Page 39 - 22432_fulltext
P. 39
38
1.5.5. ความร่วมมือ (Cooperation)
ข้อเสนอที่ห้า ส าหรับประเทศขนาดเล็กและประเทศก าลังพัฒนาแล้ว การสร้างความร่วมมืออย่างมี
ประสิทธิภาพอาจเป็นสิ่งที่ท าได้ยากด้วยข้อจ ากัดหลายประการ อย่างไรก็ตาม ข้อตกลงในภูมิภาคหรือข้อตกลง
105
ระหว่างประเทศเเบบเฉพาะเจาะจง (regional or focused multinational agreements) สมควรได้รับ
การพิจารณาในด้านเศรษฐกิจขนาดเล็กและก าลังพัฒนา ในแง่ทฤษฎี การเคลื่อนจากข้อตกลงพหุภาคี (wide-
multilateral) สู่พหุชาติ (focused-multinational) หรือภูมิภาค (regional) นั้นเอื้ออ านวยต่อการหาจุดร่วม
ซึ่งความคิดด้านการเมืองการปกครอง การค้า และผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจที่ไปในทางเดียวกันจะเป็นจุดตั้ง
106
ต้นในการสร้างการร่วมมือที่เป็นรูปธรรม
ในการเป็นส่วนหนึ่งของกลุ่มที่มีจุดมุ่งหมายเดียวกัน เเต่ละเขตอ านาจต่างขับเคลื่อนตามโครงสร้าง
ของกลุ่มในระดับภูมิภาคในการปฏิสัมพันธ์กับรัฐและภาคเอกชนอื่น ซึ่งฝ่ายตรงข้ามจะไม่สามารถมองข้าม
ความพยายามในการบังคับใช้ของสมาชิกประเทศใดประเทศหนึ่ง เนื่องจากการกระท าดังกล่าวจะส่งผลกระทบ
ต่อประเทศอื่นที่เป็นสมาชิกกลุ่มพันธมิตร อีกทั้งการรวมตัวของกลุ่มอ านาจนี้อาจท าให้ทิศทางการถ่ายทอด
ความมั่งคั่งเปลี่ยนเเปลงไประหว่างเเต่ละกลุ่มเขตอ านาจ นอกจากเเบ่งปันข้อมูลทั่วไประหว่างหน่วยงานการ
เเข่งขันฯ ในอาเซียนเเล้ว ควรมีการบังคับใช้มาตรการที่เป็นทางการในกลุ่มสมาชิกอาเซียน เพื่อช่วยเหลือ
หน่วยงานในประเทศสมาชิกทุกประเทศในการการรับมือพฤติกรรมต่อต้านการเเข่งขันข้ามชาติ
105 ดูตัวอย่าง Southern Common Market (MERCOSUR), Caribbean Community (CARICOM), Common Market
for Eastern and Southern Africa (COMSA) and the West African Economic and Monetary Union (UEMOA).
106 ประโยชน์ของข้อตกลงในภูมิภาค ดู Michal Gal, “Regional Competition Law Agreements: An Important Step
for Antitrust Enforcement,” (2010) 60 University of Toronto Law Journal 239.