Page 39 - 22373_Fulltext
P. 39

2) องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นกับความเสมอภาคทางการศึกษา พิชิต ฤทธิ์จรูญ และคณะ (2554)

                ได้ท้าการประเมินการจัดการศึกษาขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น โดยเป็นการประเมินในสามมิติ ได้แก่ ความ
                เสมอภาคในการจัดการศึกษา คุณภาพการจัดการศึกษา และสภาพการเปลี่ยนแปลงของการจัดการศึกษาพบว่า

                ในส่วนของความเสมอภาคทางการศึกษา เป็นการประเมินใน 3 ด้าน ได้แก่ ด้านโอกาสทางการศึกษา ด้าน
                คุณภาพการจัดการศึกษา และด้านการจัดสรรทรัพยากร ซึ่งผลการประเมินดังกล่าวสะท้อนให้เห็นว่า ผู้บริหาร

                องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมีวิสัยทัศน์ และนโยบายในการสร้างความเสมอภาคในโอกาสทางการศึกษา
                เพิ่มโอกาสให้ผู้เรียนได้เรียนรู้กับครูที่มีคุณภาพ มีคุณวุฒิและความสามารถตรงกับสาระที่สอน โดยภาพรวม

                องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจัดการศึกษาให้มีความเสมอภาคระดับมากถึงมากที่สุด มีการจัดการศึกษานอกระบบ
                และการศึกษาตามอัธยาศัยส้าหรับเยาวชน และประชาชนทุกระดับ

                          ส่วนพงศ์พันธุ์ ค้าพรรณ์ (2562) ได้ศึกษาความเสมอภาคในการลงทุนทางการศึกษาขององค์กร

                ปกครองส่วนท้องถิ่น โดยในภาพรวมพบว่า องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นยังคงมีความเสมอภาค โดยเฉพาะการ

                จัดสรรงบประมาณหมวดเงินอุดหนุนทั่วไปของรัฐบาล ด้วยเป็นงบประมาณที่รัฐบาลจัดสรรภายใต้กฎ ระเบียบ
                ที่แน่นอน และยึดหลักความเสมอภาคโดยจัดสรรงบประมาณรายหัวนักเรียน อย่างไรก็ตามในส่วนของหมวดเงิน
                รายได้ มีความไม่เสมอภาคค่อนข้างสูง และเกิดความเหลื่อมล ้ากันระหว่างองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น สะท้อน

                ให้เห็นว่าท้องถิ่นใดให้ความส้าคัญกับการศึกษา การจัดสรรงบประมาณหมวดเงินรายได้ก็จะสูงกว่าท้องถิ่นที่
                ไม่ค่อยให้ความส้าคัญกับการศึกษา และอาจน้าไปสู่ปัญหาความเหลื่อมล ้า หรือความไม่เป็นธรรมด้านการศึกษา

                ได้ในอนาคต นอกจากนี งานวิจัยดังกล่าวยังพบว่า เทศบาลนครและองค์การบริหารส่วนจังหวัดซึ่งเป็นองค์กร
                ปกครองส่วนท้องถิ่นขนาดใหญ่ มีความเสมอภาคในการลงทุนด้านการศึกษาหมวดเงินรายได้ที่ค่อนข้างสูง

                สะท้อนให้เห็นว่าสภาพ และการเจริญเติบโตทางด้านเศรษฐกิจของแต่ละท้องถิ่นที่แตกต่างกัน ท้าให้ผู้วิจัยเสนอ
                ว่าภาครัฐควรสร้างระบบและกลไกการระดมทรัพยากรเพื่อการศึกษา โดยการเข้ามามีส่วนร่วมของประชาชนใน

                ท้องถิ่นผ่านภาษีท้องถิ่นเพื่อการศึกษา เพื่อให้สังคมหรือชุมชนในพื นที่ที่สถานศึกษาตั งอยู่ ร่วมกันเสียสละเพื่อ
                การศึกษาของลูกหลานในท้องถิ่นมากเป็นพิเศษ ซึ่งจะท้าให้เกิดความสัมพันธ์ และยึดโยงกันระหว่างโรงเรียน

                และชุมชนท้องถิ่นเพิ่มขึ น น้าไปสู่การจัดสรรงบประมาณเพื่อน้ามาลงทุนทางการศึกษาของแต่ละประเภทของ
                องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น

                          3) ความส้าคัญของการจัดการศึกษาโดยองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น  วุฒิสาร ตันไชย (2562)

                ได้กล่าวว่า องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมีความเหมาะสมในการเป็นผู้จัดการศึกษาของท้องถิ่น ด้วยเหตุผล 4            การวิจัยขับเคลื่อนองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นให้เป็นกลไกลดความเหลื่อมล ้าทางด้านการศึกษา

                ประการ ได้แก่ (1) องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมีต้นทุนทางสังคมที่ดีในการจัดการศึกษา เนื่องจากองค์กร
                ปกครองส่วนท้องถิ่นเป็นองค์กรที่มีการบริหารงานจากภาคประชาชนเจ้าของพื นที่ อีกทั งมีความรับผิดชอบต่อ
                ประชาชนในท้องถิ่น (2) องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมีอ้านาจหน้าที่ในการจัดบริการสาธารณะให้กับประชาชน

                ในพื นที่ การศึกษาเป็นหนึ่งในบริการสาธารณะที่สามารถจะท้าได้ ดังนั นองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจึงสามารถ
                ใช้ทรัพยากรที่มีอยู่ในการจัดการศึกษาเพื่อประชาชนในพื นที่  (3) ด้วยองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเป็นองค์กรที่มี

                ความใกล้ชิดกับพื นที่จึงมีความเข้าใจและทราบถึงความต้องการของประชาชนในพื นที่มากที่สุด สามารถจัด
                การศึกษาให้สามารถตอบสนองความต้องการอันหลากหลายแก่คนในพื นที่ และ (4) องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น

                สามารถเชื่อมโยงกิจกรรมทางการศึกษากับปัญหาอื่น ๆ ในชุมชนได้ อันจะน้ามาสู่การให้ผู้เรียนได้เรียนรู้การ




                                                               วิทยาลัยพัฒนาการปกครองท้องถิ่น สถาบันพระปกเกล้า   15
   34   35   36   37   38   39   40   41   42   43   44