Page 34 - 22432_fulltext
P. 34
33
เสนอนี้จะท าให้สามารถน าหลักผลกระทบ (effects doctrine) ซึ่งถูกใช้ในเขตอ านาจศาลหลายแห่งอย่าง
เข้มงวดมาใช้ได้ โดยร่างเบื้องต้นของบทบัญญัติเกี่ยวกับสิทธิสภาพนอกอาณาเขตอาจระบุว่า: “แม้ว่ากิจกรรม
ใด ๆ จะเกิดขึ้นในต่างประเทศ หากกิจกรรมเหล่านั้นมีอิทธิพลต่อตลาดภายในประเทศ ให้พระราชบัญญัตินี้ใช้
บังคับได้” อย่างไรก็ตาม ขอให้ทราบว่าข้อก าหนดที่เสนอนี้เป็นเพียงแนวทางและไม่ได้พยายามออกแบบให้เป็น
ร่างกฎหมาย และเพื่อไม่ให้มีความก ากวม การก าหนดหลักเกณฑ์และขอบเขตของการบังคับใช้กฎหมายนอก
89
อาณาเขตเพิ่มเติมต่อจากแนวทางที่ได้เสนอไปเป็นสิ่งส าคัญอย่างมากที่จะต้องท า ตัวอย่างเช่น แทนที่จะใช้
เพียงข้อความว่า การกระท าในต่างประเทศที่สร้างผลกระทบต่อตลาดภายในประเทศในข้อก าหนดนั้น สามารถ
เสริมได้ว่า ผลกระทบดังกล่าวจะต้องเป็นผลกระทบ ‘โดยตรง เกิดขึ้นในวงกว้าง และสามารถเล็งเห็นได้’
(direct, substantial, and reasonably foreseeable) ต่อการค้าภายในประเทศไทย แม้ว่าบทบัญญัติเขต
อ านาจศาลในกฎหมายจะมีข้อจ ากัดเมื่อถูกน ามาใช้ในทางปฏิบัติ การมีบทบัญญัติเรื่องสิทธิสภาพนอกอาณา
เขตอย่างชัดแจ้งนั้นจะช่วยจ ากัดขอบเขตและการตีความ พ.ร.บ.การแข่งขันฯ พ.ศ. 2560 ที่อาจขัดแย้งกันได้
เมื่อต้องจัดการกับการกระท าต่อต้านการแข่งขันในต่างประเทศ
นอกจากนี้ กขค. สามารถวางมาตรฐานที่ใช้ในการตัดสินโดยการออกแนวทางปฏิบัติเบื้องต้นในการ
ตรวจจับ พิจารณา และประเมินว่าเป็นผลกระทบโดยตรง เกิดขึ้นในวงกว้าง และสามารถเล็งเห็นได้หรือไม่
เนื่องจากการพิจารณาเรื่องผลกระทบภายในประเทศไทยเป็นการสอบสวนที่เน้นข้อเท็จจริง (fact-intensive
inquiry) จึงควรที่จะให้ความส าคัญกับการการตีความเป็นกรณี ๆ เพื่อหลีกเลี่ยงการใช้สิทธิสภาพนอกอาณา
เขตมากเกินไป ด้วยเหตุนี้ จึงขอเสนอให้จ ากัดสถานการณ์ที่จะสามารถใช้สิทธิสภาพนอกอาณาเขตให้มี
ขอบเขตแคบที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้
1.5.2. แนวทางปฏิบัติส าหรับการบังคับใช้และความร่วมมือระหว่างประเทศ
ข้อเสนอที่สอง นอกจากการก าหนดฐานทางกฎหมายของสิทธิสภาพนอกอาณาเขตที่ชัดเจนแล้ว การ
พิจารณาแบบองค์รวมถึงกฎที่เกี่ยวข้องเกี่ยวกับการสืบสวน การตัดสิน และการลงโทษ นั้นก็มีความส าคัญไม่
แตกต่างกัน เราต้องตระหนักว่า ในขณะที่ต้องจัดการกับประเด็นปัญหาที่แยกออกจากกัน องค์ประกอบที่
แตกต่างเหล่านี้เป็นส่วนหนึ่งของห่วงโซ่การบังคับใช้ (chain of enforcement) และเมื่อมีความจ าเป็น สิ่ง
90
เหล่านี้จะต้องถูกปรับเปลี่ยนเพื่อให้สามารถจัดการกับเหตุการณ์ที่เป็นกรณีข้ามชาติได้อย่างเหมาะสม แม้ว่า
89 Joseph Seon Hur, Competition Law/Policy and Korean Economic Development, pp. 268-69 (Publication
Ziumm, Ltd. 2006).
90 ดู Marek Martyniszyn, Competitive Harm Crossing Borders: Regulatory Gaps and A Way Forward, Journal
of Competition Law & Economics, 00(00), 1-22.