Page 27 - 22432_fulltext
P. 27

26


               เงื่อนไขข้อหนึ่งระบุไว้ว่า หากการกระท าในต่างประเทศเป็นความผิดเกี่ยวกับการปลอมแปลงสกุลเงินตามที่

                                                           75
               บัญญัติไว้ในมาตรา 240 แห่งประมวลกฎหมายอาญา   ผู้กระท าความผิดสามารถถูกด าเนินคดีและลงโทษใน
               ประเทศไทยได้ แม้ว่าการกระท าทั้งหมดจะเกิดขึ้นนอกราชอาณาจักรก็ตาม แม้ว่ามาตรฐานการตีความที่ยกมา

               จะถูกก าหนดขึ้นเพื่อใช้ในบริบทของความผิดทางอาญาซึ่งอาจใช้เกณฑ์ที่เข้มงวดกว่าการละเมิดกฎหมายการ

               แข่งขันทางการค้า ตามกฎทั่วไปแล้ว การบังคับใช้กฎหมายนอกอาณาเขตคือข้อยกเว้นซึ่งกฎหมายจะต้อง
               บัญญัติไว้อย่างชัดแจ้ง


                       ด้วยเหตุนี้จึงน าไปสู่แนวทางที่สองในการตีความขอบเขตการบังคับใช้ (territorial scope) ของ

               พ.ร.บ.การแข่งขันฯ พ.ศ. 2560 ซึ่งเป็นแนวทางที่เป็นที่ยอมรับในบุคลากรหมู่มากของฝ่ายกฎหมายของสขค.

                                        76
               และคณะกรรมการกฤษฎีกา  เนื่องจากการใช้กฎหมายภายในนอกอาณาเขตเป็นข้อยกเว้นจากกฎที่ว่า
               กฎหมายของรัฐจะบังคับใช้ได้ภายในเขตแดนของตน การหาจุดสมดุลระหว่างผลประโยชน์ทางเขตอ านาจศาล

               ที่ขัดแย้งกัน (clashing jurisdictional interest) จึงจะเกิดขึ้นได้โดยการท าให้มั่นใจว่ากฎหมายจะถูกน าไปใช้

               นอกอาณาเขตได้เฉพาะในกรณีที่มีความจ าเป็นเพื่อป้องกันการกระท าโดยเจตนาให้มีผลเป็นการลดการแข่งขัน
               อย่างเป็นวงกว้างภายในเขตอ านาจศาลนั้น ซึ่งเป็นความเข้าใจโดยทั่วไปว่า สิทธิสภาพนอกอาณาเขตนั้น

               จ าเป็นต้องมีการระบุไว้อย่างชัดเจนในกฎหมาย ดังนั้น เมื่อค านิยามต่าง ๆ ไม่ได้รวมถึงธุรกิจ ผู้ประกอบธุรกิจ

               หรือการกระท าที่เกิดขึ้น ‘นอกประเทศไทย’ ไว้โดยชัดแจ้ง จึงมีความเห็นทางหนึ่งว่าควรสันนิษฐานเบื้องต้นได้
               ว่า พ.ร.บ.การแข่งขันฯ พ.ศ. 2560 มีวัตถุประสงค์เพียงเพื่อควบคุมการกระท าของธุรกิจและผู้ประกอบธุรกิจ

                               77
               ภายในประเทศไทย

                       อย่างไรก็ดี หากพิจารณาในหมวด 3 ของ พ.ร.บ.การแข่งขันฯ พ.ศ. 2560 ว่าด้วยการป้องกันการ

               ผูกขาดและการค้าไม่เป็นธรรม ได้มีการก าหนดข้อห้ามการกระท าต่าง ๆ เพื่อป้องกันการผูกขาดและการค้าที่
               ไม่เป็นธรรม ดังต่อไปนี้ มาตรา 50 (การใช้อ านาจเหนือตลาดอย่างไม่เป็นธรรม) มาตรา 51 (การควบรวม

               กิจการ) มาตรา 54 และ 55 (การตกลงร่วมกัน ผูกขาด ลด และจ ากัดการแข่งขัน) มาตรา 57 (การปฏิบัติทาง

               การค้าที่ไม่เป็นธรรม) และมาตรา 58 (การตกลงร่วมกับผู้ประกอบธุรกิจต่างประเทศอย่างไม่มีเหตุผลอัน
               สมควร) เมื่อพิจารณามาตรา 58 ใน พ.ร.บ.การแข่งขันฯ พ.ศ. 2560  ที่กล่าวถึงการกระท าของผู้ประกอบ
                                                                         78
               ธุรกิจในประเทศร่วมกับต่างประเทศโดยเฉพาะนั้น จึงเป็นที่น่าสนใจว่า กรณีดังกล่าวมีการแยกระบุโดยใช้ค าว่า

               ผู้ประกอบธุรกิจในประเทศและผู้ประกอบธุรกิจต่างประเทศเป็นการเฉพาะเจาะจง ซึ่งอาจตีความได้ว่าหากไม่มี

               75  ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 7 วรรคสอง.
               76  สัมภาษณ์ส านักงานการต่างประเทศ ส านักงานคณะกรรมการแข่งขันทางการค้า.
               77  สัมภาษณ์เจ้าหน้าที่ฝ่ายกฎหมาย ส านักงานคณะกรรมการแข่งขันทางการค้า.

               78  พระราชบัญญัติการเเข่งขันทางการค้า พ.ศ. 2560  มาตรา 58 ระบุว่า
                       ห้ามมิให้ผู้ประกอบธุรกิจในประเทศท านิติกรรมหรือสัญญากับผู้ประกอบธุรกิจในต่างประเทศอย่างไม่มีเหตุผลอัน

                       สมควร อันก่อให้เกิดพฤติกรรมการผูกขาดหรือจ ากัดการค้าอย่างไม่เป็นธรรมและส่งผลกระทบอย่างร้ายแรงต่อ
                       เศรษฐกิจและผลประโยชน์ของผู้บริโภคโดยรวม
   22   23   24   25   26   27   28   29   30   31   32