Page 41 - 22432_fulltext
P. 41

40


               ในปัจจุบันของประเทศไทย เพื่อให้สอดคล้องต่อการส่งสัญญาณต่อผู้ประกอบธุรกิจว่าหน่วยงานที่ก ากับดูแล

               การแข่งขันทางการค้านั้นเอาจริงเอาจังในการก ากับดูแลการกระท าต่อต้านการเเข่งขันจากต่างประเทศที่

               เกิดผลในราชอาณาจักรเช่นเดียวกัน


                       ในขณะที่เราไม่อาจปฏิเสธว่าหลักการของสิทธิสภาพนอกอาณาเขตนั้นเป็นประเด็นทางกฎหมาย ทว่า

               หลักสิทธิสภาพนอกอาณาเขตนั้นอยู่กึ่งกลางระหว่างกฎหมายและการเมือง ดังนั้นจึงเป็นเรื่องส าคัญที่ต้องรับรู้
               ถึงความสัมพันธ์ที่เกี่ยวโยงด้านการเมืองการปกครอง โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเวลาพิจารณาหาทางออกหรือ

                              109
               ทางเลือกในส่วนนี้

                       ข้อเสนอแนะที่ได้น าเสนอไปโดยรวมนั้นเป็นไปได้จริงในทางปฏิบัติและสามารถเริ่มใช้ได้เลยโดยฝ่าย

               เดียว (นอกเหนือจากการมีความร่วมมือกับต่างประเทศ) นอกจากนี้ กขค. และ สขค. ควรพิจารณาปรับเเก้

               พ.ร.บ.การเเข่งขันฯ ฉบับปัจจุบัน และกฎหมายรองที่เกี่ยวข้อง นอกจากนี้ ควรมีการพัฒนากลไกในการ

               รวบรวมหลักฐานและมาตรการลงโทษเพื่อช่วย กขค. และ สขค. ในการรับมือการกระท าผิดในต่างประเทศใน

               อนาคต ในขณะเดียวกัน ความร่วมมือกันระหว่างหน่วยงานที่ดูเเลส่งเสริมการเเข่งขันฯ ต่าง ๆ ในระดับภูมิภาค

               นั้นยังควรส่งเสริม ข้อเสนอแนะที่ได้กล่าวไปสามารถรับประกันการยับยั้งที่เเข็งแรงขึ้น และชี้แจงช่องว่างหลัก
               เกี่ยวกับพฤติกรรมการต่อต้านการเเข่งขันข้ามพรมแดน หากมีการน ามาบังคับใช้โดยรัฐจ านวนมากพอ

               ข้อเสนอแนะนี้จะช่วยส่งเสริมการบังคับใช้กฎหมายการแข่งขันทางการค้าทั่วโลกนั้นมีประสิทธิภาพมากขึ้นด้วย

               เช่นกัน


                       ในระดับเศรษฐกิจโลก กฎหมายการแข่งขันทางการค้าภายในประเทศมีบทบาทส าคัญในการปกป้อง

               ตลาดภายในจากปัจจัยภายนอกที่อาจส่งผลร้ายต่อการแข่งขัน การส่งเสริมการแข่งขันในตลาดที่มี

               ประสิทธิภาพและการใช้อ านาจรัฐนอกดินแดน (long-arm jurisdiction) สามารถช่วยเหลือทดแทนการบังคับ

               ใช้กฎหมายการแข่งขันทางการค้าที่อาจไม่เพียงพอในประเทศอื่น ๆ ได้ ซึ่งการส่งเสริมการแข่งขันนั้นยังเพิ่ม

               อ านาจต่อรองกับบริษัทข้ามชาติและรัฐอื่น นอกจากนี้ ความร่วมมือในระดับทวิภาคีหรือระดับข้ามชาติจะสร้าง
               ขีดความสามารถ และสนับสนุนการบังคับใช้แม้เพียงฝ่ายเดียว ท้ายที่สุด สิ่งนี้ยังมีหน้าที่ส าคัญในการสื่อสาร

               และการเป็นเเบบอย่างซึ่งส่งผลให้แนวโน้มที่จะควบคุมมากเกินไปให้ลดลง รวมถึงลดผลกระทบภายนอกอื่น ๆ

               อีกด้วย










               109  Maher M. Dabbah, International and Comparative Competition Law (Cambridge University Press 2010),
               431-32.
   36   37   38   39   40   41   42   43   44   45   46