Page 38 - b29259_Fulltext
P. 38
กำาหนดให้ส่วนหนึ่งมาจากการเลือกตั้งและอีกส่วนหนึ่งมาจากการแต่งตั้ง
ก็เป็นได้ อาทิ ประเทศอินเดีย เนปาล นามิเบีย เมียนม่า ฯลฯ เป็นต้น
65
สำาหรับประเทศไทย หากพิเคราะห์โดยละเอียดแล้วจะพบว่า
เคยมีการกำาหนดที่มาของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรมาในทุกรูปแบบตามที่
ได้อรรถาธิบายข้างต้นไปแล้ว กล่าวคือ เมื่อมีการประกาศใช้พระราชบัญญัติ
ธรรมนูญการปกครองแผ่นดินสยามชั่วคราว พ.ศ. 2475 ได้มีการกำาหนด
ให้ที่มาของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรสมัยแรกมาจากการแต่งตั้งของ
คณะราษฎรเป็นการชั่วคราว ต่อมาเมื่อมีการจัดการเลือกตั้งภายใต้
รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรสยาม พ.ศ. 2475 จึงได้มีการกำาหนดให้
สมาชิกมาจากการเลือกตั้งของประชาชนส่วนหนึ่งและมาจากการแต่งตั้ง
ของพระมหากษัตริย์อีกส่วนหนึ่งเท่า ๆ กัน ตราบจนกระทั่งรัฐธรรมนูญ
แห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2489 บังคับใช้ จึงได้มีการบัญญัติเป็น
66
ครั้งแรกให้สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรทั้งหมดมาจากการเลือกตั้งโดยประชาชน
ซึ่งส่งผลให้รัฐธรรมนูญฉบับต่อ ๆ มายึดถือเป็นรูปแบบตราบจนรัฐธรรมนูญ
ฉบับปัจจุบัน
67
อนึ่ง ในส่วนของกฎเกณฑ์ที่ใช้สำาหรับกำาหนดขั้นตอนกระบวนต่าง ๆ
ในการเลือกตั้งเพื่อท้ายที่สุดแล้วนำาไปสู่ผลการเลือกตั้ง ตามหลักกฎหมาย
รัฐธรรมนูญและสถาบันการเมืองแล้วเรียกกฎเกณฑ์นี้ว่า “ระบบการเลือกตั้ง”
65 Inter-Parliamentary Union, Nepal, Namibia, and Myanmar, (Jul. 9,
2017), http://www.ipu.org/parline-e/reports/2225_A.htm.
66 โปรดอ่าน หมวด 3 ส่วน 3 มาตรา 29 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย
พ.ศ. 2560
67 เรื่องเดียวกัน ดู หมวด 7 รัฐสภา ส่วน 2 มาตรา 83
38