Page 36 - 22432_fulltext
P. 36
35
94
เหมาะสมหรือไม่ ดังนั้น กขค. และ สขค. แทบจะไม่เหลือดุลพินิจในการบังคับใช้ใด ๆ เลยเมื่อต้องจัดการกับ
กรณีที่เป็นการกระท าต่อต้านการแข่งขันข้ามชาติ ด้วยเหตุนี้ จึงขอเสนอให้คณะกรรมการฯ ร่วมมือกับ
กระทรวงยุติธรรมหรืออัยการสูงสุดในการจัดท าแนวทางปฏิบัติที่สอดคล้องกัน หรืออย่างน้อยก็ควรจะมี
ข้อตกลงร่วมกัน โดยเฉพาะในกรณีที่เกี่ยวข้องกับส่งหมายเรียกไปยังต่างประเทศ
การแก้ไข พ.ร.บ.การแข่งขันฯ พ.ศ. 2560 ที่แนะน าอีกประการหนึ่งคือ การเพิ่มบทบัญญัติที่ก าหนดให้
ผู้ประกอบธุรกิจในต่างประเทศที่ไม่มีภูมิล าเนาในประเทศไทยให้แต่งตั้งตัวแทนในประเทศเพื่อให้เกิดความชอบ
และช่องทางในการจัดส่งเอกสาร (effectuate service of document) หากผู้ประกอบธุรกิจดังกล่าวไม่ได้
แต่งตั้งตัวแทนใด ๆ ในประเทศ กขค. มีอ านาจที่จะประกาศเนื้อหาของเอกสารบนอินเทอร์เน็ตและใน
95
หนังสือพิมพ์รายวันอย่างน้อยหนึ่งฉบับ ราชกิจจานุเบกษา กระดานข่าว และสิ่งตีพิมพ์อย่างเป็นทางการ
อย่างไรก็ตาม หากบริษัทต่างประเทศไม่อยู่ในประเทศไทยและไม่มีตัวแทนที่มีอ านาจในประเทศไทย ควรจะมี
96
กฎที่อนุญาตให้สามารถส่งหมายเรียกหรือเอกสารด้วยวิธีการเผยแพร่ด้วยเช่นกัน ซึ่งการพัฒนาระบบการ
แข่งขันของญี่ปุ่นเป็นตัวอย่างที่ดี เนื่องจากในแม้ว่าหน่วยงานการแข่งขันของญี่ปุ่นมีความประสงค์ที่จะ
ด าเนินคดีกับผู้ละเมิดชาวต่างชาติตั้งแต่ช่วงปลายคริสต์ทศวรรษ 1990 แต่กฎหมายภายในเดิมไม่อนุญาตให้ส่ง
หมายเรียก ต่อมาในปี ค.ศ. 2002 จึงมีการเปลี่ยนแปลงให้สามารถให้ส่งหมายเรียกไปยังต่างประเทศได้โดย
97
ผ่านเจ้าหน้าที่ฝ่ายทูตหรือโดยการประกาศโฆษณา
1.5.3. การใช้ค าพิพากษาของต่างประเทศต่างหลักฐาน
ข้อเสนอที่สาม หน่วยงานด้านการแข่งขันทางการค้าของไทยควรได้รับการอนุญาตให้อาศัยการ
พิจารณาคดี ค าตัดสิน และมาตรการลงโทษในคดีการเเข่งขันด้านการค้าของเขตอ านาจศาลในต่างประเทศ
เป็นหลักฐานที่เพียงพอที่จะพิสูจน์ข้อเท็จจริงหรือเปิดประเด็นข้อสันนิษฐานของการมีอยู่ของพฤติกรรมต่อต้าน
94 พระราชบัญญัติความร่วมมือระหว่างประเทศในเรื่องทางอาญา, มาตรา 38:
ให้ผู้ประสานงานกลางพิจารณาว่าสมควรจะขอความช่วยเหลือจาก ต่างประเทศหรือไม่ โดยพิจารณาถึงหลักเกณฑ์
รายละเอียด ข้อเท็จจริง และเอกสารประกอบ แล้ว แจ้งให้หน่วยงานผู้ขอทราบ
ค าวินิจฉัยของผู้ประสานงานกลางเกี่ยวกับการขอความช่วยเหลือให้ถือเป็นยุติเว้น แต่นายกรัฐมนตรีจะมีค าสั่งเป็น
อย่างอื่น
95 วิธีการนี้ถูกใช้โดยหน่วยงานการแข่งขันของญี่ปุ่นและเกาหลี, ดู South Korea’s Monopoly Regulation and Fair
Trade Act, article 53-3(2).
96 ดู Japan’s Antimonopoly Act, article 70-8(1)(iii).
97 Marek Martyniszyn, ‘Japanese Approaches to Extraterritoriality in Competition Law’, 66(3) International
and Comparative Law Quarterly 747 (2017), at 757–58.