Page 39 - kpiebook62016
P. 39

22







                       Schmitter และ Lawrence  Whitehead ซึ่งศึกษาการเปลี่ยนผ่านจากเผด็จการอ านาจนิยมในลาติน
                       อเมริกาและยุโรปใต้ และพบว่า ความขัดแย้งท่ามกลางชนชั้นน าสองกลุ่ม ได้แก่ สายพิราบ (Soft-

                       liners) ที่สนับสนุนรูปแบบการปกครองแบบประชาธิปไตย และสายเหยี่ยว (Hard-liners) ท้ายที่สุด

                       แล้วน าไปสู่การเปลี่ยนผ่านจากระบอบเผด็จการอ านาจนิยมไปสู่ประชาธิปไตย ทั้งนี้ O’Donnell,

                       Schmitter และ Whitehead ระบุอย่างชัดเจนว่า การเปลี่ยนผ่านทุกรูปแบบเต็มไปด้วยความไม่
                       แน่นอน บางประเทศอาจเริ่มจากการให้เสรีภาพ และน าไปสู่การตื่นตัวของภาคประชาสังคม บางกรณี

                       อาจจะเกิดขึ้นจากการล่มสลายของระบอบเผด็จการ จนน ามาสู่การเจรจาหาข้อตกลงร่วมกันในกลุ่ม

                                                          51
                       ชนชั้นน า และน ามาสู่กระบวนการเลือกตั้ง  กระบวนการเปลี่ยนผ่านนี้แบ่งเป็น 3 ขั้นตอนคือ

                              1. จุดผกผัน (Transitory point) ปัจจัยที่ก่อให้เกิดสถานการณ์พลิกผัน เช่น เสื่อมความชอบธรรม

                       แพ้สงคราม แก้ปัญหาเศรษฐกิจไม่ได้


                              2. กระบวนการเปลี่ยนผ่าน (Transitory  process) การปฏิรูประบบการเมือง การออกแบบ
                       สถาบันการเมืองที่รองรับกลุ่มต่างๆ ไม่ให้ย้อนกลับ หักหลัง เพราะไม่คุ้มความเสี่ยง ดังนั้น บทบาทของ

                       สถาบันการเมืองจึงส าคัญมากที่จะไม่ให้เกิดการถดถอย เปลี่ยนใจของตัวแสดงหลัก ต้องให้น ้าหนัก

                       และพื้นที่ทุกกลุ่มใกล้เคียงกันเพื่อรักษาดุลและพลังอ านาจ


                              3. การรักษาระดับประชาธิปไตยหลังการเปลี่ยนผ่าน (System  maintenance) เชื่อมโยงกับ

                       ประชาสังคมเพื่อขยายแนวร่วม สร้างวัฒนธรรมการมีส่วนร่วม การตรวจสอบ

                              วรรณกรรมรัฐศาสตร์ที่ศึกษากระบวนการเปลี่ยนผ่านไปสู่ประชาธิปไตย ระบุถึงตัวแปรส าคัญ

                       ที่เอื้อให้การเปลี่ยนผ่านเกิดขึ้น และพัฒนาไปอย่างมั่นคงหลายตัวแปร เช่น Dankwart  Rustow ให้

                       ความส าคัญกับเงื่อนไขที่เป็นภูมิหลัง (Background condition) นั่นคือ ความเป็นเอกภาพภายในชาติ

                       (National  unity) อันเกิดจากความเชื่อมั่นของประชาชนต่อชุมชนทางการเมืองของตน และปัจจัยที่

                       Rustow  ให้ความส าคัญมากคือ การเจรจาเพื่อให้เกิดการประนีประนอมระหว่างกัน และวิถีแห่งชีวิต
                       (Habituation  phase) ซึ่งหมายถึงการเปลี่ยนแปลงในระดับพฤติกรรมของตัวแสดงทางการเมืองที่

                       ยอมรับวิถีประชาธิปไตย ข้อเสนอของ Rustow เน้นบทบาทของชนชั้นน า และเป็นเส้นทางที่มีลักษณะ




                       51
                         Guillermo O’Donnell and Philippe Schmitter, Transitions from Authoritarian Rule: Tentative Conclusion About Uncertain
                       Democracies (Baltimore: John Hopkins University Press, 1986), pp.19-21.
   34   35   36   37   38   39   40   41   42   43   44