Page 40 - 22432_fulltext
P. 40
39
ส่วนที่ 6 บทสรุป
ถึงในปัจจุบันจะเป็นที่ยอมรับโดยทั่วกันว่าลัทธิสิทธิสภาพนอกอาณาเขตนั้นได้พัฒนาในระบบ
กฎหมายการเเข่งขันทางการค้ามานานหลายทศวรรษ ทว่าปัญหากรณีที่ผู้ประกอบธุรกิจนั้นไม่มีสถานะทาง
กฎหมายที่จดทะเบียนอยู่ในราชอาณาจักรยังคงเป็นความท้าทายส าหรับหลากหลายรัฐ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง
ความพยายามของรัฐในการรับมือพฤติกรรมต่อต้านการผูกขาดจากภายนอกประเทศซึ่งกระทบความเป็นไป
ภายในประเทศนั้นพบสองประเด็นปัญหา ประการที่หนึ่ง คือ การไม่มีฐานทางกฎหมายในการบังคับใช้
กฎหมายนอกอาณาเขต และประการที่สอง คือ ปัญหาการบังคับใช้ในสถานการณ์จริง นอกจากนี้ เศรษฐกิจ
ขนาดเล็กที่ก าลังพัฒนายังพบปัญหาเฉพาะ นั่นคือข้อจ ากัดด้านทรัพยากรในการบังคับใช้ และความรับผิดที่
107
จ ากัดซึ่งไม่สามารถเป็นแรงคุกคามที่เพียงพอต่อบริษัทต่างชาติได้
นโยบายสนับสนุนการเเข่งขันโดยพื้นฐานถูกสร้างขึ้นเพื่อปกป้องและสนับสนุนกลไกการเเข่งขันใน
ตลาด การเเข่งขันนั้นไม่ใช่จุดจบ หากเเต่เป็นวิธีในการบรรลุจุดประสงค์สุดท้าย ดังนั้นการแข่งขันจึงถูกให้
ความส าคัญในการเป็นเครื่องมือที่ยืดหยุ่นและมีประสิทธิภาพในการควบคุมและกระจายทรัพยากรในสังคม อีก
ทั้งยังเป็นสิ่งที่สร้างระเบียบในตลาด อันเนื่องมาจากแรงกดดันของคู่แข่งและแรงผลักดันที่จะเป็นที่หนึ่งอยู่
เสมอ ในขณะเดียวกัน ผู้คนยังอาจให้ค่ากับกลไกนี้ทางด้านการเมือง เเทนที่จะเป็นในด้านเศรษฐศาสตร์
เนื่องจากสิ่งนี้กระจายความมั่งคั่งและโอกาสและจ ากัดขนาดของธุรกิจ ในบริบทของสิทธิสภาพนอกอาณา
108
เขต เศรษฐกิจขนาดเล็กมีแนวโน้มที่ยากที่จะรับมือนโยบายสนับสนุนการแข่งขันซึ่งยอมสละประสิทธิภาพทาง
เศรษฐกิจเพื่อแลกกับเป้าหมายที่ใหญ่กว่า เช่นความยุติธรรมในการแบ่งสรรปันส่วน (distributive justice)
เมื่อประเด็นเรื่องสิทธิสภาพนอกอาณาเขตนั้นเป็นเรื่องของระดับความมากน้อยตามที่แต่ละประเทศจะใช้
หน่วยงานการแข่งขันฯ จึงมีอ านาจเด็ดขาดในการก าหนดระดับความมากน้อยที่ประเทศไทยจะใช้รับมือ
พฤติกรรมต่อต้านการแข่งขันขากต่างประเทศ รวมถึงการควบรวมกิจการในต่างประเทศ
เป็นที่เข้าใจได้ว่าท าไมประเทศที่เศรษฐกิจก าลังพัฒนาเช่นประเทศไทย เลือกที่จะให้ความสนใจในภัย
ต่อเศรษฐกิจภายในประเทศ อย่างน้อยในขณะจุดเริ่มต้นของระบบการแข่งขันในตลาดระบบใหม่ อย่างไรก็ตาม
ระบบกฎหมายของประเทศไทยในปัจจุบันนั้นไม่ได้กล่าวถึงประเด็นเรื่องพฤติกรรมการต่อต้านการเเข่งขันข้าม
พรมแดนแม้เเต่น้อย ยิ่งไปกว่านั้น ประเทศไทยยังไม่มีเครื่องมือระดับพหุภาคีที่มีผลผูกพันที่สามารถน ามาใช้
ประโยชน์ได้ในกรณีข้างต้น และความพยายามในการพัฒนาเครื่องมือที่ว่านี้ไม่เคยประสบความส าเร็จ ด้วยเหตุ
นี้ งานวิจัยฉบับนี้แสดงให้เห็นถึงความจ าเป็นในการปรับปรุงระบบกฎหมายการเกี่ยวกับการเเข่งขันทางการค้า
107 Michael Gal, “Extra-territorial application of antitrust - the case of a small economy (Israel),” (2009) New
York University Law and Economics Working Papers.
108 Philippe, Areeda and Herbert Hoven Kamp, Antitrust Law (2d edn 2000).