Page 44 - 22373_Fulltext
P. 44
แก่เด็กด้อยโอกาส อาทิ เด็กผู้ย้ายถิ่นทั งในฐานะผู้อพยพและผู้ติดตามบิดามารดาที่เป็นแรงงานข้ามชาติ เด็กใน
กลุ่มชาติพันธุ์ เด็กที่ได้รับผลกระทบจากปัญหาความขัดแย้ง เด็กพิการ (5) เน้นความสนใจและความต้องการด้าน
การศึกษาของเด็ก (6) ให้ความส้าคัญกับครูด้วยการฝึกอบรมครูทั งก่อนและระหว่างการสอนเพื่อพัฒนาคุณภาพ
การสอนและการจัดการชั นเรียน การฝึกอบรมอย่างต่อเนื่อง การสนับสนุนเงินช่วยเหลือ การจัดหาวัสดุอุปกรณ์
ส้าหรับการเรียนการสอน (7) ให้ความส้าคัญกับการบริหารจัดการโรงเรียน (8) การให้ความสนใจกับประเด็น
เรื่องเพศทั งในด้านการเข้าถึงการศึกษาและสิ่งอ้านวยความสะดวกด้านอนามัย (8) ปรับปรุงการบริการด้าน
การศึกษาของภาครัฐโดยเฉพาะอย่างยิ่งในภาวะฉุกเฉิน การจัดท้างบประมาณ การวางแผน การน้าแผน
ไปปฏิบัติ การติดตามและการรายงาน
1.4 กรอบแนวคิด
จากการทบทวนวรรณกรรมในหัวข้อ 1.3 ผู้วิจัยสามารถสรุปเป็นกรอบแนวคิดในการศึกษาได้ดัง
รายละเอียดต่อไปนี
1.4.1 เด็กและเยาวชนในความหมายของการศึกษาครั งนี เป็นเด็กและเยาวชนตามความหมายที่
ปรากฏในรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2560 มาตรา 54 ที่ก้าหนดให้รัฐต้องด้าเนินการให้เด็กทุกคนได้รับการศึกษาเป็น
เวลา 12 ปี ตั งแต่ก่อนวัยเรียนจนจบการศึกษาภาคบังคับอย่างมีคุณภาพโดยไม่เก็บค่าใช้จ่าย รวมถึงนโยบาย
ของรัฐบาลได้ประกาศนโยบายเรียนฟรี 15 ปีอย่างมีคุณภาพตั งแต่ระดับอนุบาลจนจบการศึกษาขั นพื นฐาน
การวิจัยขับเคลื่อนองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นให้เป็นกลไกลดความเหลื่อมล ้าทางด้านการศึกษา
ดังนั นเด็กและเยาวชนในการศึกษาครั งนี จึงได้แก่ เด็กทุกคนในพื นที่ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่ควรได้รับ
การศึกษาตั งแต่ระดับอนุบาลจนถึงมัธยมศึกษาตอนปลายหรือประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) ได้แก่ (1) เด็ก
ปฐมวัย อายุ 2-5 ปี (2) เด็กอายุ 6-15 ปี (3) เยาวชนอายุ 16-18 ปี (4) เด็กพิเศษ ซึ่งหมายถึง เด็กที่
จ้าเป็นต้องได้รับการดูแลช่วยเหลือเป็นพิเศษเพิ่มเติมจากวิธีการตามปกติ ทั งในด้านการใช้ชีวิตประจ้าวัน การ
เรียนรู้ และการเข้าสังคม อาทิ เด็กที่บกพร่องทางการเห็น เด็กที่บกพร่องทางการได้ยิน เด็กที่บกพร่องทาง
สติปัญญา เด็กที่บกพร่องทางร่างกาย หรือการเคลื่อนไหว หรือสุขภาพ เด็กที่มีปัญหาทางการเรียนรู้ เด็กที่
บกพร่องทางการพูดและภาษา เด็กที่มีปัญหาทางพฤติกรรมหรืออารมณ์ เด็กออทิสติกหรือเด็กพิการซ้อน
นอกจากนี ยังหมายความรวมถึง เด็กที่มีระดับสติปัญญาสูง เด็กที่มีความสามารถพิเศษเฉพาะด้านโดดเด่น และ
เด็กที่มีความคิดสร้างสรรค์
1.4.2 ความเสมอภาคในการศึกษาครั งนี เป็นการศึกษาความเสมอภาคในความหมายของพระราช
บัญญัติกองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา พ.ศ. 2561 มาตรา 3 ที่ได้ให้ความหมายของความเสมอภาค
ทางการศึกษาว่าหมายถึง การที่ประชาชนมีสิทธิที่จะได้รับและเข้าถึงการศึกษาและพัฒนาอย่างเสมอภาค และ
ทั่วถึง โดยให้ความช่วยเหลือผู้ขาดแคลนทุนทรัพย์ ลดความเหลื่อมล ้าในการศึกษา รวมทั งเสริมสร้างและพัฒนา
คุณภาพและประสิทธิภาพครู โดยค้าว่าความเหลื่อมล ้าทางการศึกษา หมายถึง ความไม่เท่าเทียมกันทาง
การศึกษาอันเนื่องมาจากคุณภาพหรือมาตรฐานของสถานศึกษา คุณภาพหรือประสิทธิภาพครู หรือฐานะทาง
เศรษฐกิจ หรือสังคม ดังนั นความเสมอภาคในการศึกษาครั งนี เป็นการศึกษาความเสมอภาคใน 2 มิติ ได้แก่
(1) ความเสมอภาคด้านโอกาสในการเข้าถึงการศึกษาของเด็กและเยาวชนแต่ละกลุ่ม และ (2) ความเสมอภาค
ด้านคุณภาพทางการศึกษาในแต่ละพื นที่ โดยแบ่งเป็น
20 วิทยาลัยพัฒนาการปกครองท้องถิ่น สถาบันพระปกเกล้า