Page 22 - 22432_fulltext
P. 22
21
64
ได้รับอิทธิพลจากนโยบายภาษีและการจัดซื้อจัดจ้างของรัฐบาล เงินอุดหนุน และอุปสรรคทางภาษีมากกว่า
นอกจากนี้ ระบบการแข่งขันที่มีการผ่อนปรนสามารถเป็นดาบสองคมได้ เนื่องจากแม้ว่านักลงทุนจะสามารถ
กระท าการต่อต้านการแข่งขันทางการค้าได้ นักลงทุนเหล่านี้จะไม่ได้รับการปกป้องเมื่อตกเป็นผู้ถูกกระท าหรือ
65
ได้รับผลร้ายจากการกระท าของผู้ประกอบธุรกิจอื่นเช่นเดียวกัน
1.3.1 ข้อจ ากัดของลัทธิสิทธิสภาพนอกอาณาเขต (Limits of Extraterritorialism)
โดยทั่วไปแล้วกฎหมายและนโยบายการแข่งขันทางการค้ามักจะถูกผลักดันจากความกังวล
ภายในประเทศ ดังนั้น วัตถุประสงค์หลักของระบบการแข่งขันส่วนใหญ่คือการเพิ่มสวัสดิการภายในประเทศ
66
แม้แต่ลัทธิสิทธิสภาพนอกอาณาเขตก็ยังคงให้ความส าคัญกับผลที่จะได้รับภายในประเทศนั้น ๆ เป็นหลัก ซึ่ง
หมายความว่า ปัญหาการขาดดุลของสวัสดิการในระดับโลกที่เป็นผลมาจากการกระท าต่อต้านการแข่งขัน
ระหว่างประเทศนั้นจะไม่ได้รับการแก้ไขอย่างสมบูรณ์แม้ว่าจะมีการใช้กฎหมายการแข่งขันทางการค้านอก
อาณาเขตก็ตาม
บนข้อสันนิษฐานว่ารัฐสามารถใช้กฎหมายของตนนอกอาณาเขตได้ ประเทศที่เป็นผู้น าเข้าสุทธิ (net-
import countries) มักมีแนวโน้มที่จะให้ความสนใจกับการก ากับดูแลผู้ผลิตในต่างประเทศที่สามารถสร้าง
ผลกระทบร้ายแรงต่อผู้บริโภคในประเทศ (ในรูปแบบของราคาสินค้าเหนือระดับที่เหมาะสมจะแข่งขันในตลาด
(supra-competitive price)) จากการกระท าต่าง ๆ ของพวกเขาได้ ดังนั้น ประเทศผู้น าเข้าสุทธิจึงมีแรงจูงใจ
ที่จะบังคับใช้กฎหมายการแข่งขันทางการค้าที่มีความเข้มงวด เนื่องจากการสูญเสียส่วนเกินของผู้บริโภค (loss
in consumer surplus) ซึ่งเป็นผลกระทบจากอ านาจตลาดที่เพิ่มมากขึ้น ประกอบกับกฎหมายการแข่งขัน
ทางการค้าที่อ่อนแอนั้นไม่สามารถชดเชยได้ด้วยส่วนเกินของผู้ผลิตที่เพิ่มขึ้น ในทางกลับกัน ประเทศผู้ส่งออก
สุทธิ (net-export countries) มักจะไม่กังวลเกี่ยวกับส่วนเกินของผู้บริโภค และโดยส่วนมากมีแนวโน้มที่จะ
สนับสนุนกฎหมายการแข่งขันทางการค้าที่อ่อนแอ เนื่องจากส าหรับประเทศผู้ส่งออกสุทธินั้น การเพิ่มขึ้นของ
Federalism: Races Up, Down and Sideways’ (2000) 75 New York University Law Review, 1795–7, ซึ่งได้โต้เถียง
ว่า อาจมีเพียงไม่กี่กรณีเท่านั้นที่รัฐจะใช้กฎหมายการแข่งขันทางการค้าที่ไม่เข้มงวดในการดึงดูดการลงทุน.
64 ปัจจัยที่ก าหนดระดับและที่ตั้งของการลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศนั้นซับซ้อนเป็นอย่างมาก รายงานการศึกษาส่วนใหญ่
ชี้ให้เห็นถึงบทบาทของปัจจัยความพร้อมของการผลิต (factor endowments) ระดับทักษะของแรงงาน และขนาดของตลาด
ว่ามีความส าคัญ อย่างไรก็ตาม สิ่งที่อยู่นอกเหนือจากที่ได้กล่าวมา อย่างเช่นแรงจูงใจที่รัฐบาลมีให้และโครงสร้างทางกฎหมาย
ก็มีบทบาทบางส่วนเช่นกัน แต่ก็ควรระวังไม่ให้กล่าวถึงบทบาทนี้อย่างเกินจริง.
65 Brendan Sweeney, “Combating Foreign Anti-Competitive Conduct: What Role for Extraterritorialism?”,
(2007) 8 Melbourne Journal of International Law 1.
66 เพิ่งอ้าง.