Page 43 - 22432_fulltext
P. 43

42


                                                               114
               มากขึ้นจากทั่วโลก และมีแนวโน้มที่จะสูงขึ้นอีกในอนาคต  อย่างไรก็ตาม ส านักงานการคณะกรรมการการ
               เเข่งขันทางการค้า (สขค.) ซึ่งเป็นหน่วยงานรัฐอิสระ รับผิดชอบในการก ากับดูแลและส่งเสริมการเเข่งขันทาง

               การค้าในประเทศ ยังไม่ได้มีการน ามาตรการต่อต้านการร่วมกันจ ากัดการแข่งขันนี้มาใช้เเต่อย่างใด


                       ด้วยเหตุนี้ งานวิจัยฉบับนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาวิเคราะห์ความเหมาะสมในการปรับใช้มาตรการ

               ยกเว้นและลดหย่อนบทลงโทษในประเทศไทย โดยจะพิจารณาทฤษฎีที่เกี่ยวข้อง ตัวมาตราใน พ.ร.บ.การเเข่ง
               ขันฯ ฉบับปัจจุบันและการบังคับใช้ และประเด็นปัญหาที่อาจเกิดขึ้นภายใต้ พ.ร.บ. นี้และกฎหมายอื่นของไทย

               และน าผลลัพธ์มาเปรียบเทียบกับตัวอย่างในต่างประเทศที่เป็นที่ยอมรับและได้ผลดี เพื่อน ามาพัฒนาและ

               ก าหนดบทลงโทษในประเทศไทยให้สอดคล้องกับผลกระทบทางเศรฐกิจ และเพื่อให้การบังคับใช้มาตรา 54

               และ 55 ใน พ.ร.บ.การเเข่งขันฯ มีประสิทธิภาพมากที่สุด





               2.1. หลักการของมาตรการยกเว้นและลดหย่อนบทลงโทษ


                       มาตรการยกเว้นและลดหย่อนโทษ หมายถึง การให้ความคุ้มกันจากบทลงโทษ หรือนิรโทษ หรือ

               กล่าวคือ การลดหย่อนโทษจากการผ่าผืนกฎหมายการเเข่งขันทางการค้า เพื่อเเลกกับความร่วมมือต่อ
               เจ้าหน้าที่ต่อต้านการผูกขาดในการสืบค้นคดี บทลงโทษที่จะได้รับการยกเว้นหรือลดหย่อนนั้นสามารถที่จะเป็น

               การลงโทษรูปแบบไหนก็ตามที่ถูกสั่งโดยเจ้าพนักงานในเขตอ านาจศาล เช่น การลงโทษอาจอยู่ในรูปเเบบโทษ

               อาญา หรือรูปแบบค่าปรับทางการปกครองภายใต้ พ.ร.บ.การเเข่งขันฯ การชักจูงผู้ร่วมกระท าผิดให้สารภาพ

               ผิดด้วยตัวเองพร้อมทั้งมอบข้อมูลรายละเอียดเกี่ยวกับการตกลงร่วมกันและบุคคลที่เกี่ยวข้อง เพื่อแลกกับ

               บทลงโทษที่ลดลง เป็นสิ่งส าคัญอย่างยิ่งในการท าให้การต่อต้านการร่วมกันจ ากัดการแข่งขันประสบ

                         115
               ความส าเร็จ  จุดมุ่งหมายของระบบนี้มีสามประการ ได้แก่ การตรวจจับ การยับยั้ง และการบังคับใช้อย่างมี
               ประสิทธิภาพ
                          116

                       การตรวจจับนับเป็นเป้าหมายหลักของการระบบนี้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งส าหรับพฤติกรรมการตกลง
               รวมกันที่ร้ายแรง (Hard core cartels) โดยทั่วไปเนื่องจากผู้สมรู้ส่วนคิดรู้ว่าพฤติกรรมตนเองผิดหมาย พวก

               เขาจึงปกปิดการกระท าผิดนี้เป็นอย่างดี มาตราการลดหย่อนโทษจึงเพิ่มความเป็นไปได้ในการตรวจจับและเพิ่ม

               ประสิทธิภาพของระบบลงโทษผู้กระท าผิดดังกล่าว ถึงแม้เครื่องมืออื่นอาจตรวจจับได้เช่นกัน เช่น จับตามอง





               114  OECD, OECD Competition Trends 2020 (2020), p. 29 – 31.
               115  OECD, Challenges and Co-Ordination of Leniency Programmes Background Note (2018), p. 3.
               116  ECD, Use of Markers in Leniency Programmes (2015), p. 9 – 10.
   38   39   40   41   42   43   44   45   46   47   48