ นกับความแตกต่างกันในเรื่องถิ่นก้าเนิด เชื อชาติ
ภาษา เพศ อายุ สถานภาพสถานะบุคคลทางเศรษฐกิจ หรือสังคม ความเชื่อทางศาสนา ฯลฯ การจัดการศึกษา
ต้องเปิดให้กับทุกกลุ่มในสังคมได้เข้าถึงการศึกษาอบรมได้อย่างทั่วถึง ความเสมอภาคไม่ได้หมายถึง การใช้วิธี
ปฏิบัติที่เหมือนกันกับทุก ๆ คน หรือการที่ท้าให้คนทุกคนไปสู่จุดมุ่งหมายเดียวกัน โดยอาศัยหลักการหนึ่งคือ
การพิจารณาว่า การปฏิบัตินั น ๆ ได้เปิดโอกาสให้ผลลัพธ์ที่แต่ละคนได้รับกับสิ่งที่แต่ละคนท้า เป็นเหตุเป็นผลกัน
หรือไม่ หากมีการเปิดโอกาสในด้านต่าง ๆ ทางการศึกษาอย่างทั่วถึงแก่บุคคลตั งแต่เริ่มต้นแล้ว การที่ทุกคนจะไป
ถึงจุดมุ่งหมาย หรือถึงความส้าเร็จทางการศึกษานั นย่อมขึ นอยู่กับผลการกระท้าของเขาเองด้วย
1.3.4 แนวคิดเกี่ยวกับการสร้างความเสมอภาคทางการศึกษากับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นนับเป็นองค์กรที่มีความส้าคัญต่อการสร้างความเสมอภาคทางการศึกษา
ให้กับประชาชนในพื นที่ของตนเอง เนื่องจากมีความเข้าใจพื นที่ เข้าใจประชาชนในพื นที่ สามารถเข้าถึงปัญหา
การวิจัยขับเคลื่อนองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นให้เป็นกลไกลดความเหลื่อมล ้าทางด้านการศึกษา
ได้อย่างรวดเร็ว มีทรัพยากรทั งงบประมาณ บุคคล และเครื่องมืออุปกรณ์ต่าง ๆ โดย
1) องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นกับการจัดการศึกษา หมวด 14 รัฐธรรมนูญฯ ได้ก้าหนดให้การ
จัดการปกครองส่วนท้องถิ่นมีการปกครองตนเองตามเจตนารมณ์ของประชาชนในท้องถิ่น (มาตรา 249) โดยมี
หน้าที่และอ้านาจในการให้บริการประชาชนและจัดกิจกรรมสาธารณะต่าง ๆ เพื่อประโยชน์ของประชาชนใน
ท้องถิ่นตามหลักการพัฒนาอย่างยั่งยืน รวมถึงการส่งเสริมและสนับสนุนการจัดการศึกษาให้แก่ประชาชน
ในท้องถิ่น อย่างอิสระ (มาตรา 250) โดยการจัดท้าบริการสาธารณะจะควบคู่กับการจัดกิจกรรมสาธารณะซึ่งเป็น
กิจกรรมอื่น ๆ ที่เป็นสาธารณะที่ไม่ใช่คิดถึงการหารายได้เพียงอย่างเดียว โดยเฉพาะการจัดการศึกษาแก่
ประชาชนในท้องถิ่น (ส้านักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร, 2561, น.444-449)
ทั งนี การจัดการศึกษาท้องถิ่น หมายถึง องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นท้าหน้าที่ในการจัดการศึกษา
ทั งการศึกษาในระบบและการจัดการศึกษาตามอัธยาศัยให้มีคุณภาพ ได้มาตรฐานอย่างทั่วถึงแก่ประชาชนในเขต
พื นที่ตามอ้านาจหน้าที่ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (วศิน โกมุท, มปป.)
ในปัจจุบันสามารถแบ่งการจัดการศึกษาขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นได้เป็น 2 ลักษณะ ได้แก่
(ส้านักงานคณะกรรมการการศึกษาขั นพื นฐาน อ้างถึงใน พงศ์พันธุ์ ค้าพรรณ, 2562, น. 310; วศิน โกมุ, มปป.)
(1) จัดตั งสถานศึกษาขึ นเองหรือขยายหรือเปลี่ยนแปลงประเภทการศึกษา จัดการศึกษา โดยให้สถานศึกษา
ที่จัดตั งขึ นใหม่ หรือสถานศึกษาเดิมที่ขยาย หรือเปลี่ยนแปลงประเภทการศึกษา จัดการศึกษาในระดับประเภท
ที่มีความพร้อม มีความเหมาะสม และสอดคล้องกับความต้องการของท้องถิ่น และ (2) ถ่ายโอนสถานศึกษาจาก
กระทรวงศึกษาธิการตามแผนปฏิบัติการก้าหนดขั นตอนการกระจายอ้านาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
พ.ศ. 2542
14 วิทยาลัยพัฒนาการปกครองท้องถิ่น สถาบันพระปกเกล้า