Page 43 - 22373_Fulltext
P. 43
ส้าหรับโครงการปรับปรุงคุณภาพการศึกษาในไนจีเรีย (Heitmann, 2021) ซึ่งเกิดจากการที่ประเทศ
ไนจีเรียต้องการแก้ไขปัญหาระบบการศึกษาที่ด้อยคุณภาพมาตลอดในช่วงหลายทศวรรษ โดยมีเด็กนอกระบบ
โรงเรียนถึง 20% โดยเฉพาะเด็กผู้หญิงในไนจีเรียตอนเหนือ ครึ่งหนึ่งของเด็กผู้หญิงไม่สนใจเข้าเรียนในโรงเรียน
การศึกษาจึงมีความสัมพันธ์กับความยากจน โดยปัญหาดังกล่าวยิ่งรุนแรงมากขึ นภายหลังการเกิดปัญหาโควิด-
19 ท้าให้เกิดโครงการสนับสนุนทุนเพื่อปรับปรุงระบบการศึกษา โดยมีสาระส้าคัญคือ (1) สนับสนุนเด็กที่ได้รับ
ผลกระทบจากความขัดแย้ง โดยการสร้างสถานที่ส้าหรับการเรียนรู้และซ่อมแซมโรงเรียน รวมถึงการให้ความ
สนใจกับประเด็นเรื่องเพศ (gender-responsive) ทั งในเรื่องของสิ่งอ้านวยความสะดวกด้านอนามัยและส่งเสริม
การลงทะเบียนที่ให้ความส้าคัญกับเพศ (2) ปรับปรุงบทบาทของรัฐด้านการศึกษาโดยเฉพาะอย่างยิ่งในกรณี
ฉุกเฉิน รวมถึงการจัดท้างบประมาณ การวางแผน การน้าแผนไปสู่การปฏิบัติ การติดตามและการรายงาน
(3) การปรับปรุงการเตรียมความพร้อมครู จัดตั งระบบการรับสมัครครู ฝึกอบรมครูอย่างต่อเนื่อง การพัฒนา
ระบบการประเมินทางการศึกษาเพื่อช่วยในการติดตามความก้าวหน้าในโรงเรียน (4) การปรับปรุงความสามารถ
ของโรงเรียนในการสนับสนุนทางการศึกษาแก่เด็กที่ได้รับผลกระทบจากความขัดแย้ง เป็นการปรับปรุงที่
เกี่ยวข้องกับการสร้างและการพัฒนาสมรรถนะโดยใช้คณะกรรมการในการจัดการบนฐานโรงเรียน โดยเน้นความ
เท่าเทียมทางเพศและความรุนแรงทางเพศและสนับสนุนการรวมตัวกันของเด็กนักเรียนที่พิการ โดยการวางแผน
เน้นให้ความส้าคัญกับความอ่อนไหวต่อความขัดแย้งเพื่อรองรับเด็กในกลุ่มดังกล่าว
ส่วนแผนการมีส่วนร่วมของผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย (Stakeholder Engagement Plan: SEP) ของลาว
ซึ่งสนับสนุนโดย Global Partnership for Education (GPE) เป็นโครงการที่มีวัตถุประสงค์หลักเพื่อปรับปรุง
ผลลัพธ์การเรียนรู้ (learning outcomes) ในระดับอนุบาลและระดับประถมศึกษาและเสริมสร้างความเข้มแข็ง
ให้กับครูในทางปฏิบัติและความเท่าเทียมทางการศึกษา โดยผลผลิตที่คาดหวังและเป็นตัวชี วัดในการด้าเนิน
โครงการ ได้แก่ (1) การเพิ่มขึ นของเด็กนักเรียนในระดับเกรด 4 ซึ่งสามารถอ่านได้ โดยแยกตามเพศและกลุ่ม
ชาติพันธุ์ (การเรียนรู้และความเท่าเทียม) (2) ลดอัตราการออกกลางคันในระดับประถมศึกษาของเด็กในกลุ่ม
ชาติพันธุ์ต่าง ๆ (ประสิทธิภาพและความเท่าเทียม) (3) ปรับปรุงการสอนที่วัดจากการสอน การเน้นไปที่ช่องว่าง
ระหว่างกลุ่มและเขตพื นที่ (การเรียนรู้และความเท่าเทียม) ปรับปรุงการบริหารจัดการโรงเรียนโดยใช้ตัวชี วัดการ
จัดการโรงเรียน (ความรับผิดชอบและประสิทธิภาพ) และ (4) จ้านวนผู้รับประโยชน์จากโครงการโดยตรง รวมถึง
ร้อยละของเด็กที่เป็นเพศหญิงและกลุ่มชาติพันธุ์ (ความเท่าเทียม) ดังนั นโครงการนี จึงค่อนข้างให้ความส้าคัญ
กับความเสมอภาคทางการศึกษาในประเด็นที่เกี่ยวข้องกับเพศและกลุ่มชาติพันธุ์ การวิจัยขับเคลื่อนองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นให้เป็นกลไกลดความเหลื่อมล ้าทางด้านการศึกษา
กล่าวโดยสรุป จากการศึกษาดังกล่าวสะท้อนให้เห็นว่า โครงการที่เกี่ยวข้องกับความเสมอภาคทาง
การศึกษาในต่างประเทศมักเกี่ยวข้องกับ (1) การศึกษาของเด็กที่อยู่นอกระบบการศึกษา โดยมีความพยายาม
ที่จะให้เด็กเข้าสู่ระบบการศึกษาที่มีอยู่ ด้วยการเพิ่มจ้านวนห้องเรียน การลงทะเบียน นอกจากนี ยังให้
ความส้าคัญกับการศึกษานอกระบบโรงเรียน (2) การสร้างการมีส่วนร่วมจากทุกภาคส่วน อาทิ จากหน่วยงาน
ของรัฐและชุมชนท้องถิ่นเพื่อให้เป็นผู้น้าในการขับเคลื่อน ให้ผู้ปกครองและชุมชนมีส่วนร่วมในการพัฒนาและ
ให้บริการด้านการศึกษา (3) การพัฒนาระบบสาธารณูปโภคสาธารณูปการทางการศึกษาที่ไม่ได้พิจารณาเฉพาะ
การสร้างโรงเรียนและห้องเรียนใหม่ในโรงเรียนที่มีอยู่เท่านั น แต่ยังรวมไปถึงการน้าเสนอการสอนที่มีคุณภาพ
และการปรับปรุงสภาพแวดล้อมทางการเรียนรู้ที่ดีขึ นเพื่อจูงใจนักเรียน (4) การสร้างความเท่าเทียมทางการศึกษา
วิทยาลัยพัฒนาการปกครองท้องถิ่น สถาบันพระปกเกล้า 19