Page 36 - b29259_Fulltext
P. 36
ในประเทศสหรัฐอเมริกา รัฐธรรมนูญ ข้อ 2 ส่วนที่ 3 มีการกำาหนดสัดส่วน
จำานวน (Apportion) ของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรในระดับสหพันธรัฐ
ให้มีความเกี่ยวเนื่องเชื่อมโยงสัมพันธ์กับจำานวนราษฎรของแต่ละมลรัฐ
56
เมื่อเป็นเช่นนี้จึงนำาไปสู่การผ่านกฎหมายโดยสภาคองเกรสกำาหนด
รายละเอียดของการคำานวณให้มีจำานวนสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรทั้งสิ้น
57
435 คน ตราบจนปัจจุบัน เป็นต้น
กรณีของประเทศไทย แรกเริ่มนับตั้งแต่พระราชบัญญัติธรรมนูญ
การปกครองแห่งแผ่นดินชั่วคราว พ.ศ. 2475 บังคับใช้ สภาผู้แทนราษฎร
58
ชุดแรกมีจำานวนสมาชิกทั้งสิ้น 70 คน ด้วยกันเป็นการชั่วคราว ภายหลัง
จากนั้นจำานวนของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรก็เพิ่มสูงขึ้นเรื่อย ๆ ตามลำาดับ
โดยการกำาหนดจำานวนสมาชิกในสมัยแรก ๆ จะสัมพันธ์กับอัตราส่วนของ
ประชาชนบนหลัก 1 ต่อ 100,000 กล่าวคือ หากจังหวัดใดมีจำานวนประชากร
ทั้งสิ้น 100,000 คน จังหวัดนั้นก็จะมีจำานวนสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร
1 คน ในเวลาต่อมามีการปรับเปลี่ยนฐานคิดว่าด้วยเรื่องการกำาหนดจำานวน
59
สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรตราบจนกระทั่ง รัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบัน มาตรา 83
60
ได้บัญญัติให้สภาผู้แทนราษฎรประกอบไปด้วยสมาชิกทั้งสิ้น 500 คน
56 โปรดดู รัฐธรรมนูญแห่งประเทศสหรัฐอเมริกา
57 สภาคองเกรสได้มีการตรา “กฎหมายว่าด้วยการกำาหนดสัดส่วนของสมาชิกสภา
ผู้แทนราษฎรเป็นการถาวร ค.ศ. 1929” (Permanent Apportionment Act of
1929) กำาหนดจำานวนสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไว้อย่างชัดเจนแน่นอนที่ 435 คน
58 โปรดดู มาตรา 10 พระราชบัญญัติธรรมนูญแห่งแผ่นดินสยามชั่วคราว พ.ศ. 2475
59 ดู มาตรา 3 ของพระราชบัญญัติว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร
ในระหว่างที่ใช้บทบัญญัติเฉพาะกาลในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักสยาม พ.ศ. 2475
60 รายละเอียดโปรดดู หมวด 7 รัฐสภา ส่วนที่ 2 สภาผู้แทนราษฎร มาตรา 83 ของ
รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2560
36